โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิจัยหมอลำ ดัน soft power พัฒนาเศรษฐกิจอีสาน

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ก.ค. 2565 เวลา 09.45 น. • เผยแพร่ 05 ก.ค. 2565 เวลา 05.10 น.
S__11845701

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำวิจัย “หมอลำ” ผลักดันเป็น soft power พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมอีสาน

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับนักวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “หมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน” ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม เพื่อใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม และนักวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือกันดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “หมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน” ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือหมอลำ ในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการปรับเปลี่ยนเชิงธุรกิจของหมอลำให้อยู่รอดในสังคมปัจจุบัน

รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ชมหมอลำ และนำมาปรับใช้ในการออกแบบการให้บริการ และการดำเนินธุรกิจหมอลำเพื่อให้สามารถแข่งขัน และต่อยอดจนสามารถเป็น soft power ได้ในอนาคต

สำหรับโครงการวิจัย เรื่อง “หมอลำกับเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของคนอีสาน” สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์ โดยคณะผู้วิจัยได้นำต้นแบบการแสดง (prototype) ที่เหมาะกับกลุ่มผู้ชมเดิม และสร้างความต้องการใหม่ (new demand) ถ่ายทอดให้กับผู้ที่มีส่วนกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมหมอลำ ได้แก่ ผู้บริหารคณะหมอลำ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านออกแบบการแสดง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรม และผู้มีอิทธิพลทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับหมอลำ เพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบรูปแบบการแสดงของคณะหมอลำในฤดูกาลปี 2565-2566

รศ.ดร.นิยม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะ ให้คณะหมอลำประยุกต์ใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้เกิดความสะดวกกับผู้ชมหมอลำในยุคปัจจุบันให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายทอดสดการแสดง (Live Streaming) ควบคู่กับการแสดงหน้าเวที การเปิดจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าทางออนไลน์เพื่อให้สะดวกต่อการรับชมหน้าเวทีมากขึ้น รวมไปถึงการนำเทคนิคเเละนวัตกรรมมาต่อยอดเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่

อาทิ การใช้ Studio ถ่ายทำ หรือการทำภาพสามมิติในการแสดงหมอลำซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการต่อยอด นอกจากการแสดงหน้าเวทีอย่างเดียว ซึ่งข้อมูลนี้จะนำไปสู่การปรับรูปแบบการให้บริการ และการดำเนินธุรกิจหมอลำเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0