‘ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว’
ปฏิเสธไม่ได้ถึงสำนวนสุภาษิตข้างต้นที่มักจะได้ยินตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงสูงอายุ ที่ไว้คอยเตือนสติถึงการกระทำและการดำเนินชีวิตให้อยู่ในกรอบของความดี ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี แต่ถ้าทำชั่ว เราก็จะได้สิ่งที่ไม่ดีเป็นการตอบแทน
แต่ปัจจุบันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องด้วยโลกที่เปลี่ยนไปผู้คนต่างดำเนินชีวิตอย่างไร้กฎเกณฑ์ การกระทำในสิ่งที่ผิดก็มากขึ้น อาจด้วยเหตุผลทางสภาวะทางสังคมที่บีบบังคับหรืออาจเป็นเพียงข้ออ้างโดยใช้ความน่าสงสารเป็นชนวนการก่อเหตุ สุดท้ายแล้วทั้งหมดล้วนคือการก่อกรรมติดตัว ถึงจะทำความดีมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถลบล้างสิ่งที่ตัวเองก่อไว้
จากประเด็นการเสียชีวิตของ #หมอกระต่าย ถูก ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ขี่บิ๊กไบค์ชนขณะกำลังข้ามทางม้าลายเสียชีวิต โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาลเอาผิด ส.ต.ต.นรวิชญ์ ใน 7 ข้อหานั้นคือ ขับประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ,ขับไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย,ไม่หยุดรถให้ทางคนข้ามทางม้าลาย,นำรถไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทาง,นำรถที่มีส่วนควบไม่ครบ ไม่มีกระจก มาใช้ในทาง,นำรถไม่เสียภาษีมาใช้ในทางและนำรถที่ไม่มี พ.ร.บ.มาใช้ในทาง
ถึงหลักฐานรัดกุมทั้งคลิปวงจรปิดและเอกสารต่าง ๆ ที่สามารถเอาผิด ส.ต.ต.นรวิชญ์ จำคุกและรับผิดกับสิ่งที่ก่อไว้ แต่ทว่าไม่มีการควบคุมตัวเนื่องด้วยสารภาพทุกข้อกล่าวหา ก่อนตัดสินใจ ‘บวช’ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแทนการรับโทษ
สังคมจึงเกิดการตั้งคำถามต่อเนื่องว่าบุคคลที่กระทำความผิดมีคดีติดตัวสามารถบวชได้หรือไม่ และกรรมที่ก่อไว้จะลดลงได้จริงหรือ ส่วนการกระทำเช่นนี้อาจนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบเพียงแค่บวชความผิดที่ก่อไว้จะลดลงเพียงเพราะได้ทำความดี ??
ทั้งนี้จากข้อมูลกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ในข้อ 14 พระอุปัชฌาย์ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบทแก่คนต้องห้ามเหล่านี้
-คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน
-คนหลบหนีราชการ
-คนต้องหาในคดีอาญา
-คนเคยถูกตัดสินจำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
-คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
-คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย
-คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
ซึ่งการที่จะอุปสมบทได้นั้นจะต้องทำดำเนินการตามกฎมหาเถรสมาคมที่ขีดเส้นที่ว่า
“เจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์จะรับผู้ใดบวช ต้องมีผู้รับรองและให้ผู้รับรองของผู้นั้นและนำผู้จะบวชมามอบตัว พร้อมด้วยใบสมัคร และใบรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบท ซึ่งจะขอได้จากพระอุปัชฌาย์ ก่อนถึงวันบรรพชาอุปสมบทไม่น้อยกว่า 15 วัน และต้องไม่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวในข้างต้น"
ในกรณีของ ส.ต.ต.นรวิชญ์ นั้นพบว่ายังถือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา รวมถึงเป็นเจ้าหน้าที่ราชการซึ่งการบวชโดยไม่มีหนังสือรับรองนั้นถือเป็นบุคคลหลบหนีราชการ (คลิกอ่านเพิ่มเติม )
ทั้งนี้การกระทำความผิดจากกรณีดังกล่าวถือเป็นเคสตัวอย่างที่ทำให้สังคมไทยเกิดการตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลายอย่าง ทั้งกระบวนการดำเนินคดีผู้กระทำผิด กฎหมายจราจรที่ไม่เข้มข้น จิตสำนึกการใช้ถนนรวมกัน
และที่สำคัญ ‘การทำความดีไม่สามารถชำระล้างผลกรรมที่ก่อไว้ แม้จะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของผ้าเหลืองยังไงก็อาบัติปาราชิกอย่างแน่นนอน **
อ้างอิง
ความเห็น 100
สุภาพ ผิวขาว
BEST
ต้องเข้าใจให้ถูกนะครับ อาบัติปาราชิกต้องละเมิดตอนบวชแล้วเท่านั้น ส่วนคนที่ทำความผิดเช่นเดียวกับปาราชิกบางข้อในขณะเป็นโยมถือเป็นคนต้องห้ามอุปสมบท(แม้ผ่านพิธีบวชแล้วก็ไม่เป็นพระ เพราะขาดคุณสมบัติตั้งแต่แรก)
26 ม.ค. 2565 เวลา 03.30 น.
เตี่ยน
BEST
ผิดทั้งผู้บวชและเจ้าอาวาสซึ่งเป็นดำเนินการให้บวช
25 ม.ค. 2565 เวลา 22.53 น.
artid
BEST
มาแผนสูง ไม่ต้องการถูกติเตียนจากบรรดาพ่อแม่ญาติพี่น้องของหมอกระต่าย จึงรีบหนีไปบวชทั้งที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะบวชได้
26 ม.ค. 2565 เวลา 03.05 น.
SuparatT
เรื่องกฏหมายไม่พูดกัน
บวชแล้วคนตายได้รับความยุติธรรมมากขึ้นเหรอ
25 ม.ค. 2565 เวลา 22.23 น.
xxx
เอาจริงๆนะ ว่าพระทุกวันนี้มีใครสนใจเรื่องอาบัติปราชิกกันบ้าง เขาบวชเพื่อสะสมเงินทองของมีค่ากันทั้งนั้นแหละ มันเป็นอาชีพสร้างรายได้ ดูอย่างเดียรถีย์ 2 ตัวของวัดสร้อยทองนั่นสิ สึกมารํ่ารวยขนาดไหน
26 ม.ค. 2565 เวลา 05.12 น.
ดูทั้งหมด