โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำความเข้าใจระหว่าง “วัคซีน” กับ “เซรุ่ม”

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 02 ม.ค. 2564 เวลา 18.05 น. • pp.p
Photo by CDC | unsplash.com
Photo by CDC | unsplash.com

ช่วงเวลานี้คงไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่าประเด็นของวัคซีนโควิด-19 ที่นานาประเทศเฝ้าจับตารอ และลุ้นว่าเมื่อไหร่จะได้สิ่งที่ทำให้อุ่นใจว่าจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้สักที ในครั้งนี้เราจะนำเรื่องของ “วัคซีน” ว่ามันคืออะไร และแตกต่างจาก “เซรุ่ม” อย่างไรกันแน่ ความเชื่อที่ว่า วัคซีนใช้ป้องกัน ส่วนเซรุ่มใช้รักษา ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ มาทำความเข้าใจกัน

วัคซีน (Vaccine) 

เป็นยาชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเชื้อโรคที่ตายแล้ว หรือถูกทำให้มีฤทธิ์อ่อนลงจนไม่เป็นอันตราย ใช้สำหรับฉีดหรือกิน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้นๆ

อาทิเช่น วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคคอตีบ ก็ประกอบด้วยเชื้อคอตีบ (ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ตายแล้ว) เมื่อเอามาฉีดให้เด็กขณะที่ยังแข็งแรงดี ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ ต่อมาถ้าหากเด็กคนนี้อยู่ใกล้กับคนที่เป็นโรคคอตีบ แม้จะรับเชื้อเข้ามาก็มีภูมิคุ้มกันคอยช่วยทำลายเชื้อคอตีบที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาได้ ก็จะไม่เกิดเป็นโรคคอตีบนั่นเอง

เซรุ่ม (Serum) 

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเซรั่มบำรุงผิวแต่คือของเหลวสีเหลืองใสที่สกัดจากเลือดม้า หรือเลือดคนที่มีภูมิคุ้มกันโรคเบ็ดเสร็จอยู่แล้ว ซึ่งเตรียมขึ้นโดยการฉีดเชื้อโรคที่ตายแล้ว หรือมีฤทธิ์อ่อนเข้าไปในม้า หรือคน เพื่อกระตุ้นให้ม้าหรือคนนั้นสร้างภูมิคุ้มกันโรค แล้วก็เอาเลือดของม้าหรือคนนั้นมาสกัดอีกที การฉีดเซรุ่มเข้าไปในคน ก็เท่ากับเอาภูมิคุ้มกันโรคจากม้าหรือคนมาใช้แทนร่างกายของเราในการทำลายเชื้อโรค จึงมักจะฉีดหลังจากที่ร่างกายติดเชื้อโรคชนิดหนึ่งชนิดใดเข้าไปแล้ว

สรุปให้ง่ายต่อการเข้าใจคือ

วัคซีน เป็นเป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อ จุลินทรีย์ เป็นเชื้อโรคที่ไม่มีพิษ ฉีดหรือกินเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นมาเอง จะให้เมื่อร่างกายแข็งแรง (ยังไม่ได้รับเชื้อ หรือได้รับเชื้อในระยะแรก) และต้องรอเวลาและมักมีการต้องฉีดซ้ำเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งหลังจากครบถ้วนกระบวนความแล้วผลของมันจะอยู่คงทนถาวรตลอดไป

เซรุ่ม เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ฉีดเข้าร่างกายแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้รักษาโรคโดยตรง อาจมาจากเลือดของสัตว์หรือคนอื่นๆ ฉีดให้ร่างกายหลังจากติดเชื้อในระยะที่อาจเป็นอันตราย ได้ผลทันทีต่อการต่อสู้กับเชื้อโรค แต่จะอยู่ได้เพียงระยะสั้นๆ ก็สลายตัวไป มักจะใช้กับคนที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนต่อโรคนั้นๆ มาก่อน

ข้อเสียของเซรุ่ม คือ ทำให้ร่างกายแพ้ยา ซึ่งอาจรุนแรงถึงตายได้ เพราะเป็นเลือดของสัตว์หรือคนอื่น

ส่วนวัคซีนนั้นไม่ทำให้เกิดการแพ้ที่เป็นอันตราย

แพทย์จะเลือกใช้วัคซีนสำหรับการป้องกันโรคในระยะยาว และใช้เซรุ่มสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อที่อยู่ในระยะที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งหากไม่อยากเสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่ม ก็ควรรีบหาทางฉีดวัคซีนเสียแต่เนิ่นๆ

ในช่วงนี้เราทุกคนคงได้แต่เฝ้าติดตามข่าวความคืบหน้ากว่าจะได้มาซึ่งวัคซีนสู่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สวมหน้ากากทุกครั้งที่ออกจากบ้าน รักษาระยะห่างระหว่างกัน หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า การแคะแกะเกาบริเวณดวงตา จมูก และริมฝีปาก รักษาความสะอาด ทานอาหารปรุงสุก นาทีนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น จนกว่าร่างกายจะได้รับวัคซีนครบถ้วนและมั่นใจได้แน่แล้วว่ามีภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากพอ คงอีกไม่นานเกินรอ 

ที่มา : doctor.or.th / stkc.go.th / gotoknow.org

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 14

  • Monchai 1968
    รัฐบาลควรจะประชาสัมพันธ์ประกาศให้มากๆ ประชาชนจะได้รับรู้ ว่าวัคซีนกับยารักษามันต่างกันยังไง ประชาชนจะได้ไม่ตื่นกลัว เพาะบางคนยังไม่รู้เรื่องเลย เอาแต่บอกอย่างเดียวว่า จะซื้อแต่วัคซีน
    03 ม.ค. 2564 เวลา 02.43 น.
  • วัคซีน ป้องกัน. เซรุ่ม. รักษา. สั้นๆจบนะ 😎
    03 ม.ค. 2564 เวลา 14.14 น.
  • ขอบคุณ NokSuma อ่านคอมเม้นต์คุณแล้วเสิร์ชหาข้อมูลดู ไม่ค่อยมีเขียนเรื่องนี้ มีแต่เขียนเชียร์วัคซีนของเขา เพิ่งรู้จากคุณว่าวัคซีนไทยกับนอกมีหลักการผลิตที่ต่างกัน เสี่ยงน้อยกว่ากัน
    03 ม.ค. 2564 เวลา 02.17 น.
  • what,sevrice,byช่างx
    ให่ใันมียามารักษาก่อนเถอะเห็นพูดอยู่นี้ยังไม่มียาที่มารักษาคนจริง
    03 ม.ค. 2564 เวลา 02.18 น.
  • คุยโม้ว่าตรวจเข้ม ชลบุรี ทั้งขาเข้า ขาออก เพื่อนเล่าให้ฟังว่า มีคนขับรถจากกรุงเทพ ไปพัทยา และ ขับจากพัทยา กลับมากรุงเทพ ไม่เห็นมีสักด่าน โม้ทั้งเพ ตั้งด่านเข้ม 5555. 😂 😇
    06 ม.ค. 2564 เวลา 18.25 น.
ดูทั้งหมด