หลังมีกระแสแสดงความคิดเห็นแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 เพื่อแก้กฎหมายสมรสจากคำว่า "ชาย" และ "หญิง" เป็น "บุคคล" เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถ "สมรส" อย่างเท่าเทียม เพื่อเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ซึ่งได้รับความสนใจจากคนไทยจำนวนมาก ล่าสุดมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นมากกว่า 50,000 คนแล้ว
แต่! พ.ร.บ.ฉบับนี้ "ไม่ใช่" พ.ร.บ.ที่ประชาชนช่วยกันออกเสียง
พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่ใช่ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ หรือฉบับที่ชาวเน็ตกำลังสนับสนุนให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น( #สมรสเท่าเทียม )
จุดประสงค์ของการผลักดันให้เกิด#สมรสเท่าเทียม เพราะคำว่า "คู่สมรส" มีอยู่ในกฎหมายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการของข้าราชการหรือสวัสดิการเอกชน ดังนั้นหากทุกคนที่มีคนรัก ไม่ว่าจะเพศอะไร สามารถจดทะเบียนเป็น "คู่สมรส" กันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คนไทยทุกคนจะเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียม
มีพ.ร.บ.แล้ว ทำไมยังไม่พอใจ?
เสียงจากชาว LGBTQ+ ในโซเชียลส่วนใหญ่ไม่เห็นว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้แสดงถึงความ "เท่าเทียม" แต่อย่างใด เนื่องจากตัวกฏหมายเลือกใช้คำว่า "คู่ชีวิต" ซึ่งเป็นคำเฉพาะสำหรับพ.ร.บ.ฉบับนี้เท่านั้น ไม่ใช้คำว่า "คู่สมรส" อย่างที่ "คู่รักชายหญิง" ทั่วไปใช้กัน
ถ้อยคำที่แตกต่างกันนี้เอง ที่ลดทอนสิทธิพึงมีของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวคือคู่รักใดที่ไม่ใช่ชายหญิง จะยังไม่ได้รับสิทธิ์ทัดเทียมคู่รักชายหญิง อาทิ
- ไม่มีสิทธิ์ - ในการตั้งครรภ์แทน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าอุ้มบุญ
- ไม่มีสิทธิ์ - ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ เหมือนคู่สมรส
- ไม่มีสิทธิ์ - ในการรับสวัสดิการรักษาพยาบาลของคู่ชีวิตอีกฝ่ายที่รับราชการ
- ไม่มีสิทธิ์ - ในการขอเปลี่ยนสัญชาติไทย สำหรับคู่ชีวิตต่างชาติ หลังจดทะเบียน
- ไม่มีสิทธิ์ - ในการเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิทั้งหมดที่เรากล่าวมาคือสิ่งที่คู่รักกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ "ไม่ได้รับ" เพราะกฎหมายบอกว่าพวกเขาเป็น "คู่ชีวิต" ไม่ใช่ "คู่สมรส"
เข้าใจความต่าง ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1448 เพื่อ #สมรสเท่าเทียม และร่าง พ.ร.บ….
โพสต์โดย THE STANDARD เมื่อ วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2020
แต่ก็มีสิทธิ์มากกว่าสมัยก่อน?
ไม่ปฏิเสธเลยว่าทางการเมือง สังคม หรือในแง่การปกครองต่าง ๆ สิทธิและเสรีภาพของชาว LGBTQ+ ถูกบรรจุอยู่ในหลาย ๆ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่นักการเมืองหรือนักเคลื่อนไหวในหลายแวดวงให้ความสนใจในประเด็นนี้อย่างจริงจัง
อ่าน :
ผู้ว่าฯ จันทบุรี ออกประกาศความเท่าเทียมทางเพศ จังหวัดแรกของประเทศไทย
ม.ธรรมศาสตร์ให้นศ.แต่งกายตามเพศสภาพเข้าเรียน-รับปริญญาได้
แต่หาก พ.ร.บ.คู่ชีวิตที่ควรเป็นก้าวแรกของ "สิทธิตามกฎหมายของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ" ถูกเขียนขึ้นมาโดยเน้นย้ำความแตกต่างระหว่างคู่รัก LGBTQ+ และคู่รักชายหญิง (คู่ชีวิต ≠ คู่สมรส) แทน
แล้วคนไทยจะคาดหวังให้เกิด "ความเท่าเทียม" อย่างแท้จริงได้เมื่อไหร่?
ยิ่ง "เหลื่อมล้ำ" เพราะเป็น "คู่ชีวิต"
ส.ส.ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ จาก พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นถึง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เอาไว้ว่า หากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านและถูกนำมาบังคับใช้ตามกฎหมาย จะยิ่งเป็นการตอกย้ำ "ความต่าง" ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และเพิ่มอคติทางเพศในสังคมไทย เพราะกลุ่ม LGBTQ+ จะถูกบังคับใช้กฎหมายคนละฉบับกับคู่สมรสชายหญิง
เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงที่ทุกคนต่างเรียกร้องพ.ร.บ.ฉบับนี้ คือการที่คนไทยทุกคน ทุกเพศ ได้มีสถานะ "คู่สมรส" กันอย่างแท้จริง ถือเป็นโจทย์สำคัญที่สังคมไทยต้องช่วยกันตั้งคำถามและผลักดัน ให้คนทุกกลุ่มได้ใช้ชีวิตอย่างเสมอภาคที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 ได้
ที่นี่
*ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ งดถ้อยคำหยาบคาย หรือทัศนคติที่แสดงอคติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
--
อ้างอิง
ความเห็น 170
🌻🐞🌼Suphattana🌼🐞🌻
BEST
ได้คืบจะเอาศอก
08 ก.ค. 2563 เวลา 22.55 น.
แหม่ม
BEST
ความคิดเห็นส่วนตัวนะชอบชีวิตคู่มากกว่าเพราะอยู่ด้วยกันด้วยความรักความสื่อสัตย์เห็นใจซิ่งกันและกันโดยไม่มีอะไรมาเป็นเครื่องต่อรองส่วนคู่สมรสพออย่ากันก็เรียกร้องสิทธ์ต่างๆ
08 ก.ค. 2563 เวลา 23.01 น.
NoDoMoN
BEST
ให้เปิดก็ดีกว่าไม่ได้อะไรขอให้ทำดีอย่าไปเดือดร้อนคนอื่นแค่นั้นก็พอแล้ว🤗
08 ก.ค. 2563 เวลา 19.27 น.
Bondi
ตกลงต้องการการยอมรับ หรือจะเอาผลประโยชน์
09 ก.ค. 2563 เวลา 01.02 น.
tam
วุ่นวายชิบหาย ไม่รู้จักพอ
08 ก.ค. 2563 เวลา 22.52 น.
ดูทั้งหมด