โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อย่ากังวลไปเลย รวม 7 วิธีรับมือกับ 'โรคแพนิค' แม้จะดูเป็นโรคที่อันตราย แต่สามารถรับมือได้!

SistaCafe

อัพเดต 23 เม.ย. 2563 เวลา 01.00 น. • เผยแพร่ 24 มี.ค. 2563 เวลา 11.21 น. • belfry

 

ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ COVID-19 ระบาด เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่ข่าวออกอะเนอะ ยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน เพิ่มขึ้น จนส่งผลให้ใครหลายๆ คนเกิดอาการตื่นตระหนกกับสิ่งที่มันกำลังเป็นอยู่ตอนนี้ หลายคนถึงขนาดเกิดภาวะ Panic กันยกใหญ่ อาจจะยังไม่เก็ทกันใช่มั้ยว่าโรคแพนิค (Panic Disoder) คืออะไร เดี๋ยววันนี้เราจะมาขยายความให้เพื่อนๆ ได้รู้กัน พร้อมกับแชร์7 วิธีรับมือกับโรคนี้ให้กับเพื่อนๆ ได้นำไปปรับใช้กันด้วย เผื่อว่าคุณอาจจะกำลังเป็นหรือมีคนใกล้ตัวเป็น จะได้รับมือกับภาวะที่เกิดขึ้นได้ เพราะงั้นไปอ่านกันเลยดีกว่าค่ะ ว่าโรคแพนิคที่ว่านี้ มันเป็นยังไง แล้วเราสามารถรับมือกับโรคๆ นี้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง ไปอ่านกันเลย!

โรคแพนิค (Panic Disoder) คืออะไร

เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันหน่อย โรคแพนิค (Panic Disoder) คือ าวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งโรคนี้จะแตกต่างจากอาการหวาดกลัวปกติทั่วๆ ไปนะ คือผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ จะเกิดอาการแพนิคหรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่ตัวเองอาจจะไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้รู้สึกกลัว ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แม้โรคนี้จะดูน่ากลัว แต่ก็ไม่ได้อันตรายมาก คือถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข

สาเหตุและอาการของโรคแพนิค

คราวนี้เรามาดูที่ สาเหตุของโรคแพนิค กันบ้าง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิคอาจเกิดจากปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสุขภาพจิตด้วย อย่างปัจจัยทางกายภาพ ผู้ป่วยโรคแพนิคอาจได้รับผลกระทบ ซึ่งประกอบด้วยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติของสมองและการได้รับสารเคมีต่างๆ ส่วนปัจจัยทางสุขภาพจิต อาจจะเกิดมาจากเหตุการณ์ร้ายแรง ที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นตัวการส่งผลให้เกิดโรคแพนิคได้ด้วยเช่นเดียวกันค่ะ

อาการของโรคแพนิคเป็นยังไง ไม่ใช่แค่ความวิตกหวาดกลัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญจะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างไม่มีสาเหตุ อาการจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน รวมทั้งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แพนิคเป็นอาการที่รุนแรงกว่าความรู้สึกเครียดทั่วไป  มักเกิดขึ้นเป็นเวลา 10 - 20 นาที บางรายอาจเกิดอาการแพนิคนานเป็นชั่วโมง โดยจะมีอาการดังนี้ ใจสั่น ใจเต้นแรง มือสั่นหรือตัวสั่น เหงื่อแตก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้ เป็นต้น

1. หากนี่เป็นอาการที่เกิดขึ้นครั้งแรก ควรไปพบแพทย์ทันที!

   สำหรับคนที่ลองสังเกตอาการของตัวเองแล้วรู้สึกว่าฉันมีอาการตามที่บอกมา แต่ไม่แน่ใจว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแพนิครึเปล่า เราแนะนำว่า ให้รีบไปพบแพทย์นะคะ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด สุดท้าย ถ้ามันเกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาจริงๆ เพื่อนๆ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีและถูกต้องต่อไป ไม่ต้องกลัวที่จะไปขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ เพราะอย่างน้อยๆ คำปรึกษาของคุณหมอ ก็ยังพอที่จะสามารถ ช่วยทำให้ความกังวลต่างๆ ที่เกิดขึ้นเบาบางลงได้และอย่าลืมติดตามผลการรักษาและรับประทานยาตามที่คุณหมอสั่งด้วยนะ ห้ามหยุดยาหรือลดขนาดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้อาการแพนิคนั้นกำเริบขึ้นมาได้อีก

2. ตั้งสติ อย่าเพิ่งคิดไปไกล

   แม้ความวิตก ความหวาดกลัวจะเกิดขึ้นได้ อย่างไม่มีสาเหตุ แต่บางครั้ง มันก็มีเหตุกระตุ้น ที่ทำให้อาการของเรามันกำเริบได้เช่นเดียวกัน สมมติว่าถ้าเพื่อนๆ รู้ว่าสถานการณ์แบบนี้ จะทำให้คุณอาการกำเริบได้ ก็ให้รีบพาตัวเองออกมาจากสถานการณ์แย่ๆ นั้นให้เร็วที่สุด! แต่ถ้าอยู่ๆ อาการแพนิคดันเกิดขึ้นกระทันหัด แบบไม่ทันตั้งตัว ให้พยายามตั้งสติ อย่าตกใจและอย่าคิดว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายหรือเสียชีวิต เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเครียดและเป็นมากขึ้น ให้เริ่มจากการนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ยาวๆ เหมือนเวลานั่งสมาธิ แล้วรอให้อาการสงบไปเอง อาการก็จะดีขึ้นภายใน 15 - 20 นาที หรือจะรับประทานยาที่แพทย์ให้ไว้สำหรับเวลามีอาการร่วมด้วยก็ได้ เท่านี้ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลแล้ว

3. ออกกำลังกาย

   การออกกำลัง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีไม่น้อย หลายๆ คนอาจจะคิดว่า เอ้า! ออกกำลังกาย มันจะไม่ยิ่งไปกระตุ้นให้ใจสั่นกว่าเดิมหรอ แบบนี้มันเสี่ยงนะ ใครจะไปกล้าทำ ใจเย็นๆ ก่อนนะ รู้มั้ยวว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้ระบบหัวใจและปอดทำงานได้อย่างสมดุลยิ่งขึ้น มีผลวิจัยออกมาว่า ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะเกิดอาการแพนิคและอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องน้อยลง ก็ไม่ต้องออกกำลังท่าพิศดารอะไรขนาดนั้น เอากิจกรรมที่เราถนัด ทำแล้วไม่เกินกำลังของตัวเราเอง อาจจะโยคะ วิ่ง เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาชนิดอื่นๆ แค่ให้ร่างกายมันได้ขยับเขยื้อนบ้าง เท่านี้ก็โอเคแล้ว

4. พักผ่อนให้เพียงพอ

   การนอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลตัวเองที่ดีมากๆ ก็อย่างที่รู้ๆ กันนั่นแหละ ผลดีของการพักผ่อนให้เพียงพอ มีเยอะมากๆ ซึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคแพนิค ก็ควรที่จะพักผ่อนให้เพียงพอและมีสุขลักษณะการนอนที่ดีด้วย เพราะการอดหลับอดนอนจะทำให้อาการกำเริบได้ง่าย แถมยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายๆ ด้านอีกด้วยนะ เพราะฉะนั้น การนอนหลับพักผ่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทั้งผู้ป่วยและทุกๆ คน ละเลยไม่ได้เลยนะ 

5. หาเหตุผลที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล

   ด้วยสาเหตุของโรคแพนิค อย่างที่เราบอกไปข้างต้น มันเกิดได้หลายสาเหตุ ฉะนั้นเพื่อนๆลองมองหาสาเหตุของตัวเองดูซิ ว่าทำไมเราถึงได้มีอาการวิตกกังวลรุนแรงแบบนี้เกิดขึ้นได้ เมื่อพบสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคุณรู้สึกว่า เราสามารถแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้นะ ก็อยากให้ลองพยายามแก้ไขปัญหานั่นๆ ดู แต่ถ้ารู้สึกว่า ไม่ไหวอะ แก้ยังไงก็แก้ไม่ได้ ให้คิดหาวิธีเตรียมตัวรับมือกับความกดดันที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตทั้งนี้ทั้งนั้นการได้ปรึกษาหรือระบายปัญหาต่างๆ กับคนที่ไว้ใจได้หรือจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีรับมือโรคแพนิคได้ดีเลยทีเดียว

6. ลดความกังวล ด้วยการเปลี่ยนจุดโฟกัส

   บางที พอเราจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำให้เรากังวลใจมากๆ อะ มันก็จะยิ่งทำให้เรารู้สึกแย่มากขึ้นๆ ไปอีก ทั้งกดดัน กลัว จิตตก อารมณ์แบบดิ่งมากๆ เลยใช่ป่ะ ฉะนั้น อีกหนึ่งวิธีที่เราว่าก็โอเคนะ เป็นวิธีที่จะช่วยลดความตื่นตระหนกและความวิตกกังวลได้ดีมากๆ เลยก็คือ การลดความกดดัน ด้วยการเปลี่ยนจุดโฟกัส ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปสู่เรื่องอื่นที่ดีต่อใจมากกว่า เราว่าทุกๆ คนมีเรื่องที่ตัวเองชอบและอยากทำกันอยู่แล้วแหละเนอะ เพราะงั้นเราก็แค่หันไปโฟกัสและลองทำสิ่งที่เราชอบมากขึ้น นอกจากจะช่วยทำให้เราแฮปปี้แล้ว ยังช่วยลดความกดดันที่เจออยู่ได้ด้วยนะคะ

7. กังวลเก่งนัก ก็ฝึกผ่อนคลายความเครียดซะเลยซิ!

   นอกจากวิธีการออกกำลังกาย อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรับมือกับโรคแพนิคได้ก็คือ การฝึกผ่อนคลายความเครียด อย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาในการฝึกอย่างน้อยครั้งละ 15 - 30 นาที ซึ่งก็มีวิธีให้เพื่อนๆ ได้เลือกฝึกหลายวิธีเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกทำสมาธิหรือเดินจงกรม การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย โดยอาจใช้การฟังเพลงช่วย การฝึกเล่นโยคะ ร่วมไปถึงการทำงานอดิเรกต่างๆ ที่ทำแล้วผ่อนคลายและมีความสุข (จะเชื่อมโยงกับวิธีที่ 6 นั่นเอง) ซึ่งวิธีการเหล่านี้ จะช่วยลดความวิกตกกังวลที่เกิดขึ้น ให้มันเบาบางลงได้ ยังไงก็ลองหยิบสักวิธี ไปทำตามกันดู เราเองก็หวังว่าวิธีเหล่านี้ จะช่วยให้เพื่อนๆ รู้สึกผ่อนคลายลงได้บ้างนะ

ก็เป็นวิธีดูแลตัวเองบวกกับรับมือกับโรคแพนิคง่ายๆ ที่ทุกๆ คนสามารถทำตามกันได้นะคะ จริงๆ อะ เราว่าควรไปพบคุณหมอ จะดีที่สุดเนอะ คุณหมอจะได้ให้คำแนะนำที่มันเป็นประโยชน์และตรงจุดกว่าด้วย อีกอย่างนึง ไม่ต้องกลัวว่าจะไปหาย เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หายดีขึ้นได้นะคะ แล้วก็ใครที่มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้ อยากให้เข้าใจเค้านิดนึง เพราะผู้ที่เป็นโรคแพนิคนั้นต้องการความเข้าใจจากคนรอบข้างเป็นอย่างมาก ฉะนั้นช่วยๆ กันดูแลเอาใจใส่คนที่เรารัก โอเคมั้ย
สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว บ๊ายบาย

ติดตามบทความใหม่ๆได้ที่ SistaCafe Facebook
SistaCafe เว็บไซต์รวบรวมบทความสำหรับผู้หญิง https://sistacafe.com
♥ ดาวน์โหลด App SistaCafe ฟรีได้แล้ววันนี้! ♥
iOS : AppStore
Android : PlayStore

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0