โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เมื่อ “พระ” อยากเลือกตั้ง ธรรมะบนหนทางประชาธิปไตย

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 15 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

เมื่อ “พระ” อยากเลือกตั้ง ธรรมะบนหนทางประชาธิปไตย 

จากกรณีที่ “พระสมาน คัมภีรปัญโญ” หรือ “นายสมาน ศรีงาม” อดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อดีตแกนนำกลุ่มธรรมยาตรา ทวงคืนเขาพระวิหาร เมื่อปี 2556 และเคยเป็นแกนนำขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติที่ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2559 เข้า กกต. เพื่อเรียกรองสิทธิทางการเมืองนั้น แม้จะเป็นข่าวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็อดไม่ได้ที่จะได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย ออกมาแสดงความคิดเห็นในหลายๆ ทาง

เห็นข้อเรียกร้อง

พระสมาน กล่าวว่า การห้ามพระยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งที่หลายประเทศก็ให้พระเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ ด้วยการอ้างจารีตประเพณี ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่ให้บุคคลมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่มีประเทศใดๆ ในโลกนี้ไม่ว่าประเทศนั้นจะปกครองด้วยระบอบใด จะจำกัดหรือลิดรอนสิทธิ์ของพระภิกษุ นักบวช นักพรต ในทางการเมืองการปกครอง อีกทั้งพระภิกษุก็เป็นปวงชนย่อมมีสิทธิ์ในอำนาจอธิปไตย มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง กฎหมายจึงจำเป็นต้องถวายสิทธิ์ทางการเมืองการปกครองให้กับพระภิกษุ ส่วนท่านจะไปใช้สิทธิ์ หรือไม่ใช้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่จะต้องให้มีความเสมอภาคในการออกเสียงลงคะแนน

เจตนารมณ์ของกฎหมาย

อย่างที่หลายคนทราบกันดี เพราะวิชาสังคมในระดับชั้น ม.ปลาย ก็มีการเรียนการสอนเรื่องนี้ โดยมีการให้ความรู้ว่า หนึ่งในลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือ ‘เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช’  ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงแต่ในศาสนาพุทธเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงศาสนาอื่นๆ ที่มีนักบวชด้วย และไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย การกำหนดเช่นนี้ ก็ยังคงเป็นไปในลักษณะเดิมมาโดยตลอด ด้วยเห็นว่าพระภิกษุ คือ ผู้ละแล้วซึ่งทางโลก ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า รัฐธรรมนูญจึงกำหนดไว้เช่นนั้น ทว่าพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง ก็กลับแย้งด้วยหลักสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค นำมาเป็นข้ออ้างในการเรียกร้องสิทธิทางการเมืองเสมอมา 

หาก ‘พระ’ ชนะศึก

ลองมาคิดดูกันเล่นๆ ว่า หากการเลือกตั้งในปีหน้า พระภิกษุมีสิทธิในการเลือกตั้งจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อลองวิเคราะห์จากจำนวนพระภิกษุ ที่มีข้อมูลการสำรวจในปี 2557 พบว่ามีจำนวนภิกษุอยู่ 290,015 รูป คาดการณ์ว่าปีนี้ จำนวนน่าจะแตะ 4 แสนรูป ด้วยสถิติจำนวนวัดที่เพิ่มขึ้นทุกปี นับร้อยวัด แต่ดูเหมือนจะเทียบไม่ได้เลยกับสถิติคนใช้สิทธิการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2557 ที่มีจำนวนถึง 20 ล้านเสียง

 สิทธิที่ได้กับอำนาจที่แท้จริง 

แม้ว่าจำนวนพระภิกษุจะดูไม่ได้มีผลกับการแพ้ชนะเลือกตั้งของพรรคการเมือง ทว่าในสังคมชนบท หรือต่างจังหวัด พระภิกษุหรือวัด เป็นหน่วยหนึ่งในสังคม ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อชุมชนเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าชี้ไม้เป็นนก ชี้นกเป็นไม้ ได้เลยทีเดียว แม้ในปัจจุบันพระภิกษุจะยังไม่มีสิทธิทางการเมือง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากลุ่มอำนาจต่างๆ ก็พยายามแทรกแซงเข้าถึง เพื่อกุมอำนาจผ่านวัด จัดกิจกรรมส่งเสริมศาสนาในชุมชนจนได้รับการศรัทธายกย่องนับถือ ขยายบารมีจนได้มีซึ่งจำนวนคะแนนเสียง อย่าลืมว่าคนที่ศรัทธาในพุทธศาสนา ไปวัดกันเฉลี่ยสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละ 4 ครั้ง ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะได้เข้าถึงความศรัทธาทั้งต่อศาสนาและพรรคการเมือง ผ่านการโน้มน้าวของบรรดาท่านเจ้าประคุณ

นี่ขนาดพระภิกษุยังไม่มีสิทธิทางการเมืองเลยนะเนี่ย….

 

https://ilaw.or.th/node/1057 

https://hilight.kapook.com/view/97424 

https://www.khaosod.co.th/politics/news_1670246

https://www.naewna.com/politic/369426

https://www.tcijthai.com/news/2016/09/watch/6407

https://prachatai.com/journal/2009/05/24205

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0