หายนะและความตายคล้ายจะตามติดอัญมณีมากมายในประวัติศาสตร์ จากตำนานอัศวินโบราณที่ต่อสู้ในสงครามนองเลือด ไปจนถึงกษัตริย์และราชินีที่ทนทุกข์จากคำสาป หรือหญิงงามสูงศักดิ์ที่จบชีวิตตัวเองด้วยความทุกข์ กระทั่งบริษัทยิ่งใหญ่ที่ล้มละลายไม่เป็นท่า เรื่องราวที่รายล้อมอัญมณีมีค่า เหมือนว่าจะเปลี่ยนก้อนหินธรรมดาให้กลายเป็นของล้ำค่าในวงสังคม
“ฉันคิดว่าก้อนหินเหล่านี้สื่อถึงเราเพราะความลึกลับของมัน ที่มาซึ่งเปียมไปด้วยปริศนา ความโชคร้ายที่ติดตามมาสู่ผู้ครอบครอง เรื่องเหล่านี้สร้างความสนใจให้มนุษย์ไม่น้อยไปกว่าขนาดและความแวววาวของตัวอัญมณี”
Karen Bachmann นักออกแบบเครื่องประดับและผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณี จากมหาวิทยาลัย Pratt Institute ในสหรัฐฯ กล่าว
Bachmann ตั้งข้อสังเกตว่า ที่มาของบรรดาอัญมณีต้องสาป มักมีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการลักโขมย บางชิ้นถูกแกะออกจากรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ บางชิ้นถูกพรากจากเจ้าของโดยไม่เต็มใจ และถ้าจะมีอะไรเป็นข้อเตือนใจให้บรรดาเรื่องเศร้าที่ผ่านมา บางทีคุณอาจควรเริ่มซื้อหาอัญมณี ที่ไม่ได้มีที่มาจากการค้าของโจร
1. Hope Dimond
อัญมณีที่โด่งดังและดำมืดมากที่สุดในประวัติศาสตร์ มีจุดเริ่มต้นจาก Jean Baptiste Tavernier นักค้าอัญมณีชื่อดังชาวฝรั่งเศส ผู้ประกอบกิจการส่งออกอัญมณีมีค่ามากมายจากอินเดียไปยังราชสำนักในยุโรป Tavernier มักไม่เปิดเผยที่มาของอัญมณีของเขา ทำให้คาดเดาได้ว่าอัญมณีหลายชิ้น คงมีที่มาสีเทาไม่น่าพูดถึง หนึ่งในอัญมณีที่ทำเงินและชื่อเสียงให้ Tavernier มากที่สุด คือเพชรน้ำงามขนาด 115 กะรัต เรียกกันว่า Blue Diamond เขาขายเพชรเม็ดนี้ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
เพชรน้ำงามสีน้ำเงินเป็นที่รู้จักในราชสำนักว่า French Blue อยู่หลายปี กระทั่งเกิดการปฎิวัติในปี 1789 ตามมาด้วยการบุกคลังเครื่องเพชรหลวงครั้งใหญ่ในปี 1792 เชื่อกันว่า French Blue ถูกขายต่อให้พ่อค้าชาวอังกฤษ Daniel Eliason ซึ่งขายเพชรนี้ต่อให้พระเจ้าจอร์ชที่ 4 แห่งอังกฤษ หลังพระองค์เสียชีวิต เพชรที่ว่าถูกขายต่อไปให้นายธนาคารผู้มั่งคั่ง Henry Philip Hope
เพชรที่ว่าอยู่กับครอบครัว Hope เป็นเวลานานกระทั่งถูกเรียกด้วยชื่อใหม่ว่า Hope Dimond ในปี 1909 เพชรเม็ดนี้ถูกขายต่อให้เจ้าพ่ออัญมณีอีกราย นาย Pierre Cartier ผู้นำเพชรเม็ดงามข้ามน้ำข้ามทะเลไปขายให้ Evalyn Walsh McLean สาวสังคมผู้มั่งคั่งแห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. McLean ไม่ได้มีความสนใจในเพชรเม็ดนี้ตั้งแต่ต้น แต่หลังจากที่ Cartier เล่าเรื่องร้ายๆ ของอัญมณีให้ฟัง เธอก็เปลี่ยนใจ เป็นที่ถกเถียงกันว่าตำนานดำมืดของ Hope Diamond น่าจะถูกเต่งเติมเพิ่มสีโดยเจ้าพ่อค้าเพชรรายนี้ เพราะ McLean เชื่อว่าสิ่งของโชคร้ายจะนำโชคดีมาสู่ครอบครัว
แต่เธอคิดผิด… หลังครอบครองเพชรเม็ดนี้ได้ไม่นานเรื่องเศร้าก็มาถึง ลูกชายคนโตของเธอเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ สามีหนีไปกับชู้ พลาญเงินมรดกของครอบครัวจนแทบไม่มีเหลือ เขาเสียชีวิตในเวลาต่อมาเพราะโรคพิษสุราเรื้อรัง หนังสือพิมพ์ The Washington Post ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวล้มละลาย ตามมาด้วยการตายของลูกสาวคนเล็กที่ฆ่าตัวตายจากการใช้ยานอนหลับเกินขนาด Evalyn Walsh McLean เองก็เสียชีวิตหลังจากนั้นอีกไม่นาน และเพชรของเธอก็ถูกขายต่อเพื่อใช้หนี้ให้กับบริษัท
Harry Winston นักสะสมอัญมณีชาวอเมริกันซื้อเครื่องเพชรทั้งหมดของตระกูล McLean เขาตัดสินใจบริจาค Hope Diamond ต่อให้ พิพิธภัณฑ์ Smithsonian ปัจจุบันมีผู้คนมากมายเดินทางมาชมเพชรเม็ดงาม ไม่ใช่เพราะความสวยหรือประวัติศาสตร์ แต่เพราะคำสาปที่โด่งดังของอัญมณี
2. KOH-I-NOOR DIAMOND
KOH-I-NOOR DIAMOND เป็นคำในภาษาเปอร์เซียหมายถึง หุบเขาแห่งแสง (Mountain of Light) อัญมณีเม็ดนี้มีที่มาจากประเทศอินเดีย เชื่อกันว่ามันเคยถูกใช้เป็นดวงตาของรูปเคารพในศาสนาฮินดูมาก่อน จักรพรรดิชาห์ชะฮัน แห่งราชวงศ์โมกุล ผู้สร้างทัชมาฮาลเป็นหนึ่งในผู้ครอบครองอัญมณีนี้ กล่าวกันว่าพระองค์มีรับสั่งให้นำเพชรมาประดับบนบัลลังก์นกยูง หลังจากนั้นก็ถูกปฎิวัติและขังคุกตลอดชีวิตโดยลูกชาย เพชรที่ว่าเปลี่ยนมือไปมาในหมู่กษัตริย์ผู้มั่งมีในอินเดียและประเทศเพื่อนบ้านผ่านสงครามนองเลือดซึ่งเป็นที่มาของความโชคร้ายส่วนใหญ่ของใครก็ตามที่ได้ครอบครองเพชร ในปี 1849 หลังอังกฤษพิชิตอินเดียได้สำเร็จ เพชรเม็ดนี้ถูกส่งข้ามทวีปเพื่อมอบเป็นของขวัญให้ควีนวิกตอเรีย
ต่างจากอัญมณีต้องสาปเม็ดอื่น The Koh-I-Noor Diamond เชื่อกันว่ามอบโชคร้ายให้กับผู้สวมใส่ที่เป็นชายเท่านั้น จึงถูกส่งผ่านกันเฉพาะเชื้อพระวงศ์ฝ่ายหญิงในอังกฤษ โดยมักใช้ประดับมงกุฎของราชินี หรือพระมเหสี ปัจจุบันเพชรเม็ดนี้เป็นหนึ่งในส่วนประกอบมงกุฎของควีนเอลิซาเบธที่ 2
มีคำกล่าวในจารึกโบราณในภาษาฮินดูพูดถึง Koh-I-Noor Diamond ว่า
“บุรุษทุกคนที่ครอบครองเพชรเม็ดนี้จะเป็นผู้ครองโลก แต่จะได้รับรู้ความโชคร้ายทั้งหมดของโลกด้วยเช่นกัน มีเพียงพระเจ้าและสตรีที่สามารถสวมเพชรเม็ดนี้โดยไม่แปดเปื้อน”
3. DELHI PURPLE SAPPHIRE
แซฟไฟร์สีม่วงที่ความจริงคืออเมทิสต์ หินกึ่งมีค่าที่เชื่อกันว่าถูกโขมยมาจากวิหารในอินเดียโดยนายทหารอังกฤษ Colonel W. Ferris ในปี 1855 นายทหารคนนี้เจอโชคร้ายติดกันหลายอย่างจนในที่สุดก็เสียชีวิต ลูกชายของเขาไม่อยากเก็บสิ่งของต้องสาปไว้จึงส่งต่ออเมทิสต์ให้ John Heron-Allen นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เชื่อว่าคำสาปมีจริง
Heron-Allen อ้างว่า หลังรับช่วงต่ออเมทิสต์จากเพื่อนผู้โชคร้าย เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ก็ถาโถมมาจนเขาต้องเปลี่ยนใจ Heron-Allen ตัดสินใจกำจัดอัญมณีด้วยการโยนทิ้งในแม่น้ำ แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน อเมทิสต์ก็กลับมาหาเขาอีก มีนักค้าอัญมณีพบมันเข้า และนำมามอบคืนให้เพราะจำได้ว่าใครเป็นเจ้าของ
Heron-Allen ไม่มีทางเลือกนอกจากนำอเมทิสต์เก็บใส่กล่องมิดชิด นำไปฝากธานคารโดยไม่ให้ใครได้เห็นอีก ข้อตกลงของเขาระบุว่า ธนาคารจะรับฝากอเมทิสต์เม็ดนี้เป็นเวลา 33 ปี หลังจากเขาเสียชีวิต
อย่างไรก็ดีลูกสาวของเขารอเพียงแค่ 12 เดือนหลังการเสียชีวิตของบิดา ก่อนนำอเมทิสต์เจ้าปัญหา บริจาคให้พิพิธภัณฑ์ London Natural History Museum ในทันที
ปัจจุบันนี้คำสาปอเมทิสต์ หรือ แซฟไฟร์สีม่วง ยังเป็นเรื่องน่าสงสัย หลายคนคิดว่า Heron-Allen อาจแต่งเรื่องขึ้นเพื่อขายเรื่องสั้นที่เขาเขียนในปี 1921 - "The Purple Sapphire."
4. SANCY DIAMOND
เช่นเดียวกับเพชรต้องสาปเม็ดอื่นๆ เพชรสีเหลืองทรงหยดน้ำถูกโขมยมาจากอินเดีย โดยนายทหารชาวฝรั่งเศสที่ขายเพชรเม็ดนี้ให้กับพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ผู้สืบทอดบัลลังก์จากพระนางเอลิซาเบธที่ 1) เพชรเม็ดนี้ถูกขายต่อให้ฝรั่งเศสเมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ลี้ภัยการเมืองมาอาศัยพึ่งพิงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ขณะนั้นอังกฤษเกิดสงครามกลางเมืองในยุคของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์)
ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 Sancy diamond ถูกนำมาใข้เป็นเพชรยอดมงกุฎสำหรับการขึ้นครองราชย์ โดยนำมาเจียรนัยเป็ยรูปดอกลิลลี่ หรือเฟลอ-เดอ-ลี สัญลักษณ์ของราชวงศ์ฝรั่งเศส
หลังการปฎิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 มงกุฎของกษัตริย์และราชินีล้วนถูกทำลายเพื่อนำอัญมณีมีค่าไปขาย มงกุฎของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พบชะตากรรมที่ดีกว่า เพราะถูกงัดแค่อัญมณีไป แต่เก็บตัวมงกุฎเปล่าไว้แล้วใช้วิธีใส่แก้วเลียนแบบอัญมณีจริงเข้าไปแทนที่ Sancy diamon เป็นหนึ่งในอัญมณีที่ถูกงัดออกมาและสูญหายไปในระหว่างนั้น
เราไม่ทราบว่า Sancy diamon ไปอยู่กับใครบ้าง อย่างไรก็ดีเพชรเม็ดนี้ถูกคนพบในภายหลัง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ในฝรั่งเศส
5. THE BLACK PRINCE'S RUBY
ทับทิมเม็ดใหญ่บนมงกุฎอิมพีเรียลสเตตของอังกฤษ หรืออันที่จริงคือ สปิเนลสีแดง (Red Spinel) มีที่มาน่าสนใจเพราะเกี่ยวข้องกับความตายของกษัตริย์อังกฤษหลายพระองค์ ตามตำนานกล่าวว่า ทับทิมเม็ดนี้เคยเป็นของสุลต่านแห่งกรานาดา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศสเปน) โดยกษัตริย์เปโดรแห่งคาสตีล พบอัญมณีสีแดงเม็ดใหญ่อยู่ใกล้ร่างของสุลต่านที่เสียชีวิตหลังทำศึกพ่ายต่อพระองค์ หลังจากได้อัญมณีมา กษัตริย์แห่งคาสตีลถูกทรยศโดยน้องชายต่างมารดา และต้องหลบหนีไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ว่า The Black Prince (ฉายา The Black Prince - เจ้าชายสีดำ สันนิษฐานว่ามาจากเกราะของพระองค์ที่มีสีดำสนิท หรือการรบที่ดุดันและนโยบายที่โหดร้ายแต่ประชาชนในดินแดนที่พระองค์ยึดครองได้)
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดสามารถช่วยเหลือกษัตรเปโตรได้สำเร็จและได้รับอัญมณีสีแดงแทนคำขอบคุณ อย่างไรก็ดีเจ้าชายแห่งอังกฤษเสียชีวิตหลังจากนั้นอีก 9 ปี โดยไม่มีโอกาสได้ครองบัลลังก์ เชื่อกันว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ก็สวมอัญมณีชิ้นนี้ขณะออกรบและถูกสังหารในปี 1415 ตามมาด้วยกษัตริย์ริชาร์ดที่ 3 ซึ่งสวมอัญมณีชิ้นเดียวกันก่อนถูกปลิดชีพในยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ (1485)
ทับทิม (หรือสปิเนลสีแดง) ของเจ้าชายสีดำ ถูกนำมาใช้ประดับมงกุฎอิมพีเรียลสเตตของอังกฤษ ซึ่งเป็นมงกุฎสำหรับการขึ้นครองราชย์ มีความเชื่อว่าอัญมณีนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ในปี 1841 และเคยเกือบทำให้ Tower of London (สถานที่เก็บมงกุฎ) ถูกทิ้งระเบิดโดยฝ่ายเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
6. (แถมให้) แหวนหมั้นแบบไหนที่ทำให้เลิกรามากที่สุดในโลก?
หลายคนอาจคิดว่าอัญมณีต้องสาปมักเล่นงานแต่บุคคลยิ่งใหญ่ เคยมีการทำรีเสิร์จแบบออนไลน์ถามบุคคลทั่วไปว่าแหวนหมั้นลักษณะไหน ที่มักนำไปสู่การเลิกราของคู่แต่งงาน ผลปรากฎว่าแหวนเพชร ได้คะแนนนำหน้าอัญมณีอื่นๆ (อาจเป็นเพราะเพรชได้รับความนิยมที่สุดในการนำมาทำเป็นแหวนหมั้น) ส่วนรูปทรงของแหวนต้องสาป สรุปได้ว่า เป็นแหวนเพชรที่ตัดเป็นทรงสี่เหลี่ยม มีตัวเรือนทำจากทองคำขาว และมีเพชรเม็ดเล็กๆ เรียงประดับทั้งสองข้าง ใครที่มีแผนจะแต่งงาน อาจกระซิบบอกคุณผู้ชายให้หลีกเสียงแหวนเพชรลักษณ์นี้เพื่ออนาคตที่ดีของชีวิตสมรส (ถ้าคุณเชื่อนะ)
.
ติดตามบทความของเพจพื้นที่ให้เล่า ได้บน LINE TODAY ทุกวันเสาร์
.
อ้างอิง
ความเห็น 24
AI : somyot
BEST
ไม่เห็นพูดถึงเพชรซาอุฯเลย หรือว่ามันไม่ได้สร้างความชิปหายให้ผู้ได้ครอบครอง ...
03 เม.ย. 2563 เวลา 22.39 น.
..
BEST
บลูไดมอนด์ของซาอุฯที่คนไทยไปขโมยจากวังซาอุ แล้วตอนคืนเอาของปลอมไปคืนเขางามไส้ฉิบหาย จนเขาไม่ให้คนไทยเข้าไปทำงานไม่รู้เสียหายกี่แสนล้าน ตัวจริงที่อมของเขาไว้ป่านนี้เป็นงัยบ้างก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆหน้าด้านหน้าทนไม่ใช่ของตัวเองสุดแสนเลว ขอให้ฉิบหายแบบทุกข์ทรมานตลอดกาลไปเลย เสียชื่อคนไทยหมด ใครพอมีข้อมูลกันบ้างครับ ไปอยู่ร้านเพชรไหนเอ่ย
03 เม.ย. 2563 เวลา 23.39 น.
วัฒนา
BEST
อังกฤษยึดครองอินเดียนานที่สุดเป็นเวลา๓ร้อยกว่าปี
ส่วนใหญ่ก็ได้มาจากดินแดนแห่งนี้ คนอินเดียเขาตายไปไม่รู้เท่าไหร่ จากจำว่าผู้ดีอังกฤษ
04 เม.ย. 2563 เวลา 09.21 น.
Redstar503
บลู ไดมอนด์ (Blue Daimond) ละครับอันนี้คือที่สุดอาถรรพ์ เหมือนกันแต่เป็นยุคหลัง
คำว่าเพชรคืออัญมณีที่ล้ำค่า เป็นของที่สูง
มีบางประเทศเอามาใช้กับของต่ำ ซึ่งไม่น่าทำแบบนี้นั่นใช้กับขนที่ลับ ที่จริงมันไปเรียกชื่อนั้นเพี้ยนอย่างไม่น่าให้อภัย สื่อก้อเอามาใช้แบบไม่เคารพ ที่จริงมันต้องเรียกว่าขน (เพศ) ไม่ใช่เอาคำนั่นมาใช้กับของต่ำ
03 เม.ย. 2563 เวลา 23.06 น.
54@ฝันดี@45
เป็นกุสโลบายกันโจรกรรมมากกว่า
04 เม.ย. 2563 เวลา 00.28 น.
ดูทั้งหมด