เจ้าของสวนยาง ที่บ้านโอทะลัน ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ บังเอิญพบ กล้วยใบด่าง ที่คิดว่าเป็นโรคเตรียมตัดทิ้ง โชคดีที่ลูกสาวมาเห็น ถ่ายภาพโพสต์ขายลงโซเชียล ได้เงินมาครึ่งแสน
กระแสต้นไม้ใบด่างกำลังมา สวยงาม และหายาก จึงไม่แปลกที่จะมีราคาสูง โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Samrit Saraphi” ได้โพสต์เรื่องราวดี ๆ ที่บังเอิญได้ไปพบเห็นต้นกล้วยน้ำว้า ที่พ่อได้ปลูกไว้เป็นเวลามาหลายปี ที่มีสีที่แปลกตา คล้ายกล้วยด่าง ก่อนหน้านี้ก็เคยได้ยินเรื่องกล้วยด่างที่ออกข่าว แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นกล้วยด่างแท้หรือเทียม จึงได้นำมือถือมาถ่ายภาพเป็นข้อมูล ส่งไปยังผู้ที่มีความรู้ด้านไม้ด่าง ซึ่งก็เป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คชอบนักสะสมไม้ด่างอยู่แล้ว เช้าวันนั้น ปรากฏได้รับการยืนยัน ว่าเป็นกล้วยด่างแท้แน่นอน
โดยคุณ “Samrit Saraphi” ได้โพสต์ข้อความเล่าถึงกล้วยใบด่าง ที่ขายได้ต้นละครึ่งแสนนี้ว่า
“ลูกสาวเจ้าของสวนยาง ได้ออกไปให้น้ำกรดต้นยาง บริเวณท้ายหมู่บ้าน บังเอิญได้ไปพบเห็นต้นกล้วยน้ำว้า ที่พ่อ ได้ปลูกไว้เป็นเวลามาหลายปี ที่มีสีที่แปลกตา คล้ายกล้วยด่าง ก่อนหน้านี้ก็เคยได้ยินเรื่องกล้วยด่างที่ออกข่าว แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นกล้วยด่างแท้หรือเทียม จึงได้นำมือถือมาถ่ายภาพเป็นข้อมูล ส่งไปยังผู้ที่มีความรู้ด้านไม้ด่าง ซึ่งก็เป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คชอบนักสะสมไม้ด่างอยู่แล้ว เช้าวันนั้น ปรากฏได้รับการยืนยัน ว่าเป็นกล้วยด่างแท้แน่นอน และได้ทำการติดต่อขอซื้อทันทีในราคา” ครึ่งแสน “ เมื่อตกลงราคากันได้ผู้ใช้เฟสบุ๊กดังกล่าวก็ได้รีบเดินทางไปทันที่จากตัวเมืองสุรินทร์ ไปยัง บ้านโอละทันพื้นที่ พบกล้วยด่าง เมื่อไปถึงก็มี คุณแม่ พี่ชาย และกลุ่มเพื่อนๆที่ทำงานของผู้ที่ไปพบเห็นกล้วยด่าง มารอตอนรับและส่งมอบ อย่างอบอุ่น จากนั้นผู้ติดต่อขอซื้อได้สอบถามที่มาของกล้วยปรากฏว่า เป็นกล้วยน้ำว้าบ้าน ปลูกทิ้งไว้ท้ายสวนเป็นเวลามาหลายปี ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่เป็นผู้ปลูกไว้ ได้เล่าว่า ตั้งแต่เกิดมาจนป่านี้ก็ไม่เคยพบกล้วยอะไรลายแบบนี้ ด้วยความที่ไม่รู้จัก ก็ได้ตัดทิ้งไปแล้วรอบหนึ่ง และยังปรากฏร่องรอยการตัด เพราะคิดว่าอาจเป็นโรค กลัวจะก่อเกิดความเสียหายต่อพืชไร่ชนิดอื่น เมื่อหลายเดือนก่อน ยังได้กล่าวว่า ไม่คิดว่ากล้วยด่างจะเกิดในพื้นที่ของตน และจะมีราคาแพงขนาดนี้ ทั้งตกใจ และดีใจ ที่ลูกสาวได้ไปพบก่อน หากช้ากว่านี้ คุณพ่อคงจะตัดทิ้งอีกครั้ง นับเป็นความโชคดี ชาวสวนยางมาก เพราะกล้วยด่างที่พบนั้น เป็นกล้วยน้ำว้าบ้าน โอกาสในการด่างเองในธรรมชาติน้อยมาก 1ในแสนในล้านต้นก็ว่าได้ นี้ก็เป็นครั้งแรกที่ได้พบเห็นในพื้นที่ดังกล่าว เขตชายแดนจังหวัดสุรินทร์”