การเป็นคนเอเชียน ในอเมริกา ท่ามกลางช่วงไวรัสโควิด19 ระบาดนั้น
นอกจากจะกลัวติดโรคแล้ว
ขึ้นชื่อว่า อเมริกา ประเทศแห่งการคลั่งเชื้อชาติตัวเอง และรังเกียจกลุ่มคนที่ไม่ใช่ ‘คนขาว’ ซะขนาดนี้
เราก็เครียดเลยไปถึงว่า ถ้าต้องเข้าโรงพยาบาลจริงๆ ‘เขาจะปฎิเสธการรักษาของเรามั้ย’ เพียงเพราะเราไม่ใช่คนอเมริกัน?
เมืองลอส แองเจลิสที่เราอยู่นั้นช่างกว้างใหญ่ ชุดตรวจโควิด19 ก็มีไม่พอ ขนาดเพื่อนสนิทเราชาวอเมริกัน ที่มีอาการตามโรคนี้ทุกอย่าง ไปคลินิกขอตรวจ หมอยังบอกให้กลับไปพักผ่อนรักษาเองที่บ้านเลย เพราะชุดตรวจมีไม่พอ ต้องเก็บไว้ให้คนที่เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง
คิดภาพมาที่เรา ความหวังแทบริบหรี่ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีเหมือนถ้าเราอยู่ที่ไทย
แต่ลึกๆ แล้ว สิ่งที่เราผวามากกว่าการติดโรค – คือการโดนเหยียดเชื้อชาติ
ประเทศที่มีประธานาธิบดีเรียกไวรัสตัวนี้ว่า ‘Chinese Virus’ หรือไวรัสจีน –เพิ่มความเกลียดชัง ความแค้นเข้าไปอีก
ถึงเราอยู่เมืองลอสเองเจลิส เมืองที่ถือว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูงมาก
แต่มันก็ยังประหม่าอยู่ดี ว่าจะเผลอๆ เดินอยู่แล้วเจอแจ็กพอตโดนคนอี๋ใส่
เพราะเพื่อนคนจีนของเราที่นี่ เกิดและโตที่อเมริกา ก็ยังโดนทำร้ายมาแล้ว ‘แค่เพราะหน้าจีน’
เขาบอกว่า เวลาเห็นข่าว ก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว
วันนี้จะมาพูดถึงการ ‘เหยียดเชื้อชาติ’
ที่เรามักนึกถึงกันแค่ การพูดจาเหยียดชนชาติที่ไม่ใช่คนขาวด้วยภาษาที่หยาบคาย หรือการแกล้งและทำร้ายร่างกายให้เจ็บแสบ
มันมีอีก 4 พฤติกรรมอ้อมๆ ที่ก็สื่อได้ว่ามีนัยยะของความไม่เท่าเทียม การเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ หรือเหยียดกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งที่ไม่เหมือนตัวเอง ปนอยู่
- การทำให้มีค่าน้อยลง (Minimization)
คือการทำตัวมืดบอด บอกว่า ‘ปัญหานี้มันไม่มีอยู่จริง มันไม่ได้เป็นปัญหาของสังคมเราเลย’ หาว่าคนอื่นที่ชูประเด็นนี้ขึ้นมานั้น คิดมากเกินไป
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘ฉันไม่เชื่อ ว่าจะมีใครเหยียดผิวในเมืองฮอลลีวูด!’
‘เครียดเรื่องโรคระบาดก็หนักพอแล้ว ยังจะมาเครียดเรื่องโดนเหยียดนี่อีกทำไม!’
- การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization)
คือการเลือกที่จะไม่ใส่ใจปัญหานี้ และหาเหตุผลมาทำให้ตัวเองรู้สึกสบายใจ
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘ชีวิตมันก็เป็นแบบนี้แหละ’
‘ก็เป็นกรรมของเขาอ่ะเนอะ’
- การเบี่ยงเบนความสนใจ (Deflection)
ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ถึงหลักฐานความไม่เท่าเทียมและการเหยียดต่างๆ โดยเอาข้อเท็จจริงอื่นมาอ้าง
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘คนอเมริกันไม่ได้เหยียดผิวเลย เห็นไหม บารัค โอบาม่ายังเคยได้เป็นประธานาธิบดีเลย’ แล้วก็ทำเป็นหลับหูหลับตาถึงเรื่องปัญหาการเหยียดที่ยังมีอยู่ในประเทศนี้
- การอวดเก่งเรื่อง ‘การตกเป็นเหยื่อ’ (Competing Victimization)
คือการเล่าเรื่องวีรกรรมสุดเศร้าของเราให้อีกฝ่ายฟัง เพื่อหวังจะกลบความหนักใจของเขาด้วยความน่าสงสารของเรา
ตัวอย่างเช่น มีใครสักคนพูดถึงคนที่ถูกเหยียดว่า
‘โอ้ย ผมก็เคยโดนเหยียดหนักมากตอนเด็กๆ เพราะผมน่ะจน’ เพื่อละเลยความเศร้าจากการโดนเหยียดเชื้อชาติของอีกฝ่ายที่กำลังฟังอยู่
การโดน ‘กด’ ไว้ซึ่งความรู้สึกเจ็บปวดของมนุษย์สักคน มันระบมหัวใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ
บางครั้ง ‘การเหยียด’ มันก็มาในรูปแบบของการ ‘เมินเฉย’
และนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหลายอย่างที่ตามมา
เหมือนที่มาร์ธิน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักสิทธิมนุษยชนผิวสีเคยพูดไว้ว่า
‘โศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดนั้น ไม่ได้มาจากเสียงอันดังลั่นของคนชั่วทั้งหลายหรอก
แต่มาจากความเงียบเฉยของพวกคนดีทั้งหลายต่างหาก’
อ่านบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร
ความเห็น 29
n4
กูว่า สี่ข้อที่มึงยกมาน่ะคือ มึงคิดมากไปเอง
ลองเอาสี่ข้อมาใช้เองบ้าง
ทำไมต้องคิดในแง่ลบ ละวาง
เคยได้ยินมั้ย "เมื่อคุณคิด มันจึงมี"
12 เม.ย. 2563 เวลา 03.29 น.
nop 212101
ขยะต่างชาติ กลับแผ่นดินเกิดมาเหยียดคนในชาติว่ากูเด็กนอก....ไอ้🐃🐃🐃
11 เม.ย. 2563 เวลา 06.52 น.
LINDA
เป็นไงละไอ้ฝรั่งตาน้ำข้าว...สาวไทยนิชอบนักหนา....มันกะแค่ฝรั่งขี้นกดีีีีีๆๆนิเอง
09 เม.ย. 2563 เวลา 08.23 น.
Inter translation
ขอให้คิดกันดีๆนะครับ
เราล่ะ มองประเทศเพื่อนบ้านรอบๆของเราอย่างไร? ฝรั่งมันก็มองเราอย่างนั้นแหละ
ดังนั้น เราต้องแก้ไขตัวเราเองด้วยครับ
08 เม.ย. 2563 เวลา 15.37 น.
Poo: ARC Chantaburi
สหรัฐมันคือต้นแบบของพรรคการเมืองชั่วบางพรรคในประเทศไทยเลยนะ
08 เม.ย. 2563 เวลา 00.21 น.
ดูทั้งหมด