โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

โซเชียลคึกคักหนุนแฮชแท็ก ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังสภาเปิดรับความเห็นแก้กม.

TODAY

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 08.32 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 03.46 น. • workpointTODAY
โซเชียลคึกคักหนุนแฮชแท็ก ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังสภาเปิดรับความเห็นแก้กม.

โซเชียลไทยตื่นตัว หลังสภาเปิดรับฟังความเห็น แก้ไขร่างกฎหมาย เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม กลายเป็นเทรนด์นิยมในทวิตเตอร์ไทย ต่อเนื่องตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 ก.ค. หลังจากมีผู้เชิญชวนให้ชาวโซเชียลร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไข กฎหมายสมรส เพื่อให้บุคคลเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งมีการเสนอให้ปรับถ้อยคำจาก 'ชาย' 'หญิง' เป็น 'ผู้หมั้น' 'ผู้รับหมั้น' เปลี่ยนจากคำว่า 'สามี' 'ภรรยา' เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 'คู่สมรส' เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ

โดยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ เป็นผู้เสนอ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป บรรพ 5 ครอบครัวและบรรพ 6 มรดก

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ อาทิ

- ขอแก้ไขให้บุคคลทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

- เมื่อบุคคลหมั้นหรือสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเดิมกำหนดว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส

- ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา เปลี่ยนเป็นใช้คำว่า ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

- การแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส ขอแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว่า สามีและภรรยา เป็นคำว่า คู่สมรส

สำหรับประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย

- ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น 'เพศเดียวกัน' และ 'ต่างเพศ' สามารถทำการหมั้นกันได้หรือไม่

- ควรแก้ไขให้บุคคลไม่ว่าจะเป็น 'เพศเดียวกัน' หรือ 'ต่างเพศ' สามารถสมรสกันได้ ตามกฎหมายหรือไม่

- ควรแก้ไขอายุบุคคลที่จะทำการสมรสกันได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปหรือไม่

- ควรแก้ไขให้คู่สมรสทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและต่างเพศ มีสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธระหว่างกันเหมือนสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาหรือไม่

ผู้สนใจตอบแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่เว็บไซต์ : https://www.parliament.go.th/section77/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 51

  • payu..yj♥️
    สมควรให้มีตั้งนานแล้ว เพราะชีวิตของใครเขาๆก็เลือกของเขาเอง ไม่ควรจำกัดสิทธิ
    07 ก.ค. 2563 เวลา 05.00 น.
  • Vitoon
    ถ้าเราย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว สังคมไทยรังเกียจคนที่เป็นรักร่วมเพศ (homosexual) มาก คนไทยจะมองคนที่เป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ ว่าเป็นพวกวิปริตพวกบ้า แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว วงการจิตเวชก็ตัดคนที่เป็นรักร่วมเพศออกจากกลุ่มคนโรคจิตแล้ว เพราะเขาถือว่ามันเป็นเรื่องของรสนิยมทางเพศ ถ้าเราลองสังเกตุดูดีๆ จะเห็นว่าคนที่เป็นแบบนี้มีอยู่มากและมีอยู่ทั่วโลก ในหลายประเทศที่เจริญแล้วอนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้โดยถูกกฎหมาย ประเทศไทยก็มีปัญญาชนอยู่มาก เราควรหันมามองความเป็นจริงและอนุญาตได้แล้ว
    07 ก.ค. 2563 เวลา 05.24 น.
  • noom
    เร่งช่วยเหลือเรื่องอื่นที่เดือดร้อนของประชาชนก่อนดีกว่ามั้ง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเลย เป็นสส.ไร้คุณภาพจริงๆ😠😠😡😡
    07 ก.ค. 2563 เวลา 05.01 น.
  • สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เป็นเรื่องของปัจเจกชน ไม่ก้าวล่วงสิทธิ์ผู้อื่น ขณะเดียวกันก็อย่าล้ำเส้นสิทธิ์และเสรีภาพของบุคคลอื่น จะผิดธรรมชาติก็ส่วนของผิดธรรมชาติ จะอ้างเอ่ยสิทธิแล้วบังคับให้ผู้อื่นเห็นดีตามด้วย คงไม่ถูก กฏหมายมีไว้เพื่อผดุงความสงบสุขและเป็นธรรมต่อส่วนรวม ไม่ใช่ออกเพื่อประโยชน์ของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การเรียกร้องอะไรควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย
    07 ก.ค. 2563 เวลา 06.30 น.
  • Tua_Breeze
    สำหรับคนที่มีอคติในใจ หัวเก่าโบราณ ล้าสมัย หรือคนที่ไม่ยอมรับไม่เห็นด้วยไม่ว่าจะด้วยเหตุใด โปรดจงเข้าใจไว้ด้วยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนี้ไม่ได้มีการริดรอนสิทธิเสรีภาพของใครให้ต่ำลงหรือให้ใครมากกว่าใคร เจตนารมย์คือความเป็นบุคคลเหมือนกันต้องเท่า และเท่ากันทั้งกฎหมายไม่ใช่แค่ลมปากที่บอกว่ายอมรับกันในสังคม
    07 ก.ค. 2563 เวลา 06.04 น.
ดูทั้งหมด