โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก ผักเคล (Kale) ราชินีผักใบเขียว – คุณค่าที่คนรักสุขภาพคู่ควร

Campus Star

เผยแพร่ 31 พ.ค. 2562 เวลา 09.51 น.
ทำความรู้จัก ผักเคล (Kale) ราชินีผักใบเขียว – คุณค่าที่คนรักสุขภาพคู่ควร
จากคำกล่าวที่ว่า 'YOU ARE WHAT YOU EAT' กินอะไรก็จะเป็นอย่างนั้น ทำให้หลายคนหันมาดูแลสุขภาพอาหารการกินกันมากขึ้น-ผักเคล (Kale) ราชินีผักใบเขียว

จากคำกล่าวที่ว่า ‘YOU ARE WHAT YOU EAT’ กินอะไรก็จะเป็นอย่างนั้น ทำให้หลายคนหันมาดูแลสุขภาพอาหารการกินกันมากขึ้น ลดการรับประทานอาหารจำพวกฟาสฟู๊ด อาหารใส่ผงชูรส หรืออาหารที่ผ่านการปรุงเยอะๆ แล้วหันมาเลือกทานอาหารประเภทที่ให้สารอาหารเยอะ แต่แคลลอรี่หรือไขมันต่ำ (ผักเคล (Kale) ราชินีผักใบเขียว)

ผักเคล (Kale) ราชินีผักใบเขียว

คนรักสุขภาพจึงเลือกทานอาหารประเภทที่ให้สารอาหารเยอะ อาทิ เมล็ดเจีย ข้าวโอ๊ต คีนัว ผักผลไม้ต่างๆ โดยอาหารที่กำลังฮิตในหมู่คนรักสุขภาพนั่นคือ“ผักเคล (Kale) หรือ ผักคะน้าใบหยัก” นั่นเอง วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาไปทำความรู้จักเจ้าผักเคลให้มากขึ้นกันค่ะ

ผักเคล คืออะไร?

ผักเคล (Kale) หรือ ผักคะน้าใบหยัก เป็นพืชตระกูลเดียวกับผักจำพวก บร็อคเคอรี่ คะน้า และดอกกะหล่ำ มีลักษณะสีเขียวเข้ม ใบหยิก เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ และถูกยกให้เป็น ‘Superfood’ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย อาทิ โอเมก้า 3 แมกนีเซียม แคลเซียม เหล็ก โซเดียม โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค วิตามินบี 6 เป็นต้น

ทำไมต้องผักเคล

หลังจากที่นักวัทยาศาสตร์ได้ค้นพบประโยชน์มากมายจากผักแคล ก็ทำให้ผักชนิดนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย หลายคนลองรับประทานและเห็นผลที่ดีต่อร่างกาย จึงเกิดการบอกต่อกันไปเรื่อยๆ กลายเป็นกระแสในหมู่ของคนรักสุขภาพ เพราะผักเคลไม่เหมือนกับผักธรรมดาทั่วไป เป็นผักที่มีสารอาหารมากแต่น้ำตาลน้อย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รักสุขภาพหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักนั่นเอง

อีกทั้งผักเคลยังให้คาร์โบไฮเดรตที่มีค่า Glycemic Index (GI) ต่ำ ซึ่งเป็นหน่วยวัดผลของคาร์โบไฮเดรตต่อระดับน้ำตาลในเลือด หากมีค่า GI สูง หมายถึงคาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างรวดเร็วในระหว่างการย่อยอาหาร ทำให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างรวดเร็ว หากมีค่า GI ต่ำ หมายถึงคาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างช้าๆ ค่อยๆ ให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นอาหารที่มีค่า GI ต่ำมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ผักแคลยังเป็น‘ตัวล้างสารพิษจากธรรมชาติ’ เช่นเดียวกับ สไปรูลิน่า เพราะมีไฟเบอร์และซัลเฟอร์ ที่ช่วยดึงสารพิษสะสมและกำจัดออกจากร่างกาย อาทิ สารตกค้างจากอาหารแปรรูป มลภาวะ ยาฆ่าแมลง และสารพิษตกค้างจากยา ซึ่งถ้าสะสมมากในร่างกายก็จะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรค

ประโยชน์ของผักเคล

  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยมีงานวิจัยพบว่า การดื่มน้ำผักเคลเป็นประจำทุกวันติดต่อกัน 12 สัปดาห์ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL ที่ดีขึ้นถึง 27% และลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย LDL ลงไป 10%
  • ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ
  • ลดการอักเสบของร่างกาย
  • ลดรอยเหี่ยวย่นของผิว ลดริ้วรอย ชะลอวัย ช่วยให้ผิวหนังเปล่งปลั่งสดใส
  • ป้องกันโรคหวัด ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบเผาผลาญซึ่งจำเป็นต่อการลดน้ำหนัก
  • ช่วยกำจัดสารพิษที่สะสมออกจากร่างกาย
  • ช่วยให้เลือดลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ดี
  • ช่วยให้เซลล์เติบโต และจำเป็นต่อการทำงานของตับ
  • ช่วยบำรุงเลือดและตับได้อย่างดี
  • ช่วยลดการอักเสบของไขข้อและข้อกระดูก ช่วยต้านทานโรคไขข้ออักเสบได้ดี
  • ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี
  • ช่วยปกป้องสายตา ทำให้ดวงตาแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดล้าของดวงตาจากการใช้งานหนัก
  • ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ และชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยดีท๊อกซ์ลำไส้ ล้างสารพิษที่ตกค้าง และลดการเกิดโรคของโรคลำไส้อักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของผักเคล ต่อ 100 กรัม (อ้างอิงจาก:ndb.nal.usda.gov)

  • พลังงาน 35 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 4.42 กรัม
  • น้ำตาล 0.99 กรัม
  • เส้นใย 4.1 กรัม
  • ไขมัน 1.49 กรัม
  • โปรตีน 2.92 กรัม
  • น้ำ 89.63 กรัม
  • วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม
  • วิตามิน บี 1 0.113 มิลลิกรัม
  • วิตามิน บี 2 0.347 มิลลิกรัม
  • วิตามิน บี 3 1.180 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 0.147 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 93.4 มิลลิกรัม
  • วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม
  • วิตามินเค 389.6 ไมโครกรัม
  • โฟเลต 62 ไม่โครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 254 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 1.60 มิลลิกรัม
  • ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 55 มิลลิกรัม
  • ธาตุโพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม
  • ธาตุโซเดียม 53 มิลลิกรัม
  • ธาตุสังกะสี 0.39 มิลลิกรัม
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.104 กรัม
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.6373 กรัม

วิธีรับประทานผักเคล

ผักเคล ามารถรับประทานสดๆ ได้เลย แต่อาจจะมีรสออกขมๆ และใบค่อนข้างหนา อาจจะรับประทานยากกว่าผักสลัดทั่วไป หากรับประทานแบบ‘เบบี้เคล’ จะทานง่ายกว่า ซึ่งเป็นผักเคลมีอายุการปลูกประมาณ 60 วัน หรือสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภททั้งต้ม ทอด ผัด แต่วิธีที่นิยมทำมากที่สุดคือ ‘การนำผักเคลมาปั่นเป็นเครื่องดื่มสมูตตี้’  ผสมกับผลไม้รสเปรี้ยว เช่น แอปเปิ้ลเขียวหรือกีวี่ ทำให้ทานง่ายยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังในการรับประทานผักเคล

ทุกสิ่งบนโลก ถ้ามากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็อาจให้โทษได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานผักเคลแบบพอดีๆ เพราะในผักเคลมีสาร‘Goitrogen‘ ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ หากได้รับสารชนิดนี้มากเกินไปจะทำให้มีอาการท้องอืดและร่างกายได้ขาดสารไอโอดีน นำไปสู่โรคคอพอกได้ ส่วนผู้ที่เป็นโรคคอพอกอยู่แล้ว ก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรืออาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการับประทาน

บทความแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0