“มีเงินอย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้ ต้อง….ด้วย”
ปฏิเสธไม่ได้ว่าคำพูดเปรียบเปรยในข้างต้น ส่วนใหญ่มักจะถูกหยิบยกมาพูดในช่วงเวลาที่ใช้เงินเกินตัวหรือซื้อของที่ราคาแพง แม้เป็นวลีที่ทำให้เราฉุกคิดขึ้นได้ในเวลาจับจ่ายใช้สอยแบบมันส์มือ จนนำไปสู่การวางแผนการใช้เงินเพื่อความมั่นคงในอนาคต
แต่ทว่าในปัจจุบันค่าครองชีพทั้งคมนาคม,ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน,ค่าใช้อุปโภคบริโภค,ค่าใช้จ่ายประจำวันและค่าใช้จ่ายจิปาถะ ฯลฯ ได้พากันตบเท้าพร้อมใจกันขึ้นราคาแบบไม่เกรงใจใครทั้งสิ้น
สาเหตุของราคาสินค้าแพงในเวลานี้ก็มีหลายปัจจัยทั้งโรคระบาดในสัตว์,ความผันผวนของค่าเงิน-น้ำมัน และตัวแปรสำคัญที่อยู่ในวิกฤตคือรายได้สวนทางกับค่าครองชีพ
เมื่อย้อนดูเส้นทางการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2555 พบว่าอยู่ที่ 300 บาท แต่ในปัจจุบันมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยใช้ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างซึ่งใช้บังคับในปี 2563 พบว่าถูกปรับขึ้นเป็น 331 บาท
ซึ่งสรุปได้อย่างชัดเจนว่าวันเวลาได้ล่วงเลยผ่านมา 10 ปี คนไทยต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินดูแลปากท้องและจุนเจือครอบครัวค่าแรงขั้นต่ำถูกปรับขึ้น 31 บาท เพียงเท่านั้น
(อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับพื้นที่กรุงเทพ,นครปฐม,นนทบุรี,ปทุมธานี,ภูเก็ต,สมุทรปราการ และสมุทรสาคร)
300 พอกินจริงเหรอ ? อาจเป็นคำถามที่พาไปสู่การถกเถียงถึงวินัยการใช้เงินล้วนขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลก็จริง แต่ปัจจุบันสินค้าทั้งอุปโภคบริโภคมีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งหยาดเหงื่อที่เสียไปใน 8 ชั่วโมงเพื่อเงิน 300 บาทนั้น คุ้มค่าหรือไม่
เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ค่าจ้างวันละ 300 บาท กับอาหาร 3 มื้อ โดยคิดเฉลี่ยมื้อละ 60 บาท ภายใน 1 วัน เฉพาะแค่ค่าอาหารก็ 180 บาท ซึ่งยังไม่ได้รวมค่าเดินทาง,ค่าเช่าบ้าน,ของใช้จิปาถะหรือยิ่งต้องส่งกลับไปให้ญาติอีกก็แทบจะไม่เหลือเก็บ ซึ่งพวกเขาต้องประหยัดถึงขั้นรัดเข็มขัด จนไม่สามารถทำในสิ่งที่นอกเหนือจากวินัยการเงินที่ขีดเส้นใต้อย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ค่าแรง 300 บาทกับเศรษฐกิจในปัจจุบันนับว่าอยู่ในสภาวะวิกฤต ดั่งคำที่ชาวเน็ตมักวิจารณ์ที่ว่า “คนจนตาย คนรวยรอด”
ข้าวของแพง รัฐช่วยอะไรบ้าง เมื่อค่าแรงไม่ถูกปรับขึ้น ?
เป็นที่แน่ชัดเมื่อประชาชนได้รับผลกระทบจากสภาวะของขึ้นราคา โลกออนไลน์ก็ได้ติดแฮชแท็ก #แพงทั้งแผ่นดิน พร้อมตั้งข้อสงสัยถึงปัจจัยที่ทำให้ของอุปโภคบริโภคราคาสูง
ล่าสุดหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง ‘กระทรวงพาณิชย์’ ได้พยายามหาทางออกให้กับประชาชนในเบื้องต้นสำหรับวิกฤตราคาที่พุงสูงของหมูโดยจัด 667 จุดบริการขายหมูราคาถูกทั่วไทย แต่ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงเท่านั้น
‘ไข่ไก่-เนื้อไก่’ นับว่าเตรียมที่จะตบเท้าจับมือเข้าสู่การปรับขึ้นราคาเช่นกัน ถ้าเปรียบเป็นการแข่งขันก็จัดอยู่อันดับ 2 และน่าจับตามอง จนกระทั่งสั่งเบรกห้ามปรับราคาขึ้น
นี่เป็นเพียง 2 วัตถุดิบยอดฮิต ที่มักถูกนำมาประกอบอาหารเพื่อเลี้ยงปากท้องและสามารถเข้าถึงทุกคน แต่ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูง แม้ผู้ที่มีรายได้น้อยอาจเข้าถึงได้ก็จริง แต่ก็ต้องยอมควักเงินเกินครึ่งของรายได้ทั้งหมด 300 บาท/วัน เท่ากับว่าใน 1 วัน เราทำงานอันแสนเหนื่อย แต่ซื้อเนื้อหมูได้เพียง 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมี ค่าไฟ ค่าทางด่วน ก๊าซหุงต้ม ที่กำลังทยอยปรับราคาขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้การที่ข้าวของที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเพิ่มราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางคนกลับมองเป็นสัญญาณดีที่ชาวเกษตรกร ผู้เลี้ยงไก่-หมู ได้ถึงเวลาลืมตาอ้าปาก แต่ทางกลับกันในปัจจุบันผู้ที่ได้รับทรัพย์กอบโกยกำไรในวิกฤตนั้นส่วนใหญ่ ’นายทุน’ ทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงอยากให้ลองมองมุมกลับ ปรับมุมมองที่ว่ากลุ่มคนที่มีรายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท พวกเขาจะต้องประหยัดแค่ไหนและค่าแรงเท่านี้เพียงพอต่อการดำรงชีพจริงหรือ แล้วถึงเวลาหรือยังที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะถูกปรับขึ้นหลังถูกแช่แข็งกว่า 10 ปี
สุดท้ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอาจจะยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ตามที่หลายคนหวัง แต่ขอให้ทุกคนผ่านพ้นช่วงวิกฤต #แพงทั้งแผ่นดิน ครั้งนี้ไปให้ได้
ข้อมูล
ความเห็น 175
หมัด
ที่ตลาด จ้างพม่า วันละ500ครับ
18 ม.ค. 2565 เวลา 02.54 น.
sakchai
ยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงเอง ปลูกเอง ที่เหลือ นำไปจำหน่าย
17 ม.ค. 2565 เวลา 13.02 น.
Siriwan lek
ถ้าค่าแรงขึ้น ราคาของกินของใช้ก็ต้องขึ้นตามเพราะใช้แรงงานคน เจ้าของโรงงานก็ต้องย้ายโรงงานไปอยู่ประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า เท่าที่ถามมายังไม่เคยเจอพนักงานที่ได้ค่าแรง300เลยมีแต่400-700ต่อวัน
17 ม.ค. 2565 เวลา 05.50 น.
Yongyot
ค่าแรงจะมากน้อยเป็นเรื่องปกติ45ปีท่ีแล้วรับราชการคิดเป็นวันๆละ40บาทยังอยู่ไดัถ้ารู้จักกินใช้ปัจจุบันใช้เงินเกินตัว/ฟุ้งเฟ้อมากกว่า
17 ม.ค. 2565 เวลา 03.15 น.
อุบลรัด สุทินเผือก
็ตอนยิ่งลักษณ์ปรับเป็น300กว่าเห็นด่ากันขรม
17 ม.ค. 2565 เวลา 02.17 น.
ดูทั้งหมด