โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เช็กก่อน! เปิด 5 ปัจจัย ทำไมคนเราชอบแชร์ข่าวที่ไม่ชัวร์

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 31 ส.ค. 2563 เวลา 17.00 น. • J.PNP

 

ขอบคุณภาพจาก <a href=
https://www.freepik.com/">
ขอบคุณภาพจาก https://www.freepik.com/

ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาของโลกออนไลน์ การสื่อสารที่ไร้พรมแดน ที่มาพร้อมกับมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่ทางข้อมูล การรับข่าวสารต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ง่ายเพียงปลายนิ้ว แต่ในข่าวสารมากมายที่ได้รับ ก็มีข้อมูลผิด ๆ หรือข่าวปลอมอยู่จำนวนไม่น้อย

ถ้าจะเห็นได้ชัดมาก ๆ และทั่วโลกต่างก็ต้องอินกับเรื่องนี้จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือว่า โควิด-19 ทำให้เหล่าโซเชียลมีเดียเจ้าต่าง ๆ ต้องลบโพสต์กันจ้าละหวั่น 

ทำไมข้อมูลผิด ๆ ถึงแพร่กระจาย?

ต้องเล่าย้อนความไปก่อนว่า การเกิดขึ้นของข้อมูลผิด ๆ นั้นจะเกิดจากการมีสถานการณ์บางอย่างที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญ เมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ ๆ เกิดขึ้น ผู้คนก็ต้องการคำอธิบายต่อเหตุการณ์นั้นเพิ่มขึ้นไปด้วย จากการศึกษานั้นพบว่า มี 5 ปัจจัย

- ทัศนคติทางลบ

มีข้อสังเกตว่าคนเรานั้นมักจะสนใจข้อมูลในเชิงลบ ไม่ดี มากกว่า ข้อมูลเชิงบวก หรือดี ๆ มากกว่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เรียกได้ว่าข้อมูลลบ ๆ เนี่ยมันอยู่คู่มนุษยชาติเลยก็ว่าได้ เวลาที่มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น มักจะได้รับความสนใจมากกว่า เช่นคนสนใจโควิด-19 ก็เพราะว่ามันพรากชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการสำรวจด้วยว่าข้อมูลเชิงลบนั้นนอกจากคนจะสนใจมากกว่าแล้ว ผู้คนยังเชื่อมันมากกว่าข้อมูลเชิงบวกอีกด้วย

- การกระจายของความเสี่ยงของสังคม

ทัศนคติทางลบนั้นแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่า “คนชอบแชร์” เปรียบเสมือนเครือข่ายลูกโซ่ที่แชร์ต่อ ๆ ไปแบบเท่าทวีคูณ มีการจำลองสถานการณ์ โดยให้คนนั้นได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเป็นโทษของสิ่ง ๆ หนึ่ง การทดลองค้นพบว่าเมื่อผู้คนส่งต่อข้อมูลไปเรื่อย ๆ นั้น ข้อมูลจะถูกทำให้สั้นลง และจะเหลือแต่เรื่องในแง่ลบที่ยังถูกส่งต่อไปเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลเหล่านั้นมันสัมพันธ์กับความรู้สึกเครียด และรู้สึกว่าตัวเองโชคร้ายของผู้คนมากกว่า

- ความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์

ในช่วงวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นการเกิดโรคระบาดขึ้นบนโลก ผู้คนมักจะกลัวมาก ๆ และก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งเมื่อต้องรับมือกับเรื่องเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลผิด ๆ นั้นแพร่กระจายไปได้ไวขึ้น มีการศึกษาพบว่า ยิ่งเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อข้อมูลถูกส่งต่อก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น และเป็นไปในทางลบมากขึ้น รวมไปถึงความบิดเบี้ยวของข้อมูลชุดนั้นด้วย อารมณ์ประมาณว่ายิ่งดราม่าคนจะยิ่งส่งต่อ กรณีศึกษาที่ชัดเจนมาก ๆ ก็คือการใช้ทวิตเตอร์ส่งต่อเรื่องราวต่าง ๆ ในช่วงเวลาของโรคระบาดนั่นเอง

- ความไม่ชัดเจนของความคิดแบบวิทยาศาสตร์

เพื่อให้เกิดความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นเวลาเกิดวิกฤติใหญ่ต่าง ๆ คงจะหนีไม่พ้นการมีเรื่องเล่า ตำนาน หรือนวนิยาย เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แต่เราต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่กล่าวมาเหล่านั้นไม่ได้มีเพียงข้อเท็จจริง แต่มีการปรุงแต่งสีสันของเรื่องราวจากผู้บอกเล่า และอาจจะขัดแย้งกับข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งความไม่ชัดเจนตามไม่ทันของวิทยาศาสตร์ในเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น มันเลยทำให้คนอาจเชื่อข้อมูลผิด ๆ เพราะวิทยาศาสตร์นั้นกว่าพิสูจน์ออกมาได้ ต้องผ่านกระบวนการทั้งทดลองซ้ำ ๆ กว่าจะได้ข้อสรุป เลยใช้เวลานาน ในขณะที่วิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบในเรื่องใหม่ ๆ ก็มีตำนานเกิดขึ้นมากมายแล้วจึงเกิดเป็นข้อมูลให้คนเข้าใจผิด ๆ นั่นเอง

- ความกลัว และกระบวนการที่ตื้นเขิน

ถ้าข้อมูลผิด ๆ ถูกผลิตซ้ำ ๆ และพูดซ้ำ ๆ อย่างมั่นอกมั่นใจ มันจะสามารถโน้มน้าวใจของผู้คนได้มากกว่าข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเมื่อเราใช้เวลาน้อยมาก ๆ ในการที่รับข้อมูลต่าง ๆ เพียงแค่ปลายนิ้วข้อมูลนับร้อยพันก็ผ่านตาเราไปอย่างมากมาย เพราะความกลัวที่คนต่างต้องการที่จะป้องกันตัวเอง จึงเป็นโอกาสของข้อมูลผิด ๆ ที่จะเข้ามาถึงตัวผู้คนมากขึ้น 

ในช่วงเวลาของการระบาดของโรคต่าง ๆ นั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์มักจะคิดเสมอว่าตัวเองต้องสู้กับไวรัสถึง 2 ชนิด การรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ว่าการฝึกฝนตัวเองในการรับข้อมูลที่ดีก็เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ เช่นกัน เริ่มจากการตระหนักรู้ก่อนว่าข้อมูลทุกอย่างที่ได้รับมาไม่ใช่เรื่องจริง หรือเป็นข้อมูลที่ผิด ให้ตั้งการ์ดเหมือนเวลาที่เราเห็นคนไอหรือจามในช่วงที่โควิด-19 ระบาด เมื่อเห็นแล้วก็ตรวจสอบขั้นพื้นฐานก่อน หาที่มาของข้อมูล และน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อมูลเหล่านั้น ถ้าไม่มีเวลาตรวจสอบก็อย่าเพิ่งแชร์ต่อ

“รักษาชีวิตของตัวเอง ด้วยการไม่ส่งต่อข้อมูลผิดๆ”

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.psychologytoday.com/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0