โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อายุ 20 แล้วยัง “แบมือ” ขอเงินจากพ่อแม่ ต้องอ่าน! ต้องอาย!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 21 มิ.ย. 2561 เวลา 11.00 น. • Boom JapanSalaryman

อายุ 20 แล้วยังแบมือขอเงินจากพ่อแม่ต้องอ่าน! ต้องอาย

by Boom JapanSalaryman

 

เมื่อไม่กี่วันก่อน ทางสภาญี่ปุ่นได้ทำการอนุมัติ ปรับอายุการบรรลุนิติภาวะของคนญี่ปุ่น (หรือให้เข้าใจว่าเป็นอายุที่คุณกลายเป็น “ผู้ใหญ่” ในสังคมไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว) 

จากแต่เดิมที่ตั้งไว้ที่อายุ 20 ปี ให้เปลี่ยนเป็น 18 ปี เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 2 ปี ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนิยามความเป็นผู้ใหญ่ของญี่ปุ่นในรอบ 140 กว่าปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดในยุคเมจิ ปี 1876 ครับ
แต่ยังไม่เริ่มทันทีจะมีผลตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2022 

ดูข่าวนี้แล้วทำให้ผมนึกย้อนไปถึงเรื่องราวนึงที่ชวนให้ฉุกคิดมากๆ เกี่ยวกับภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ของคนในประเทศญี่ปุ่น ที่มีเส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง “เด็ก” และ “ผู้ใหญ่” ค่อนข้างชัดเจนด้วยคำว่า

“การบรรลุนิติภาวะ”  หรือในญี่ปุ่นเรียกว่า成人 เซอิจิน(SEIJIN)

โดยแต่เดิมเด็กญี่ปุ่นทุกคนเมื่ออายุครบ 20 ปี จะสามารถเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลองการบรรลุนิติภาวะได้ที่บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง โดยทั่วไปแล้วญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จึงถือเอาวันฉลองการบรรลุนิติภาวะนี้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์เลยทีเดียว จะมีจัดกันทุกๆ ปี ในจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม
แต่ละท้องถิ่นก็มีรูปแบบการจัดงานแตกต่างกันไป  แต่โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มด้วยพิธีทางการมีผู้ใหญ่ขึ้นมาแสดงความยินดี มีการกล่าวสุนทรพจน์ มีการมอบของที่ระลึกประจำท้องถิ่นให้กับ “ผู้ใหญ่หน้าใหม่” และสุดท้ายจะได้สังสรรค์เฮฮาดื่มกินกัน คนที่เคยจากบ้านเกิดไปนานก็จะได้ถือโอกาสกลับมาพบปะเพื่อนๆ ที่เคยรู้จักกันในวัยเด็ก

มันมีเรื่องราวของครอบครัวนึงครับ พ่อแม่มีแนวคิดเจ๋งมากพอรู้ว่าปีนี้ลูกอายุ 20 ปีบรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อแม่จึงเตรียมซองเพื่อมอบให้ลูกโดยหน้าตาซองที่ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างนี้
ข้างหน้าซองมีตัวอักษรเขียนว่า “สุขสันต์วันเกิด” 

Credit ภาพจากhttps://twitter.com/zamayuma1004/status/651243285206269952

 

เห็นผิวเผินใครๆ ก็คงคิดว่าข้างในซองต้องมีเงินใส่ไว้แน่ๆ เลย (เพราะโดยธรรมเนียมแล้วคนญี่ปุ่นจะนิยมพับเงินสอดไว้ในซองที่มีลักษณะนี้)
โห…รักพ่อแม่จัง อายุ 20 ทั้งทีมีรางวัลให้แบบนี้ด้วย 

แต่ที่ไหนได้..พอลูกคลี่ซองนี้ออกมา

อ้าวววว ข้างในไม่มีเงิน แต่เป็นจดหมายฉบับหนึ่ง  ร้อยเรียงข้อความอันสำคัญจากพ่อและแม่ดังนี้

Credit ภาพจากhttps://twitter.com/zamayuma1004/status/650682235675217920

"สุขสันต์วันเกิดครบรอบ20 ปี

 “จดหมายแจ้งการครบวาระการเลี้ยงดูลูก” 

ทางพ่อและแม่ขอสิ้นสุดการเลี้ยงดูลูกนับตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558
หลังจากนี้ขอให้เป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือเหมือนกับพ่อและแม่
ในกรณีที่ลูกอยากจะอาศัยอยู่ต่อในบ้านหลังนี้ ขอให้ชำระเงินค่าเช่าที่พัก, ค่าน้ำค่าไฟ 
รวมถึงค่าอาหารเดือนละ 20,000 เยน (6,600 บาท) ด้วย

ในกรณีประสงค์จะขอติดค่าใช้จ่ายไว้ก่อน  ขอให้เข้าใจว่าจะมีการคิดดอกเบี้ยด้วยนะ

 

แล้วมีหมายเหตุข้างท้ายจดหมายไว้ในกรอบสี่เหลี่ยม

ตั้งหัวข้อว่า

“ข้อควรระวังสำหรับคนอายุ20ปี

  1. ให้สมัครเข้าระบบเงินบำนาญตามหน้าที่พลเมืองด้วย
    และอย่าลืมจ่ายเงินล่ะ อย่าปล่อยให้สะสมมากจนเกินไปเดี๋ยวจะลำบาก

  2. ถ้าก่อคดีอะไร รูปถ่ายของเธอก็จะถูกนำไปลงตาม หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์
    และเธอก็จะมีประวัติต้องโทษทางคดีติดตัว

  3. เธอสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ได้แล้ว  ให้ระวังอย่าเมาแล้วขับ

  4. ตามสิทธิทางอายุ เธอสามารถแต่งงานได้โดยไม่ต้องขออนุญาตพ่อและแม่ 
    แต่สำหรับบ้านนี้คนที่จะมาเป็นเจ้าสาวต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ก่อนนะ

5. ให้ออมเงิน และคิดถึงอนาคตให้มากๆ
 

แล้วลงท้ายด้วยประโยคสั้นๆ ว่า
"ต่อไปนี้ก็ขอให้เธอมีความสุขกับชีวิตนะ

นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างให้เห็นว่า การก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ของเด็กญี่ปุ่น มันมีภาพที่ค่อนข้างชัดเจน วัย 20 คือช่วงเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปีที่ 2 หรือ ปีที่ 3  สังเกตได้ว่า เป็นอายุที่ต้องมีความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเอง และสังคมรอบข้าง
อย่างตอนที่ผมเรียนอยู่ที่ญี่ปุ่น มองไปรอบตัว ผมก็เห็นเพื่อนๆหลายคนขยันออกไปหางานพิเศษทำ เพื่อเอาเงินมาเลี้ยงตัวเอง เป็นค่าขนมบ้าง ค่าเช่าบ้าน ค่าจิปาถะต่างๆ รวมถึงกรณีอยากจะไปเที่ยวเอง หลายๆคนก็จะไม่รบกวน  เงินของพ่อแม่แล้ว แต่จะพยายามใช้เงินที่ตัวเองหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง

อ่านจดหมายฉบับนี้ ถ้าไม่คิดอะไรมากๆ ผมว่าก็ดูขำๆ ดีนะ พอเป็นผู้ใหญ่แล้วโดนเก็บตังค์ 5555

แบบนี้ลูกคนนี้อาจไม่อยากรีบเป็นผู้ใหญ่ก็ได้นะ แต่อ่านดูดีๆ ผมคิดว่าจดหมายนี้มีใจความค่อนข้างลึกซึ้งในบริบท  "การก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่" ในสังคมญี่ปุ่น
ว่าเป็นผู้ใหญ่ มันไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ควรมีความรับผิดชอบ  สามารถจัดการเรื่องพื้นฐานในชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อนใคร

แล้วเราล่ะ รู้สึกตัวกันตอนไหนว่าเรากำลังเป็นผู้ใหญ่แล้ว!?
เรื่องโดย Boom JapanSalaryman
เจ้าของหนังสือ “Japan Dark Side ถึงร้ายก็รัก”
www.facebook.com/JapanSalaryman
Twitter : http://twitter.com/JapanSalaryboom
instagram : http://instagram.com/JapanSalaryman

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0