โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เทรนด์ใหม่กับเสื้อผ้าจากใยสับปะรด

WWF-Thailand

เผยแพร่ 12 พ.ค. 2562 เวลา 17.01 น.

2019 เป็นยุคที่สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ความ “เร็ว” นี้รวมไปถึงวงการแฟชั่น โดยเทรนด์เสื้อผ้าที่เรามักจะเห็นตามราวแขวนที่ร้านค้านั้น มักจะเปลี่ยนไปทุกๆ เดือน หรือที่เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Fast Fashion” 

 จากสถิติพบว่า ในปัจจุบันผู้คนซื้อเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นกว่า 60% จาก 15 ปีก่อน และทิ้งเสื้อผ้าบ่อยขึ้นเป็นสองเท่า และสิ่งที่หลายคนไม่ทันได้คิดจากเทรนด์ Fast Fashion คือ เมื่ออุตสาหกรรมแฟชั่นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณมลพิษ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นตามๆ กัน 

 ส่วนใหญ่แล้วเรามักใช้เส้นใยสังเคราะห์ที่ทำมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมาผลิตเสื้อผ้า ซึ่งเป็นผลให้ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การผลิตผ้าฝ้ายแต่ละผืนจำเป็นต้องใช้น้ำ 2,700 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณเท่ากับน้ำที่มนุษย์คนหนึ่งดื่มถึง 2.5 ปีเลยทีเดียว

 ดีไซเนอร์ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตเสื้อผ้า ดังนั้นจึงมีนวัตกรรมมากมายที่คิดค้นขึ้นมารองรับแฟชั่นที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว วิธีแก้ไขปัญหานี้ก็คือ การหา "วัสดุทดแทน" ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิต

 ดีไซน์เนอร์จำนวนหนึ่งได้หันมาลองใช้เส้นใยบางส่วนจากสัปปะรดในการผลิตเสื้อผ้า โดยเรียกการผลิตเช่นนี้ว่า Pinatex นอกจากนี้ นวัตกรรมเส้นใยจากมะพร้าว ก็เป็นอีกวัสดุหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เพราะมะพร้าว 100 ลูก สามารถผลิตเส้นใยได้ถึง 1 กิโลกรัม

การใช้วัสดุจากธรรมชาติเหล่านี้ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 10% และลดการปล่อยน้ำเสียและมลพิษออกสู่ธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ในปัจจุบัน กระบวนการผลิตที่ใช้เส้นใยจากธรรมชาติ ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก อาจทำให้ราคาของสินค้าค่อนข้างสูง แต่ก็ถือเป็นข่าวดีที่เหล่าดีไซน์เนอร์ และผู้บริโภคหันมาใส่ใจโลกของเรามากขึ้น ทำให้นวัตกรรมใหม่ๆ ถูกคิดค้นมาเพื่อลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม

 แม้เทรนด์ Fast Fashion กำลังมาแรง แต่อย่าลืมว่าเทรนด์นี้ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเราเช่นกัน ชาวแพนด้าเชิญชวนให้ทุกท่านอย่างเพิ่ง “ทิ้ง” เสื้อผ้าที่ไม่ใช้ โดยทุกท่านสามารถนำไปบริจาค หรือส่งต่อให้ผู้อื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตัวเรา และเพื่อโลกที่น่าอยู่ของเรากันนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก World Economic Forum : http://bit.ly/2UF31Lj

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0