โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

งานวิจัยชี้ ยิ่งกินดึกยิ่งเสี่ยงโรค!

Beartai.com

อัพเดต 10 ก.พ. 2562 เวลา 14.46 น. • เผยแพร่ 10 ก.พ. 2562 เวลา 14.46 น.
งานวิจัยชี้ ยิ่งกินดึกยิ่งเสี่ยงโรค!
งานวิจัยชี้ ยิ่งกินดึกยิ่งเสี่ยงโรค!

ประชาชนจำนวนมากในอเมริกามีภาวะ “Delayed lifestyle” คือภาวะที่กิจวัตรประจำวันช้ากว่าปกติ รับประทานอาหารช้า เข้านอนช้าขึ้นในแต่ละวัน และด้วยตารางชีวิตที่ช้ากว่าปกตินี้เองจะทำให้คุณรับประทานอาหารช้าลงไปอีกด้วย Nour Makarem นายแพทย์ทางด้านโรคหัวใจที่มหาวิทยาลัย Columbia กล่าว

เป็นที่รู้กันดีว่าเวลาในการรับประทานอาหารส่งผลกระทบต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัว ความดันเลือดที่สูงขึ้น และเบาหวาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น Makarem และทีมวิจัยจึงใช้ข้อมูลของชาว สเปน และลาตินจาก the Hispanic Community Health Study/Study of Latinos จำนวน 12,700 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-76 ปี (งานวิจัยชิ้นนี้เจาะจงไปที่ประชากรส่วนใหญ่ของอเมริกานั่นก็คือชาวสเปน และลาตินเท่านั้น Makarem เสริม)

จากงานวิจัยพบว่าคนที่รับประทานอาหารมากกว่า 30% หลังเวลา 6 โมงเย็นจะมีระดับ Fasting Blood Sugar (การตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังจากงดอาหาร 8 ชม.), ระดับอิซูลิน, HOMA-IR (ตัวตรวจจับการยับยั้งอิซูลิน) และความดันโลหิตที่สูงกว่าคนที่รับประทานอาหารก่อน 6 โมงเย็น นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานอาหารหลัง 6 โมงเย็นมีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานได้มากกว่าถึง 19% และ 70% ของผู้ที่มีภาวะนี้จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในอาสาสมัครกลุ่มเดิมมีโอกาสถึง 23% ที่จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง และที่สำคัญความเสี่ยงเหล่านี้พบได้มากในผู้หญิง

ในงานวิจัยนี้มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงระยะเวลาการรับประทานอาหารกับการทำให้เกิดโรค ไม่ได้มุ่งเน้นหาเหตุและผล ดังนั้น Makarem จึงได้บอกไว้ว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะอธิบายความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ เมื่อนาฬิกาชีวิตไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเรา เซลล์ในร่างกายเราส่วนมากทำงานกันเกือบจะ 24 ชม. ส่วนเล็กๆ ในสมองที่เรียกว่า suprachiasmatic เป็นตัวกำหนดเวลาหลักๆ ในร่างกาย และมันก็เป็นตัวกำหนดเวลาให้เซลล์ของเราด้วย ซึ่งสมองส่วนนี้ได้รับอิทธิพลมาจากแสงที่เราได้รับในแต่ละวัน เพื่อบอกให้เราตื่นนอน รับประทานอาหาร หรือเข้านอน แต่นอกจากแสงจะมีอิทธิพลต่อมันแล้ว การรับประทานอาหารก็ส่งผลกระทบกับการทำงานของมันเช่นเดียวกัน

เมื่อเรารับประทานอาหารผิดเวลา เช่นรับประทานอาหารมื้อดึก จะทำให้นาฬิการ่างกายเริ่มรวน ทำให้เกิดปัญหาในการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจเป็นต้น

มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนว่าการรับประทานอาหารดึกส่งผลให้ระบบการเผาผลาญแย่ลง แต่จำไว้ว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากการที่คุณไม่ได้รับประทานอาหารในเวลาที่เหมาะสมกับระบบของคุณเป็นประจำ ดังนั้นจึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพลดการรับประทานอาหารมื้อดึกกันเถอะ

อ้างอิง

แชร์โพสนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0