โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

EXCLUSIVE INTERVIEW : “พระนพดล” โนสน! โนแคร์! มีเพจล้อเลียนในทางเสียหาย กรรมใคร...กรรมมัน!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 04 ส.ค. 2561 เวลา 13.00 น.

EXCLUSIVE INTERVIEW : “พระนพดลโนสน! โนแคร์! มีเพจล้อเลียนในทางเสียหายกรรมใครกรรมมัน!

ในยุคที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกไม่ได้ ปัญหาต่างๆ และวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความ 4.0 นี้ก็แตกต่างไปตามปัจจัยแวดล้อมด้วย แล้วธรรมะที่เคยนำมาเป็นหลักคิดในการแก้ปัญหาจะยังใช้ได้หรือไม่ และหลักธรรมข้อไหนที่จะเหมาะกับความเปลี่ยนแปลงในยุคนี้

การจะหาคำตอบของเรื่องนี้จึงควรมาจากผู้ที่เข้าใจทั้งหลักธรรมและโลกโซเชียลมีเดีย และหนึ่งในนั้นก็คือ “พระนพดล สิริวํโส" พระเจ้าของเพจที่มีผู้ติดตามมากกว่า 6 ล้านคน

โซเชียลมีเดียมีทั้งด้านบวกและลบควรใช้หลักธรรมอะไรในการพิจารณา

หลักการในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่าเชื่อเพราะฟังตามกันมา อย่าเชื่อเพราะว่ายึดถือสืบต่อกันมา อย่าเชื่อตามตำรา อย่าเชื่อเพราะนึกเดาเอาและคาดคะเน อย่าเชื่อในลัทธิ อย่าเชื่อเพราะว่าน่าเชื่อถือ พระพุทธเจ้าให้ดูว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ทำแล้วเป็นสุขหรือทุกข์ ทำแล้วจะเกิดคำติเตียนหรือไม่ มีโทษหรือไม่มีโทษ เราจึงต้องใช้การคิด การแยกแยะ มาใช้ในการเลือกเสพข่าวและข้อมูลต่างๆ

วัดยังจำเป็นแค่ไหนสำหรับยุคนี้

จำเป็น เพราะว่าคนเราอยู่ในสถานที่ที่ทำให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดความโกรธ ความหงุดหงิด เกิดความขุ่นข้องหมองมัว มันก็เหมือนกับว่าทำไมคนถึงออกจากกรุงเทพฯ ไปสู่ยอดดอย ก็เพราะกรุงเทพฯ มีแต่ควันดำ ออกไปสู่ที่ใหม่แล้วสบายใจ ดังนั้น คนเราควรออกจากสถานที่ที่ไม่สบายใจไปหาที่ที่สบายใจ อย่างการเข้าสู่วัดและปฏิบัติธรรมซึ่งไปแล้วสบายกาย สบายใจ 

อย่างที่พูดกันว่า อาหารเป็นที่สบาย ธรรมะเป็นที่สบาย การปฏิบัติธรรมจะช่วยให้เราหลุดพ้นจากทุกข์ จากความปวดร้าวใจและกายได้

“โลกบังคับให้เราต้องร้ายคำกล่าวนี้จริงแค่ไหน

ตอนนี้สื่อที่ออกมาเป็นเรื่องของการด่ากัน ทั้งด่ากันลับหลัง ด่ากันเป็นคลิป เป็นค่านิยมที่ผิดอย่างหนึ่งและเป็นการทำบาปต่อเวรกรรมไม่จบไม่สิ้น เพาะพันธุ์แห่งเวรให้คนมีเวรต่อกันไปเรื่อยๆ นี่คือภาพหนึ่งในสังคมยุคใหม่ที่ได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ เราได้เสพสื่อแบบนี้มากๆ เราอาจจะคิดว่าสิ่งที่ทำกันต่อๆ มาเป็นสิ่งที่ถูก 

ถ้าเทียบกับศาสนาง่ายๆ เลยก็คือในวัดมีรำวง มีลิเก มีการร้องเล่นเต้น คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวัดมันถูกใช่หรือไม่ จริงๆ มันไม่ถูก ซึ่งการที่จะให้ภาพทั้งหมดมันออกมาดีได้นั้น เริ่มแรกก็ควรเริ่มจากสื่อให้ถูกต้องถูกวิธีการของมัน ถ้ามันดีไม่ได้ เราก็ควรต้องศึกษาธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ รับฟังธรรมะแทน เอาธรรมะไปปฏิบัติต่อไปในวันพรุ่งนี้ 

แล้วถ้าคนพาลคือคนชอบทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ถ้าเกิดเจอคนแบบนี้เราไม่ควรไปฟัง ไปคลุกคลีกับเขา จากคำพูดที่ว่า โลกทำให้เราต้องร้าย เพียงเพราะเราเข้าไปหาสิ่งร้ายๆ เอง เลยทำให้เราต้องร้ายไปด้วย ควรปล่อยวางและพยายามเลี่ยง เพราะถ้าพบกับคนดี เราก็จะดีไปด้วย 

อินเตอร์เน็ตกับโซเชียลมีเดียมีส่วนทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ง่ายขึ้นไหม

ถ้าเกิดว่ามีพระที่ศึกษาธรรมะ แล้วมีความอยากจะเผยแพร่มากขึ้น คนก็จะเข้าถึงธรรมะมากขึ้น และคนต้องซึมซับธรรมะเหล่านี้ด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้สื่อเหล่านี้อาจเป็นตัวแปรในการเผยแพร่ธรรมะได้ง่ายขึ้น ทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายพอเข้าถึงง่ายก็ทำให้คนอยากทำความดี 

พระอาจารย์นพดลเองแรกๆ ก็ไม่สามารถใช้สื่อโซเชียลได้อย่างถนัดนัก แต่ก็มีคนช่วยงานทำเพจบ้าง แล้วก็คิดว่าเราจะต้องทำได้ เลยพยายามทำ พยายามหาว่าคนชอบอะไร ก็เลยมีผลตามที่เกิดขึ้น เพราะเรามีแรงบันดาลใจอยากที่จะแนะนำ เราโพสต์เฟซบุ๊กเพราะอยากให้เขาเห็นในด้านดีๆ เผยแพร่ธรรมะออกไป ให้เขาได้ดี เป็นความหวังดีที่อยากช่วยเหลือเขา

คิดอย่างไรที่มีคนเอาชื่อไปใช้สร้างเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา 

พระอาจารย์เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกรรมของเราเอง กรรมเก่าที่เราเคยไปสร้างเอาไว้ เราจึงได้รับ อีกอย่างก็คือความไม่รู้ของเขาในการสร้างกรรมต่อมา แม้ว่าเขาจะได้รับความสนุกสนาน ได้รับชื่อเสียงก็จริง หรือจะได้รับอะไรก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วเขาอาจจะได้รับกรรมที่เขาทำไว้อย่างไม่มีใครช่วยได้เช่นกัน เพราะว่าใครปลูกอะไรย่อมได้รับผลสิ่งนั้น 

ส่วนตัวเราก็จะไม่ไปเผาผลาญเขา ไม่นำผลสิ่งนั้นมาต่อยอดเพื่อสร้างความทุกข์ให้กับตัวเอง และไม่สร้างกรรมให้มันวนเวียนขึ้นกับตนเอง 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0