“ริท” เผย! เป็น“หมอ” หรือ“นักร้อง” มันก็ไม่ต่างกัน
“…ชีวิตเราสุขภาพเราเราต้องเป็นคนทำไม่ใช่หมอทำนะครับ…”
ก่อนหน้านี้ใครจะไปคิดว่าจะได้ยินประโยคนี้จาก "ริท-เรืองฤทธิ์ศิริพานิช" ศิลปินผู้คว้ารางวัลรองชนะเลิศจากเวทีเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 ที่วันนี้เขาได้กลายเป็น “หมอริท” ไปแล้วอย่างเต็มตัว วันนี้เราจึงขอให้คุณหมอวางเข็มฉีดยาพร้อมๆ กับพัก Event มหาศาลในตารางงานไว้ชั่วครู่ เพื่อมาร่วมพูดคุยเปิดหัวใจของเขาในมุมมองใหม่ จากการทำหน้าที่เป็น “นายแพทย์” พร้อมๆ ไปกับ “ศิลปิน” ของเขา ซึ่งเราอาจจะยังไม่เคยได้สัมผัส แต่เชื่อเหลือเกินว่าต้องมีเรื่องราวดีๆ ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันอย่างแน่นอน ดังที่ริทบอกเราไว้ว่า
“…เป็นหมอกับเป็นนักร้องเหมือนกันก็คือเป็นอาชีพที่ได้ให้ความสุขกับคนอื่นอย่างเป็นหมอคือเราได้รักษาโรคทำให้เขาหายจากความทุกข์ที่เขามีแล้วไปดำเนินชีวิตต่อได้ส่วนการอยู่ในวงการบันเทิงมันคือการให้ความสุขกับผู้ชมนั่นนั่นคือส่วนที่รักในการทำงานทั้งสองอย่างนี้ครับ…”
มาเป็น “หมอโรคผิวหนัง” เพราะ“วงการบันเทิง”
“…มันไม่ใช่ความฝันมาตั้งแต่เด็กๆว่า "อยากเป๊น..อยากเป็น(เน้นเสียง)" มันเกิดจากพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายรอบข้างที่พูดให้ฟังว่าแบบเป็นหมอนี่ดีนะจะได้มั่นคงจะได้มีเกียรติเขาก็อยากให้เป็นเพราะเขาดูว่าเราน่าจะเรียนได้อยู่นะดูเก่งไงซึ่งเขาคิดไปเอง(หัวเราะ) สำหรับตัวเราก็ไม่รู้ว่าหมอทำงานอย่างไรต้องเรียนหนักไหมตรวจกี่โมงอะไรอย่างไรเพราะไม่ได้มีคนใกล้ตัวเป็นหมอเลย…
…แต่การเลือกมาเรียนทางด้านโรคผิวหนัง(ตจวิทยา- Dermatology) เพราะริทอยากเรียนมาตั้งแต่แรกที่เข้ามาเรียนอยู่แล้วก็เล็งๆไว้แต่เขาบอกกันว่ามันแอบยากก็มีเผื่อใจไว้บ้างทีนี้พอมาทำงานในวงการบันเทิงริทก็สังเกตตัวเองว่าริทชอบมองคนแล้วคิดตามว่าคนนี้อยากให้ดูดีขึ้นทำอย่างไรสวยขึ้นต้องเติมตรงไหนดีซึ่งริทเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือนะจริงๆแล้ว(หัวเราะ) แต่พอเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสวยความงามหรือผิวหนังริทจะอ่านเองเลยครับเลยรู้ตัวว่าเราชอบซึ่งก็เหลืออีก2 ปีก็จะจบแล้วครับจบมาแล้วก็คงจะเปิดคลินิกแน่นอนแต่ว่าช่วงไหนยังไม่รู้นะครับ(ยิ้ม)…”
“เหนื่อยจนท้อ” แต่ก็ขอทำอย่างเต็มที่
“…ริทว่าถ้าทำทั้งสองอย่างคือเรียนหมอกับทำงานในวงการไปด้วยกันมันทำได้ไหมมันทำได้เพราะว่าริทก็ทำอยู่ครับแต่ว่ามันทำให้ดีได้ไหมมันยากนะครับ(หัวเราะ) ริทก็เลยเลือกหมอก่อนหมายความว่าอะไรก็ตามที่อยู่ในด้านหมอเช่นการเรียนการตรวจคนไข้อะไรก็ตามริทให้ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
เรื่องความเหนื่อยของการทำทั้งสองอย่างนี่มีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ริทจิตตกไปเลยนะครับช่วงนั้นเป็นตอนปี5 -6 ซึ่งเรียนหนักมากแล้วก็มีงานเยอะมากมี7 Wonders ด้วย(7 Wonders Concert คอนเสิร์ต7 มหัศจรรย์) สิ่งที่ต้องทำคือริทเรียนปกติแล้วตอนเย็นก็ขึ้นเครื่องมาซ้อมซ้อมเสร็จนั่งรถตู้กลับเพราะไฟล์ทหมดแล้วนอนในรถแล้วไปถึงที่ขอนแก่น6 โมงเช้าอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าตรวจคนไข้ต่อแล้วก็ไปเรียนไปๆกลับๆแล้วร่างกายมันเริ่มเบลอไม่ได้พักผ่อนหลับสนิทสักทีการเรียนก็แย่ลงเป็นช่วงที่คุณครูเรียกพบเลยเพราะสอบได้คะแนนต่ำลงท้อมากจนถึงขั้นนั่งเฉยๆแล้วก็ไม่ทำอะไรแล้วขอแค่ร่างกายได้อยู่นิ่งๆก็พอ ร้องไห้ไปเลยคนเดียวแล้วก็ฮึบหลับไปแต่ก็ผ่านมาได้มันไม่รู้เหมือนกันว่าผ่านมาได้อย่างไรมันรู้แค่ว่าหน้าที่ก็คือหน้าที่นี่คือสิ่งที่เราเลือกมาแล้วเครียดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรอยู่ดี…”
สารพัดรูปแบบคนไข้ดื้อบ้างเป็นบางทีน่ารักดีก็มีอยู่มาก
“…ความประทับใจในงานก็คือริทจะชอบคนไข้ที่มีน้ำใจกับหมอจริงๆแล้วเวลารักษาเราก็รักษาตามมาตรฐานด้วยความเท่าเทียมกันหมดแหละครับแต่ก็จะมีคนไข้บางคนที่เขารู้สึกขอบคุณหมอมากๆอย่างคนไข้ต่างจังหวัดนี่เขาก็จะมีถือกล้วยมาทั้งเครือ(ยิ้ม) คือมันไม่ได้มีมูลค่าอะไรมากมายหรอกแต่มันน่ารักอ่ะ(หัวเราะ) บอกว่าปลูกเองนะตั้งใจเอามาให้หมอเอาขึ้นรถกระบะขับมาจากบ้านที่อีกจังหวัดเอามาให้ มีหมดเลยนะไม่ใช่เฉพาะกล้วยทุเรียนเอยขนมทำเองหรือบางคนก็ซื้อของมาให้หมอมันไม่ได้เป็นอะไรที่มากมายหรอกแต่มันทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าของงานที่เราทำยิ่งขึ้นไปอีก
ส่วนCase ที่เราจะFail คือไม่ได้Fail ที่การรักษาแต่Fail ที่คนไข้ทีบางทีไม่เชื่อใจเวลาริทรักษาคนริทจะรักษาตามใจเขาอยากได้อะไรบอกมาเลยริทจะถามเขาก่อนเสมอเพราะริทเชื่อว่าถ้าเขาได้ทำอะไรตามที่เขาสะดวกแล้วการรักษามันน่าจะทำได้ดีขึ้นแต่บางทีเราแนะนำอะไรไปบางทีเขาไม่เชื่อซึ่งเราก็ทำอะไรไม่ได้ทำได้แค่ที่เราหวังดีได้มากที่สุดคือบอกในสิ่งที่เราต้องบอกเขาให้ครบแต่สุดท้ายแล้วเขาไม่ทำตามแล้วกลับมาด้วยอาการแย่ลงเราก็จะรู้สึกว่าอีกแล้วถ้ายอมเชื่อกันแต่แรกก็ไม่เป็นอย่างนี้แล้ว…”
“การไม่รู้ปัญหา” คือปัญหาสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของคนไทย
“…ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญที่สุดของคนไทยเราเลยก็คือ“การไม่รู้ปัญหา” คือถ้าเป็นคนชนบทคนต่างจังหวัดนอกเมืองใหญ่ไปไกลๆเขาจะค่อนข้างที่จะใส่ใจตัวเองน้อยแปลว่าอะไรแปลว่าเขารอให้โรคเขาเป็นเยอะก่อนเพราะฉะนั้นโรคแต่ละโรคที่มามันจะมีผลแทรกซ้อนหรือเป็นโรคยากๆทั้งนั้นเลยไม่มีอะไรเป๊ะๆตามหนังสือเลยซึ่งจะไปโทษเขาไม่ได้เพราะบางทีเขามีปัจจัยอื่นๆอย่างเช่นเขาไม่สะดวกในการเข้าเมืองเพราะโรงพยาบาลแต่ละโรงพยาบาลจะมาแต่ละทีจากบ้านก็ไกล
แต่สำหรับคนในเมืองหรือคนที่มีการศึกษาดีเขาจะมีความเป็นห่วงเป็นใยต่อสุขภาพตนเองค่อนข้างเยอะบางครั้งเยอะเกินกว่าเหตุอย่างเช่นตากระตุกก็มาโรงพยาบาลแล้วเป็นหวัดไม่มีไข้คัดจมูกมาโรงพยาบาลผิดไหมก็ไม่ผิดอีกเหมือนกันเพราะเขาก็วัดไม่ได้ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเยอะหรือเป็นน้อยแต่เขารู้สึกว่าเขาไม่สบายเขาก็เลยมาโรงพยาบาลริทก็เลยคิดว่ามันค่อนข้างหาจุดพอดียากในระหว่างสองชนชั้นมันก็เลยทำให้ตอนนี้ในโรงพยาบาลมันก็มีทั้งคนใช้บริการเยอะทั้งโรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นแล้วก็ส่งผลให้เพิ่มการทำงานเพิ่มงบประมาณของโรงพยาบาลขึ้นเรื่อยๆ…”
และเมื่อถึงคำถามสุดท้ายที่เราถาม “หมอริท” คนนี้ว่า แล้ววิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุดที่เขาอยากจะฝากให้ทุกคนนำไปใช้ เพื่อปัองกันปัญหา “ความไม่รู้” ของคนไทยเราคืออะไร คำตอบที่ได้ ก็ไม่ใช่แค่การรับประทานอาหารครบห้าหมู่ หรืออกกำลังกายอย่างที่พูดกันทั่วไป แต่กลับเป็นวิธีคิดที่ทำให้พวกเรารู้สึกเหลือเกินว่า ริทได้ตั้งใจที่จะเป็นหมอที่ดีจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงลมปาก หรือความหวังในประโยชน์อื่นใด แต่เป็นความสุขจากการทำหน้าที่ “นายแพทย์เรืองฤทธิ์ศิริพานิช”
“…ริทว่าสุดท้ายแล้วเราต้องทำชีวิตเราเป็นของเราไม่ใช่ชีวิตเราเป็นของหมอคือโอเคเราไปโรงพยาบาลเราไปเพื่อรับการรักษาและปรึกษาแพทย์แต่ไม่ใช่ว่าแพทย์จะมาอยู่กับเรา24 ชั่วโมงสุดท้ายแล้วตัวเราเองคือคนที่จะดูแลสุขภาพตัวเราเองได้ดีที่สุดเพราะฉะนั้นฟังคำแนะนำจากแพทย์เสร็จได้รับการรักษาเสร็จกลับมาบ้านคุณก็ต้องดูแลตัวเองต่อด้วยคนไทยจะชอบคิดว่าเรามีสิทธิ์30 บาทรักษาทุกโรคเราป่วยเราก็แค่ไปหาหมอจริงๆมันไม่ใช่คือโรคบางโรคหรือสถานะบางอย่างที่ตัวเราทำอยู่มันอาจจะกระทบตัวเองในอนาคตก็ได้เช่นสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์บางคนบอกว่าทำไปเถอะสุดท้ายก็ไปรักษาเอาก็ได้มันไม่ใช่ทุกอย่างต้องป้องกันและลดความเสี่ยงไปด้วยกันครับ…”
********************************
ขอขอบคุณสถานที่ : Frint_Stone Cafe RCA
ความเห็น 0