โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“บัณฑิตติดบาป” ไม่อายเหรอไง? ได้ “ใบปริญญา” แต่สร้างหนี้ให้คนอื่น!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 31 ก.ค. 2561 เวลา 13.00 น.

“บัณฑิตติดบาป” ไม่อายเหรอไง? ได้ “ใบปริญญา” แต่สร้างหนี้ให้คนอื่น!

จากกรณีที่ นาวสาววิภา บานเย็น หรือครูวิภา วัย 47 ปี ผู้บริหารโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ถูกลูกศิษย์เบี้ยวหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จนทำให้ครูวิภาในฐานะผู้ค้ำประกัน เกือบต้องถูกยึดทรัพย์รับหนี้ที่เหล่าลูกศิษย์เป็นผู้ก่อ เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่สังคมไทยควรถอดบทเรียน เพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

22 ปีแห่งความหวังดี

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 นับเป็นเวลา 22 ปีแล้ว ที่กองทุนนี้ได้สร้างบัณทิตสู่สังคม มีความรู้ประกอบวิชาชีพ ทว่าปัจจุบันหนี้เสียของกยศ. กลับใกล้แตะ 70,000 ล้านบาท ที่น่าเศร้ากว่านั้นจากการปล่อยกู้ทั้งหมด 5.4 ล้านราย พบการผิดนัดการชำระหนี้จำนวน 2.1 ล้านราย หรือเกือบ 39% เลยทีเดียว

จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้!เพราะมันคือสำนึก’

ฟากฝั่งลูก(เบี้ยว)หนี้จำนวนไม่น้อย ก็ออกมาโต้แย้ง ถึงกระบวนการติดตามทวงนี้ของ กยศ. ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เมื่อได้ทราบรายละเอียดลึกลงไป ก็บอกเลยว่า จะอ้างว่าไม่รู้ก็ไม่ได้ เพราะ กยศ. ชี้แจงถึงวิธีการติดตามทวงหนี้ดังนี้ 

1. ส่งหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกให้ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกทราบเพื่อไปชำระหนี้

2. ส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้กู้ยืมทุกรายที่ครบกำหนดชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 2 เป็นต้นไปเพื่อไปชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งกองทุนฯ จะดำเนินการดังนี้

    2.1 ส่งหนังสือติดตามทวงถามหนี้ค้าง ไปยังผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ค้างชำระ

    2.2 ส่ง SMS / หรือข้อความเสียง (สำหรับรายที่กองทุนฯ มีหมายเลขโทรศัพท์)

    2.3 ติดตามหนี้ทางโทรศัพท์ เพื่อเจรจาให้ลูกหนี้ชำระหนี้

ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนที่ไม่ได้รับการติดตามทวงหนี้ นำมาสู่การตั้งคำถามว่า ลูกหนี้เคยใส่ใจอัพเดทข้อมูลติดต่อกับทาง กยศ. หรือไม่? และท้ายที่สุดก็ต้องมาวิเคราะห์กันดูว่า ‘สำนึก’ ของคนเป็นหนี้ ยังพอมีอยู่หรือไม่

หนี้…ที่บัณฑิตเงินกู้’ ต้องชดใช้

ทาง กยศ. ระบุว่าหากมีการติดตามทวงถามโดยวิธีการต่างๆ แล้ว ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ จนมีหนี้ค้างชำระหลายงวด กยศ. จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน อันเป็นที่มาของคดีครูลูกศิษย์อันฉาวโฉ่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1 /ปี ที่ผู้กู้ต้องชดใช้ มันเทียบกันไม่ได้เลยกับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ของบัตรเครดิต หรือร้อยละ 28 ของบัตรกดเงินสด (อ้างอิง https://www.aborrow.com/advantage-cash-card-and-cerdit-card/ )

 ปรับ…ให้หลาบจำ 

ลูกหนี้กยศ.หลายคนคงยังไม่ทราบ แม้ กยศ. จะคิดคำนวณดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ทว่าค่าปรับในกรณีผิดนัดขำระหนี้ ก็โหดอยู่ไม่น้อย เพราะหากค้างชำระไม่เกิน 1 งวด จะคิดค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ หากแต่ค้างชำระตั้งแต่ 1 งวดขึ้นไปชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด ที่สำคัญคือ กยศ. คิดดอกเบี้ยแบบวันต่อวัน!

 

ต้องมี “ผู้รับกรรม”

เพราะการกู้ กยศ. ต้องมีคนค้ำ หากติดตามหนี้จากผู้กู้ไม่ได้ แน่นอนว่ากรรมก็ต้องไปตกอยู่ที่คนค้ำประกัน และจากกรณีของครูวิภา ก็ทำให้ทราบว่ามีครูเป็นจำนวนมาก ที่ถูกนักเรียนขอร้องให้ช่วยเป็นผู้ค้ำประกัน ด้วยคำมั่นสัญญาลมปาก ว่าจะไม่ทำให้ครูผิดหวัง แต่แล้วก็สำนึกของศิษย์ก็จางหายไปตามกาลเวลา พร้อมใบปริญญาที่เข้ามาแทนที่ เพื่อเบิกทางสู่อนาคตอันสดใส ขณะที่ครูกลับกลายต้องเป็นจำเลยแทน

ผลกรรมขยายวง

ไม่เพียงเท่านี้ เม็ดเงินของกยศ. ทุกบาททุกสตางค์ ล้วนมาจากงบประมาณแผ่นดินและเงินชำระหนี้ของลูกหนี้ ในแต่ละปี หากไม่มีการชำระหนี้ ก็เท่ากับเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กรุ่นต่อไป ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ควรจะหมดไปจากประเทศไทย ก็ยังคงคาราคาซังกันต่อไป เพราะความ ‘ไร้สึกนึก’ ของเหล่าบัณฑิตเงินกู้เหล่านี้นั่นเอง 

 

เครดิตภาพกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) / PPTV / ไทยรัฐออนไลน์ / โพสต์ทูเดย์

 

อ้างอิงเนื้อหา
https://www.studentloan.or.th/index.php/highlight/2/6/46

https://www.studentloan.or.th/index.php/news/detail/234

https://www.thairath.co.th/content/1344033

https://www.posttoday.com/politic/report/389863 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0