“บุหรี่ไฟฟ้า” ระหว่าง“ถูกกฎหมาย” กับ“ไม่ถูกกฎหมาย” รายได้ใครได้ใครเสีย“ผลประโยชน์”กันแน่!
BY : TEERAPAT LOHANAN
ไม่นานมานี้ได้มีข่าวออกมาว่า "บุหรี่ไฟฟ้า" เตรียมถูกผลักดันเป็นสินค้าถูกกฎหมาย หลังจากที่ถูกชาวต่างชาติร้องเรียนมาอยู่นานแสนนาน ด้วยข้อหา นำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากชาวต่างชาติไม่ทราบว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย
อธิบดีกรมสรรพสามิตร ได้กล่าวเอาไว้ว่า “กรมสรรพสามิตพร้อมเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้าให้เป็นสินค้าที่ถูกต้อง เพราะถือว่าไม่ได้เป็นยาเสพติด แต่ก็ยังติดกฎของกระทรวงพาณิชย์ที่ห้ามนำเข้า และกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่อยากให้การบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดปัญหาทั้งผู้บริโภคในประเทศที่ลักลอบซื้อมาสูบอย่างไม่ถูกต้อง และกระทบกับนักท่องเที่ยวที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นทุกวัน”
ซึ่งแนวทางในการเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้า ตามหลักการแล้วภาษีของตัวบุหรี่สามารถเก็บได้ในอัตราสูงสุดตามปริมาณมวนละ 1.20 บาท และตามมูลค่าขายปลีก 40% ส่วนตัวเครื่องสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะเก็บภาษีได้อยู่ที่ประมาณ 30% ของราคาขายปลีก
ทั้งนี้ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้ามี 3 ประเภทคือ
1. บุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้ยาสูบคล้ายบุหรี่ซิกาแรต เติมน้ำยาไม่ได้ สูบได้จำกัดครั้งแล้วต้องทิ้ง
2. บุหรี่ไฟฟ้าแบบเติมน้ำ มีตัวน้ำยาและเครื่องไฟฟ้าที่ใช้สูบ
3. บุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้ยาสูบคล้ายบุหรี่ซิกาแรต ใช้นวัตกรรมให้ความร้อน ซึ่งมีตัวมวนยาสูบและเครื่องสูบบุหรี่ไฟฟ้า
ซึ่งประเภทที่ 1 และ 3 สามารถจัดเก็บภาษีได้ง่าย เพราะมีความชัดเจนเป็นมวน ส่วนประเภทที่ 2 ที่มีลักษณะเป็นน้ำอาจต้องให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้ามาดูส่วนประกอบเพื่อทำการเก็บภาษีให้ถูกต้องต่อไป อีกทั้งยังต้องศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายนำเข้าและส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงสาธารณสุขว่าควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่
ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าเมื่อสามารถนำเข้ามาเป็นสินค้าได้จริงๆ นอกจากกระทรวงพาณิชย์ กับกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ก็คงจะกระทบกับกระทรวงการคลังไม่ใช่น้อย เพราะจากผลประกอบการรวม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 โรงงานยาสูบมีรายได้รวมทั้งสิ้น 24,426 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนลดลง 9,453 ล้านบาท หรือลดลง 27.93% เฉพาะยอดขายบุหรี่มีรายได้รวมทั้งสิ้น 24,213 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนลดลง 9,460 ล้านบาท หรือลดลง 28.07%
และมีรายจ่ายรวมอยู่ที่ 23,838 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนลดลง 5,318 ล้านบาท หรือลดลง 18.24 % คงเหลือกำไรสุทธิ 588 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนลดลง 4,135 ล้านบาท หรือลดลง 87.54%
และไหนจะยังนโยบายด้านการตลาดของโรงงานยาสูบอีก ที่ในข้อที่ 3. ของนโยบายนี้ได้กำหนดไว้ว่า “การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย หากมีการแข่งขันโดยลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามาขายอย่างเสรีจะทำให้โรงงานยาสูบเสียรายได้โดยกำหนดแนวทางในการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งการออกกฏหมายและข้อกำหนเที่เกี่ยวข้องต่างๆโดยร่วมมือกับกรมควบคุมโรคติดต่อกรมการค้าต่างประเทศในการดำเนินการร่างประกาศกระทรวงห้ามนำบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศ และกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรในการเพิ่ม มาตรการในการควบคุมไม่ให้มีการนำเข้าและดำเนินการปราบปรามไปพร้อมกัน” ก็ดูท่าว่าน่าจะต้องมีการพิจารณานโยบายกันยกใหญ่เมื่อบุหรี่ไฟฟ้าได้มีการเรียกเก็บภาษีอย่างถูกต้องแล้ว
แต่ทั้งหมดนี้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องหาทางในการบริหารจัดการต่อไป เพราะในขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาเท่านั้น
อ้างอิง : https://thestandard.co/gov-plan-e-cigarettes-tax/
https://thaipublica.org/2018/08/tobacco-tax-restructuring-26-8-2561/
http://tum.in.th/latest/2013/02/หาข้อมูลแล้ว-ทำไมหน่วยง/
รูปประกอบ :
ความเห็น 17
1
มัวแต่กลัวนั่นกลัวนี่ กลัวเรื่อยเปื่อย
รง. ยาสูบก็ผลิตเองขายเองด้วยสิครับท่าน
20 พ.ย. 2561 เวลา 04.34 น.
MP
เก็บภาษีให้ถูกต้องจะได้ไม่มีปัญหาการลักลอบขาย
พวกที่มีมวนยาสูบก็น่าจะจัดการง่ายและทำได้ก่อน ส่วนพวกของเหลวก็ต้องดูแลในด้านการผลิตให้ดีว่ามีส่วนผสมของอะไรบ้าง
มาตรการภาษีสิ่งเสพติดช่วยให้คนบริโภคลดลง รายจ่ายของรัฐในการรักษาโรคก็ลดลงในระยะยาว เท่ากับรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นในทางอ้อม ปชช.สุขภาพดีขึ้น ก็สร้างประโยชน์ได้มากขึ้น คนไทยตายจากโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ
20 พ.ย. 2561 เวลา 02.11 น.
บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฏหมาย แต่กัญชากำลังจะถูกกฏหมาย ประเทศกูมี
16 พ.ย. 2561 เวลา 16.22 น.
ยังไม่ถูกกฏหมายหราทำไมพัทยามีขายตามตลาดนัด
16 พ.ย. 2561 เวลา 15.10 น.
ผีเสื้อใจร้าย
ที่ผิดกฎหมายเพราะกลัวไม่มีรายได้นี้เองเลยต้องกีดกันงั้นหรือครับ ไม่ใช่จะว่าแผ่นดินบ้านเกิดหรอกนะ แต่ก็เหมาะแล้วกับคำที่ว่า "ประเทศเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา"ซึ่งประเทศอื่นเขากลับพัฒนาเรียบร้อย ขอยกตัวอย่างอีกสักข้อนะครับ
(กัญชา) ต่างประเทศเขาวิจัยใช้รักษาโรค ต่างๆถูกกฎหมายไปแล้ว แต่ของเรายังผิดกฎหมายอยู่ ทั้งๆที่มีกัญชาดีที่สุดของโลก(ผมเองไม่เคยดูดนะ)แล้วเมื่อไหร่จะพัฒนาล่ะคร้าบบบบ
[เป็นความคิดเห็นส่วนตัวถ้าผิดพลาดยังไงขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
16 พ.ย. 2561 เวลา 15.09 น.
ดูทั้งหมด