โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ขูดรีดไปมั้ย? ขึ้นทะเบียน “หมา-แมว” “ตั้งใจดี” แต่แก้ปัญหาจรจัดได้จริงหรือ?

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 14 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

ขูดรีดไปมั้ย? ขึ้นทะเบียนหมา-แมว” “ตั้งใจดีแต่แก้ปัญหาจรจัดได้จริงหรือ?

รุ่งเช้าวันที่ 10 ตุลาคม 2561 ได้มีประเด็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ว่าด้วยข่าวการเปิดไฟเขียวของ ครม. ให้ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ผ่าน ที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอออกมาเพียงร่างเดียวแต่สะเทือนทั้งสังคม 

ใจความหลักของร่างพ... และเงินที่เจ้าของต้องจ่าย 

ที่มาที่ไปที่ทำให้เกิดร่างพ.ร.บ. นี้เนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องหมาและแมวจรจัดสร้างความเดือดร้อนในสังคม ที่เกิดต่อเนื่องยาวนานนับปี โดยไม่มีการจัดการควบคุมทางทะเบียนต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง และเกิดปัญหาในพื้นที่สาธารณะที่ทำให้ประชาชนทั่วไปถูกทำร้ายและบาดเจ็บจากสัตว์จรจัด พ.ร.บ ฉบับที่ร่างขึ้นมานี้ จึงมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการควบคุมทะเบียนเพื่อเพิ่มความรับผิดชอบให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงรวมทั้งสิ้นตัวละ 450 บาท และบทลงโทษด้วยการเสียค่าปรับไม่เกิน 25,000 บาท

ความเป็นธรรมสำหรับคนเลี้ยงสัตว์

แม้ว่าเป็นเพียงร่างพ.ร.บ. เท่านั้น แต่ความเห็นในโลกโซเชียลก็รุนแรงทันที มุมมองของคนรักสัตว์ ต่างแสดงความเป็นห่วง รวมทั้งตื่นตัวเป็นอย่างมาก ถึงนี่จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่อาจช่วยลดจำนวนหมาแมวจรจัด และปัญหาความรุนแรงต่างๆ ในสัตวเลี้ยงได้ แต่เรื่องของภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายก็สร้างความกังวลไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำแต่ความเมตตาสูงที่แบกรับภาระเลี้ยงสัตว์จรจัดไว้จำนวนมาก หากพ.ร.บนี้เกิดเป็นกฎหมายจริงจะเกิดเป็นภาระที่ตามมาเพียบ 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสียค่าธรรมเนียม เงินนี้เสียครั้งเดียวตลอดชีวิตหรือรายปี ไหนจะเรื่องที่เจ้าของหมาแมวบางรายที่รับเลี้ยงหมาแมวจรจัดไว้นับสิบนับร้อยตัว เมื่อตีราคาเป็นเงินที่ต้องจ่ายแล้วก็มากโขอยู่  จึงเริ่มเข้าสู่การวิงวอนให้มีการพิจารณาการร่างพ.ร.บ. นี้อีกครั้ง  โดยมีความชัดเจน รัดกุม เป็นธรรมและเห็นใจคนรักสัตว์แต่รายได้ต่ำให้มากกว่านี้สักหน่อย

คำถามก็คือ มั่นใจได้อย่างไรว่าเมื่อพ.ร.บ. นี่ผ่านกลายเป็นกฎหมาย จะไม่ยิ่งเป็นการเพิ่มสัตว์จรจัดมากยิ่งขึ้น ค่าธรรมเนียมและการจัดการเช่นนี้รัดกุมและได้ผลจริงหรือ?

มุมมองของคนไม่มีเลี้ยงสัตว์

ในกลุ่มของคนที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงจำนวนมากต่างออกมาแสดงความเห็นด้วย และมองว่าผู้เลี้ยงสัตว์ก็ควรมีความรับผิดชอบต่อสัตว์ที่ตัวเองเลี้ยงให้มากกว่านี้ เพราะเวลาเกิดปัญหาขึ้นมาทีไรไม่ค่อยมีคนรับผิดชอบทุกที ไหนจะเรื่องของสัตว์จรจัดที่เกิดจากกรเลี้ยงทิ้งๆ ขว้างๆ มากมาย ที่สร้างปัญหาในสังคมนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการที่มีร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นมาตรการที่ช่วยควบคุมสัตว์จรจัดได้ และผู้ที่เป็นเจ้าของก็ไม่ควรโอดครวญใดๆ หากคิดจะเลี้ยงก็ต้องรับภาระนี้ให้ได้เช่นกัน 

คำถามก็คือ ถ้ากลุ่มคนรักสัตว์จริง ก็ต้องรับผิดชอบให้ได้ 

 อนาคตของวัดและสถานที่รองรับสัตว์จรจัด  

อีกช่องโหว่ของร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว ที่ประชาชนเห็นแต่รัฐอาจไม่เห็น จริงอยู่ที่ตามหลักการคนเลี้ยงสัตว์ควรมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง แต่ปัญหาที่สะสมมานานของสัตว์จรจัดที่เกิดจากการทิ้งขว้าง ของคนที่เลี้ยงไม่ไหว จึงนำไปปล่อยตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัด บ้านอุปถัมภ์พักพิงสัตว์จรจัดทั้งหลาย มูลนิธิต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งโรงพยาบาล หรือคลินิคขนาดเล็กที่คนเลี้ยงมักนำไปปล่อยเพราะคิดว่าจะมีคนใจดีช่วยเลี้ยงต่อ 

คำถามก็คือ หมาแมวร่วมสิบ ร่วมร้อยชีวิตเหล่านั้นใครต้องเป็นคนจ่าย? 

ต้นเหตุคือความจรจัด? แต่จัดการที่คนเลี้ยงสัตว์ 

หลังจากที่หลายคนตั้งสติได้กับประเด็นร้อนดังกล่าว และทบทวนอีกครั้งว่าใจความคือต้องการควบคุมหมาแมวจรจัด ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และแทบไม่มีการจัดการที่ได้ผลเป็นรูปเป็นร่างเกิดขึ้นเสียที ทั้งที่ปัญหาวิ่งเกลื่อนทุกสังคม ตรอก ซอก ซอย วัด และทุกหนแห่ง เหตุใดจึงเลือกจัดการสัตว์ที่เจ้าของก่อน แทนที่จะจัดการควบคุมปริมาณหมาแมวจรดจัดให้ลดลงและเห็นเป็นรูปเป็นร่างให้ได้ก่อน 

คำถามก็คือ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการค่าปรับและค่าธรรมเนียม? เหมือนกฎหมายอื่นๆ

สุดท้ายแล้วรัฐก็ให้ทบทวนใหม่เหมือนร่างพ..อื่นๆที่แล้วมา

ในเย็นวันเดียวกัน ทางพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นใจในเรื่องดังกล่าว พร้อมแสดงความเห็นในที่ประชุมได้ใจความว่า ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากลับไปพิจารณาความเหมาะสมของอัตราค่าธรรมเนียมและค่าปรับ โดยอาจงดเก็บค่าธรรมเนียมก็ได้เพื่อลดภาระของประชาชน แล้วนำเสนอครม. พิจารณาอีกครั้ง 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 207

  • S WP 26
    เอาเวลาไปจัดการเรื่องเศรษฐกิจของชาติดีกว่าไหม การทำแบบนี้ไม่ต่างกับบีบให้คนที่รับเลี้ยงสัตว์นำไปปล่อยให้มากขึ้นเพราะเหตุผลภาษีที่มันน่าจะไปทำอย่างอื่นหรือไปจัดการกฎหมายข้ออื่นดีกว่าไหม? คิดดูว่าถ้ากฎหมายนี้ผ่าน คนแห่เอาสัตว์ไปปล่อยเยอะขึ้นแน่นอน แถมวัดแถวๆบ้านนอกคงมีงบจ่ายค่าภาษีหรอกเนาะ! คดีพวก ฆ่าข่มขืน... ยาเสพย์ติด หาทางแก้พวกนี้ให้ได้ก่อนค่อยมายุ่งกับสัตว์นะคะ
    16 ต.ค. 2561 เวลา 17.00 น.
  • Jitti Vamaroop
    คำว่าหมาแมวจรจัดความหมายคำว่าจรจัดเป็นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งก็ไม่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมี่มีคนเลี้ยงมีที่พ้กพิงอาศัยอยู่ถาวรเช่นมีบ้านอยู่เจ้าของรับผิดชอบ...ตามตัวบทกฎหมายใช่หรือไม่ ถ้าใช่กฎหมายนี่ไม่เกี่ยวกับหมาบ้านแมวบ้านที่เลี้ยงแบบปิดคือไม่ปล่อยออกนอกบ้าน...
    16 ต.ค. 2561 เวลา 06.00 น.
  • suthep subongkot
    ถ้า 450 ยังไม่มีปัญญาจ่าย จะเลี้ยงรอดเหรอ
    15 ต.ค. 2561 เวลา 05.07 น.
  • เมื่อเช้าตื่นมาไม่รุ้หมาใครมาออกลูกที่บ้านจะ ให้ ทำ ไง ล่ะ ทีนี้
    15 ต.ค. 2561 เวลา 01.26 น.
  • วาริ สวัสดิ์อากร
    กูคนนึงที่ไม่เอาหมากูไปขึ้น เพราะเลี้ยงมาเป็นสิบตัว ไม่เคยสร้างปัญหาให้ใคร ไม่เคยปล่อยไปกัด ไปขี้เยี่ยว หน้าบ้านใคร ทำไมกูต้องเสียงเงินให้พวกมึง หาดงินขูดรีดก่ะประชาชน ตาดำๆ
    14 ต.ค. 2561 เวลา 19.10 น.
ดูทั้งหมด