โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

อันดับเทคสตาร์ทอัพไทยรูดลงที่ 54 “ดีป้า”เร่งหนุนไอเดียแจ้งเกิดหน้าใหม่

เดลินิวส์

อัพเดต 16 เม.ย. เวลา 11.53 น. • เผยแพร่ 16 เม.ย. เวลา 04.43 น. • เดลินิวส์
อันดับเทคสตาร์ทอัพไทยรูดลงที่ 54 “ดีป้า”เร่งหนุนไอเดียแจ้งเกิดหน้าใหม่
หนุนสตาร์ทอัพในระดับ ไอเดีย สเทจ หรือเริ่มมีแนวคิดธุรกิจ ถือเป็นการกลับมาสนุนในรอบ 8 ปี ตั้งเป้าหมายเฟ้นหาไอเดียใหม่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ผ่านการให้ทุน 200,000 บาทต่อราย จำนวน 200 รายทั่วประเทศ

นายวาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า ดีป้ามีนโยบายเข้าไปสนับสนุน เทคสตาร์ทอัพของไทย ให้สามารถเติบโตในตลาดโลกได้ ซึ่งเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการในปี 61 จนถึงปัจจุบัน ได้สนับสนุน เทคสตาร์ทอัพไทย ไปแล้วกว่า 200 ราย ด้วยการลงทุนรวมกว่า 1,500 ล้านบาท สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 15,000 ล้านบาท แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ระบบนิเวศหรือวงการสตาร์ทอัพของไทยจะชะลอตัวลงไปบ้าง

โดยล่าสุดได้สนับสนุนสตาร์ทอัพในระดับ ไอเดีย สเทจ หรือเริ่มมีแนวคิดธุรกิจ ถือเป็นการกลับมาสนุนในรอบ 8 ปี ตั้งเป้าหมายเฟ้นหาไอเดียใหม่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ผ่านการให้ทุน 200,000 บาทต่อราย จำนวน 200 รายทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่และสตาร์ทอัพหน้าใหม่ได้แจ้งเกิด พร้อมกลไกสนับสนุนครอบคลุมทุกระยะ เพื่อบ่มเพาะและผลักดันสตาร์ทอัพไทยให้มีศักยภาพแข่งขันในระดับสากล

“จากข้อมูลของ สตาร์ทอัพ จีโนมี่ ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับระบบนิเวศสตาร์ทอัพอยู่ที่ 54 ของโลก ลดลงจากอันดับ 52 ในปีก่อนหน้า สวนทางกับเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ยังไต่ระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เวียดนามจะอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าไทย แต่แนวโน้มกลับเติบโตขึ้น ขณะที่ไทยกำลังตกลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังเสียพื้นที่การแข่งขันในระดับภูมิภาค”

นายวาริน กล่าวต่อว่า ปัญหาหลักที่สตาร์ทอัพไทยเผชิญอยู่มีหลายเรื่อง แต่สำคัญคือแนวโน้มการลงทุนจากนักลงทุนร่วมทุน หรือ วีซี ทั้งของไทยและจากต่างประเทศ ที่ลดลงตามกระแสโลก และปัจจุบันส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนเฉพาะเทคสตาร์ทอัพ ที่มีรายได้หรือกำไรแล้ว ส่งผลให้กลุ่มเทคสตาร์ทอัพ ในระยะตั้งต้น ที่ยังไม่มีรายได้จึงถูกมองข้ามไป อีกทั้งรูปแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมได้ง่ายนัก เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ขณะที่โปรแกรมบ่มเพาะเร่งการเติบโต และการแข่งขันเชิงนวัตกรรม ได้หายไปตั้งแต่ช่วงเกิดโควิด-19 ระบาด เพิ่งเริ่มกลับมามีการจัดโครงการ หลังสถานการณ์โลกเริ่มคลี่คลาย.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0