“คนรุ่นใหม่เป็นอนาคตของชาติ” วลีนี้เป็นวลีที่ใคร ๆ ก็ได้ต้องเคยได้ยิน อย่างที่ทราบกันดีว่าคำว่ากลุ่มที่ถูกเรียกว่าคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เขากำลังจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่จะต้องดำรงอยู่ต่อไปในสังคม ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตอนนี้กลุ่มการเคลื่อนไหวของสังคมนั้น มักจะมีผู้นำเป็นคนที่มีอายุน้อย หรือรวมไปถึงผู้นำของประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะอายุน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะว่าสามารถที่จะสนองความต้องการของคนที่กำลังจะกลายมาเป็นพลเมือง และกำลังสำคัญต่าง ๆ ของชาติได้มากกว่า
แม้ว่าอายุในการดำรงอยู่บนโลกนั้นจะไม่มาก แต่ว่าก็มีเยาวชนจำนวนไม่น้อย ที่มีความคิดเห็นต่อสังคม และมองเห็นปัญหาบางอย่างที่พวกเขาจะต้องลงมือทำในตอนนี้ เพื่อในอนาคต ประเด็นดังกล่าวจะไม่เลวร้ายลงไปกว่าเดิม #ลัดเลาะรอบโลก ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 5 คนรุ่นใหม่ตอนนี้เคลื่อนไหว และมีอิทธิพลระดับโลก จะมีใครกันบ้างตามไปดู
เกรตา ธันเบิร์ก
โพสต์ที่แชร์โดย Greta Thunberg (@gretathunberg) เมื่อ มี.ค. 3, 2020 เวลา 8:52am PST
ประเด็นเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นประเด็นใหญ่ในระดับโลก สิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกล้วนได้รับผลกระทบนี้ “เกรตา ธันเบิร์ก” นักเคลื่อนไหวประเด็น Climate Change ชาวสวีเดนที่อายุเพียง 17 ปีได้ริเริ่มการตื่นตัวเรื่องนี้ โดยเริ่มต้นการประท้วงด้วยการหยุดเรียน เพื่อไปเรียกร้องรัฐบาลที่เพิกเฉยเกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยเกรตาได้รับการสนับสนุนจากนักเรียนทั่วสวีเดนกว่าล้านคนที่เดินออกจากห้องเรียนมาเดินร่วมกับเกรตา การเคลื่อนไหวของเกรตาสร้างความสนใจไปทั่วโลก และทำให้ผู้คนมีความตระหนักเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้มากขึ้น
มาลาลา ยูซาฟไซ
"I am not a lone voice. I am many."
From @Malala Yousafzai's #NobelPeacePrize Lecture where she speaks up for every child’s right to go to school.#WorldVoiceDay pic.twitter.com/iV0cOIOQqi— The Nobel Prize (@NobelPrize) April 16, 2019
สำหรับมาลาลา ยูซาฟไซนั้น เธอเริ่มต้นเคลื่อนไหวจากการตีพิมพ์บันทึกชีวิตของเธอภายใต้กฎตาลิบัน ในประเทศปากีสถาน ซึ่งตอนตีพิมพ์เธออายุเพียง 11 ปี หลังจากนั้นเธอก็เริ่มพูดต่อสาธารณะชนเกี่ยวกับการเข้าถึงระบบการศึกษาของเด็กผู้หญิง และเมื่อเธอเคลื่อนไหวไป 3 ปี เหตุการณ์ที่สำคัญก็เกิดขึ้น เพราะว่าเธอถูกตอบโต้ด้วยการลอบยิงขณะอยู่บนรถโรงเรียน จากการเคลื่อนไหวต่าง ๆ และสิ่งที่เธอกระทำและถูกกระทำทำให้เธอกลายเป็นคนที่ทั่วโลกสนใจ ได้ขึ้นปกนิตยสารระดับโลกอย่าง Times รวมไปถึงได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลในปี 2014 อีกด้วย ในตอนนั้นเธอเป็นบุคคลที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย
เอมมา กอนซาเลซ
Emma González reads the names of her fellow Parkland students who were killed, then stands in silence. #MarchForOurLives (via CBS) pic.twitter.com/QLxVFmFI8K
— Kyle Griffin (@kylegriffin1) March 24, 2018
จากเหตุการณ์ในปี 2018 ที่มีมือปืนเข้าไปกราดยิงในโรงเรียนมัธยมที่ ปาร์คแลนด์ ฟอลิดา และมีผู้เสียชีวิตถึง 17 ชีวิต จึงมีการณรงค์เรียกร้องให้การยุติความรุนแรงจากอาวุธปืน โดน เอมมา กอนซาเลซ นั้นเป็นหนึ่งในผู้นำและก่อตั้งกลุ่มควบคุมอาวุธปืนที่เรียกว่า ‘Never Again MSD’ และเมื่อมีนาคมปี 2018 เอมมาก็ได้กล่าวสุนทรพจน์อันทรงพลังที่งาน March for Our Lives โดยการอ่านชื่อของเพื่อนร่วมชั้นที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิง และยืนสงบนิ่งไว้อาลัย 4 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เท่ากับเหตุการณ์ที่มือปืนเข้าไปกราดยิงนักเรียน และการเรียกร้องของกลุ่มนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย โดยผู้ที่สามารถซื้ออาวุธปืนได้เพิ่มขึ้นจาก 18 เป็น 21 ปี รวมไปถึงต้องรอ 3 วันก่อนจะได้รับปืนด้วย
แจ็ค แอนดรากา
สร้างความฮือฮาให้กับวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก สำหรับ แจ็ค แอนดรากา เด็กชายวัย 15 ปีที่ค้นพบวิธีการค้นพบตรวจหามะเร็งตับอ่อนวิธีใหม่ที่ถูกที่สุด โดยเขาเปิดเผยว่าเขาค้นพบวิธีการนี้จากการอ่านบทความวิทยาศาสตร์ฟรีบนโลกออนไลน์ ถือว่าเจ๋งมาก ๆ เป็นการทำให้เห็นว่าอินเตอร์เน็ตนั้นมีประโยชน์เช่นไร
อมิกา จอร์จ
Just thrilled!! The government has today pledged free menstrual products will be extended to primary schools, too! Now, no child in education in England will ever need to worry about their next period again. #periodpoverty #freeperiods https://t.co/nkXGvTVWWZ
— Amika George (@AmikaGeorge) April 16, 2019
จากการที่เธอได้อ่านเกี่ยวกับการกุศลที่นำผ้าอนามัยไปแจกเด็กผู้หญิงที่แอฟริกา และเธอกลับพบว่าในอังกฤษนั้นยังมีเด็กผู้หญิงที่เดือดร้อนจากการที่ต้องใช้ผ้าอนามัยเช่นเดียวกัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ อมิกา จอร์จ ก่อตั้งแฮชแท็ก #FreePeriods ขึ้น และมีการเคลื่อนไหวลงถนนแสดงออกโดยการแต่งกายสีแดงเพื่อให้รัฐบาลออกนโยบายบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องนี้ การเคลื่อนไหวของเธอมีผู้เข้าร่วมกว่า 2000 คน การเคลื่อนไหวของอมิกาทำให้ในเดือนมีนาคมปี 2019 รัฐบาลได้ให้กองทุนสำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ ในอังกฤษมีผ้าอนามัยฟรีสำหรับเด็กผู้หญิงทุกคน การเคลื่อนไหวของอมิกาแสดงให้เห็นทั้งพลังของผู้หญิงว่ามันสามารถสร้างความตระหนักและความเปลี่ยนแปลงได้ รวมไปถึงพลังของโซเชียลมีเดียด้วย
อ้างอิง
ความเห็น 9
kai 565656
เสรีภาพมีได้แต่ต้องมีขอบเขตไม่เปิดละเมิดสิทธิ์ใครแบะไม่ด่าใครด้วยความคะนองต้องเคารพสิทธิคนอื่นด้วยจึงจะถูกต้องนะ
25 ก.ค. 2563 เวลา 09.20 น.
ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงโลกเลือกผู้นำและนักการเมืองที่ดีครับ หากเข้ามาเป็นผู้นำหรือตัวแทนเพื่อหวังลาภยศตำแหน่งความร่ำรวย มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้ประเทศชาติและปชช. เมื่อไรเมืองไทยมีนักการเมืองที่ดี ประเทศชาติจะเจริญ ปชช.จะอยู่ดีกินดีกันทั่วหน้า
21 ก.ค. 2563 เวลา 14.14 น.
ขาดเพนกวินไปได้ยังไง(ผู้นำแห่งความกักขะ)
21 ก.ค. 2563 เวลา 13.53 น.
cob
ทุกคนพยายามทำสิ่งที่ดีเพื่ออนาคตของโลก ของตนเองซึ่งจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เรื่องการเมืองยากแยกแยะถูกผิดแต่ถ้าฝ่ายไหนใช้ความรุนแรงทุกคนก็ไม่ควรสนับสนุน ไม่ควรลืมว่าเมื่อก่อนผู้ใหญ่ทุกคนก็เคยเป็นเด็กมาก่อนนะครับ
21 ก.ค. 2563 เวลา 00.04 น.
มันอยู่ที่ว่าทำเรื่องอะไรด้วยถ้าเป็นเรื่องที่ทำสิ่งดีๆ ให้โลกก็น่าชื่นชม
20 ก.ค. 2563 เวลา 23.22 น.
ดูทั้งหมด