โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รู้ได้ไงคนไหนจน? “สวัสดิการแห่งรัฐ” ตำภาษีละลายแม่น้ำ! คนจนไม่จริงดีใจเกลื่อนโซเชียล

Another View

เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

รู้ได้ไงคนไหนจน? “สวัสดิการแห่งรัฐตำภาษีละลายแม่น้ำ! คนจนไม่จริงดีใจเกลื่อนโซเชียล

เรียกได้ว่าตั้งแต่ดำเนินโครงการกันมาก็ยังฮือฮาไม่หยุด แรงไม่มีตกจริงๆ สำหรับ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"  ซึ่งล่าสุดนี้มีการมอบเงินให้ผู้ถือบัตรผ่านบัญชีรายละ 500 บาทแล้ว พร้อมกระแสตามมาเกลื่อนโซเชียล  พี่น้องประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ต่างโพสต์ภาพกันอย่างคึกครื้นว่าใครได้รับสิทธิ์ใครบ้างที่ไปกดเงินกันมาแล้ว แต่ที่ตำใจผู้เขียนและชาวเน็ตหลายๆ คน อยู่ในชั่วโมงนี้ น่าจะหนีไม่พ้นคุณพี่ท่านหนึ่งที่โชว์บัตรคนจนพร้อมธนบัตรใบละ 500 พร้อมแคปชั่น  “เราก็ได้สิทธิ์”  ในขณะที่ตัวเธอเองใส่ทองเต็มตัว

แถมไม่กี่วันมานี้ เจ้าตัวยังให้สัมภาษณ์นักข่าวว่า ตอนที่ทำเรื่องขอสิทธิ์คนจนนั้นข้นแค้นจริงๆนะ แต่บังเอิญ ณ ตอนนี้ได้สามีใหม่ที่พอช่วยเหลือได้ แถมยังตบท้ายว่าทอง 2 สลึงนี่ไม่ได้เรียกรวยอะไร “ทำไมคนจนจะรวยไม่ได้เหรอ”

ผู้เขียนไม่มองว่าเป็นความผิดของเจ้าตัวแต่อย่างใด เพราะถ้าภาครัฐปล่อยให้เขาขึ้นทะเบียนได้ นั่นแปลว่าเขาก็ทำตามที่กฎหมายเอื้ออำนวย แต่ส่วนที่ชวนให้สงสัยจริงๆ คือ ภาครัฐมีกฎเกณฑ์ยังไงกันแน่ในการคัดกรองว่าคนไหนเป็นผู้มีรายได้น้อย สมควรได้รับการช่วยเหลือ

แล้วในกรณีนี้ ที่ประชาชนคนดังกล่าวไม่ได้มีรายได้น้อยเหมือนแต่ก่อนแล้วก็ยังได้รับสิทธิ์อยู่ ถ้าต่อไปมีกรณีลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ก็ยังจะปล่อยให้เขาได้เงินใช่หรือไม่ หรือจะมีมาตรการแก้ไขอย่างไรบ้าง

 หลักเกณฑ์ลงทะเบียนรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐชัดเจนพอหรือไม่? 

1. ต้องมีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป คือต้องเกิดก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2542

  1. ต้องเป็นคนว่างงานหรือมีรายได้ในปี 2559 ไม่เกิน 1 แสนบาท

  2. ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีหรือมีทรัพย์สินทางการเงิน เช่น เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน พันธบัตร และตราสารหนี้ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1 แสนบาท

  3. ต้องไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายหรือถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าวต้องเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด คือ
       - กรณีที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
       - กรณีอยู่อย่างเดียวต้องเป็นบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์พื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
       - กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดิน เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือ การอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
       - กรณีที่ดิน หากเพื่อการเกษตรต้องมีไม่เกิน 10 ไร่ หรือ กรณีเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรต้องไม่เกิน 1 ไร่ 

พออ่านกันคร่าวๆ กวาดตาเร็วๆ จะพบว่าคนทีเข้าหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาก็ถือเป็นผู้มีรายได้น้อยนั่นแหละ แต่ก็อาจมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่ทำให้หาช่องโหว่ได้ เช่น คำว่า ว่างงานที่ระบุนั้น ฝั่งรัฐตีความยังไง หากจะดูจากรายรับรายจ่ายที่ผ่านธนาคาร บางคนที่มีอาชีพค้าปลีก หรือทำอาชีพรับจ้างแต่รับเป็นเงินสดตลอดแล้วไม่ได้ฝากธนาคาร ก็ย่อมจะหลุดเข้าเกณฑ์มาได้

นอกจากนี้หลายๆ คนที่มีรายได้แล้วรับเป็นเงินสด แต่ไม่ซื้อสลากออมสิน พันธบัตร ไม่ได้มีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เป็นชิ้นเป็นอัน แต่มีเงินกินเงินเที่ยวก็มีไม่ใช่น้อย รายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้ รัฐจะมาตามดูทุกกรณีคงเป็นไปไม่ได้

เงินช่วยเหลือเหล่านี้ช่างสุ่มเสี่ยงเหลือเกินที่จะไปตกในมือของคนที่ลำบากไม่จริง ซึ่งจุดนี้แหล่ะที่บีบใจคนจ่ายภาษีเป็นที่สุด เพราะเงินจำนวนเท่านี้มากพอที่จะนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในสังคม  ปรับปรุงสาธารณูปโภค หรือทำประโยชน์ที่เอื้อต่อส่วนรวมได้ 

กลายเป็นว่าเหมือนโปรยเงินให้คนที่ไม่มีวินัยเรื่องเงิน ไปเป็นค่าเหล้าให้กับคนบางกลุ่มที่ไม่สมควรจะได้แทนซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐควรจะหาทางแก้ไขให้ได้

ตอนทำเรื่องเขาจนจริงพอได้จริงไม่จนแล้ว

นอกจากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นช่องโหว่ของเงื่อนไขเองแล้ว ยังมีช่องว่างที่มาจากเจ้าตัวซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน กรณีพี่สาวใส่ทองถือว่าน่าสนใจมาก หากมีกรณีแบบนี้อีกที่เจ้าตัวเคยลำบาก มีรายได้น้อยจริงๆ ตามเกณฑ์เป๊ะๆ แต่พอถึงเวลาดันมาได้คู่ชีวิตที่มีฐานะ มีทองคำรูปพรรณใส่ ซึ่งก็ไม่ควรนับเป็นคนจนแล้ว แต่ยังไงเจ้าตัวก็ยังมีคุณสมบัติที่ตรงตามเกณฑ์คือรายได้น้อย เพราะรายได้ที่เพิ่มมายังเป็นของสามีอยู่ดี จึงรับเงินได้ไม่ผิด

มาแบบนี้อีกสัก 10 คน เท่ากับหายไปฟรีๆ 5,000 รัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร?

แบบนี้เรียกตำภาษีละลายแม่น้ำได้ไหมเท่าไหร่ถึงพอ

แม้ยอดเงินที่ทุ่มลงไปในโครงการสวัสดิการแห่งรัฐจะพุ่งไปถึงหลักแสนล้านแล้ว แต่ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าไม่มีทางพอ ไม่พอที่จะถมความต้องการของผู้มีรายได้น้อยได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน หรือจะเรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาก็ยังเรียกได้ไม่เต็มปากด้วยซ้ำ

อย่างกรณีแจกเงินคนละ 500 อาจจะฟังดูไม่มาก แต่ผู้มีสิทธิ์ได้เงินมีจำนวนเป็นหลักสิบล้านคนตีเป็นเงินกลม ๆ ก็เหยียบหมื่นล้าน สามารถสร้างเขื่อน สร้างถนนได้ถ้าอยู่เป็นก้อน แต่พอแยกไปอยู่ในมือประชาชนหลาย ๆ บ้านแล้วกลายเป็นจำนวนที่ทำอะไรไม่ได้เลย

แบบนี้ไม่เรียกตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแล้วจะเรียกอะไร ?

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1942270

https://www.sanook.com/news/3562714/

https://www.thairath.co.th/content/1442378

https://www.thairath.co.th/content/1442226

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 220

  • ข้าราชการเกษียณ ตอนทำงานสวัสดิการอื้อ พอไม่ทำงานรับเป็นหมื่น คิดเอาเดิอนละเท่าไร แตกต่างจาก สวัสดิการนั้กี่เท่า
    14 ม.ค. 2562 เวลา 22.03 น.
  • 💰1541 BovyBevo 5391💰
    หาอาชีพให้ทำดีกว่าค่ะ
    21 ธ.ค. 2561 เวลา 07.49 น.
  • กฤษฎา
    จะหาเสียง ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
    16 ธ.ค. 2561 เวลา 12.29 น.
  • Chayanont
    นี่ใงคือวลีเด็ดปี2018 พี่ตู่สายเป555
    15 ธ.ค. 2561 เวลา 13.53 น.
  • Patthanan789
    เห็นแถวบ้านขับรถฟอร์จูนเนอร์ อยู่บ้านเดี่ยวหมู่บ้านชื่อดัง ยังได้ทั้งผัวและเมีย คนจนจริงๆไม่ได้ บางบ้านได้สามสี่คน
    14 ธ.ค. 2561 เวลา 13.36 น.
ดูทั้งหมด