โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กิน ‘มังคุด’ ราชินีผลไม้ประจำบ้าน แล้วดียังไง

LINE TODAY

เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 10.55 น.

รู้หรือไม่..มังคุดคือราชินีแห่งผลไม้ เหตุที่ได้ขึ้นทำเนียบราชินีก็เพราะรสชาติที่ไม่เหมือนใคร และลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี เจ้ามังคุดก็เลยได้รับตำแหน่งราชินีไปครอบครอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าผลผลิตมังคุดออกสู่ท้องตลาดมากกว่าปีที่แล้วกว่า 140% ทำให้มังคุดล้นตลาดและราคาหน้าสวนตกลงไปอยู่ที่เพียงกิโลกรัมละ 7-8 บาท ทำให้เกษตรกรชาวสวนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ความนิยมในราชินีผลไม้ของประชาชนคนไทยจึงกลับมาอีกครั้ง เพื่อช่วยซับน้ำตาชาวสวนและเติมเต็มรสชาติความหวานของมังคุดที่ห่างหายกันไปนาน

ขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ คุณประโยชน์ก็ต้องไม่น้อยหน้าผลไม้อื่น ๆ อย่างแน่นอน เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีประโยชน์ทั้งต้นกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ราก ต้น ใบ ดอก ผลดิบ เปลือกต้น เปลือก ผล เนื้อใน ล้วนมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน

ส่วนที่เป็นรากช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติ รักษาโรคบิดมูกเลือด ส่วนลำต้น ใบ และดอก สามารถรักษาโรคบิดมูกเลือดได้ ส่วนเปลือกต้น ชะล้างบาดแผล รักษาแผล สำหรับผลดิบ ช่วยในการสมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด ส่วนเปลือกผล แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ท้องเสีย และที่สำคัญเนื้อที่หวานอร่อยยังช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายได้ด้วย

สรรพคุณที่แพร่หลายและเป็นข้อเท็จจริงที่สุดสำหรับมังคุดก็คือ ส่วนที่เป็นผลอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความสามารถช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น และสามารถรักษาแผล ลดอาการบาดเจ็บจากการอักเสบได้

ส่วนเปลือกนั้นกลับมีคุณประโยชน์ที่มากกว่า โดยหากใช้น้ำต้มกับเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียช่วยแก้ท้องเสียได้ และหากสกัดสารจากเปลือกมังคุดก็จะมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนอง

อย่างไรก็ตาม มังคุดจัดเป็นผลไม้ที่มีรสหวานและน้ำตาลสูง ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงการกินมังคุดอย่างเด็ดขาดบางตำราก็บอกว่ามังคุดมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน แต่ อย. ออกมาเตือนแล้วว่าดื่มน้ำมังคุดหวังรักษาโรคเป็นอันตราย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานและใช้ยาต้านมะเร็ง เพราะมีน้ำตาลผสมในปริมาณสูง อย่าหลงเชื่อโฆษณาว่าจะรักษาโรคได้ อย. ไม่เคยขึ้นทะเบียนน้ำมังคุดเป็นยา วิธีที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

สำหรับคนปกติที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ ก็ไม่ควรบริโภคมังคุดในปริมาณที่มากเกินไปเช่นกัน แม้จะไม่มีรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการถึงปัญหาของการบริโภคมังคุดมากเกินไป แต่ก็มีรายงานถึงผลข้างเคียงที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ผิวหนังบวมแดง ซึ่งแม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ทว่าการกินแต่พอดีให้เหมาะสมกับอายุและสุขภาพของผู้รับประทานก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดอยู่ดี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0