โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักวิชาการ ชี้ประตูช้างเผือกไม่ใช่โบราณสถาน แต่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ เข้าใจให้ถูกต้อง

Khaosod

อัพเดต 26 ก.ย 2565 เวลา 04.32 น. • เผยแพร่ 26 ก.ย 2565 เวลา 02.59 น.
ประตูช้างเผือก1

นักวิชาการ ชี้ประตูช้างเผือกไม่ใช่โบราณสถาน แต่สร้างขึ้นมาใหม่ ประตูเมืองเชียงใหม่โบราณถูกทำลายไปหมดแล้ว ถ้าคิดจะบูรณะก็เสียงบเปล่า

เมื่อวันที่ 26 ก.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องกรณีดินบริเวณ กำแพงประตูช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พังทลายลงมาหลังฝนตกต่อเนื่อง โดยตัวกำแพงบางส่วนเสียหายด้วยนั้น

ล่าสุด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล อดีตอาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่ข้อคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ประตูช้างเผือกไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ ความดังนี้ ประตูช้างเผือกไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ที่เป็นทัศนอุจาดบนที่ดินโบราณสถาน (พังเสียได้ก็ดี)

สืบเนื่องฝนตกหนักเมื่อวานนี้ ทำให้ประตูช้างเผือก เมืองเชียงใหม่ พังทลายถล่มลงมา ท่ามกลางความตกใจและเสียดายของชาวเชียงใหม่ แต่ผมว่าโชคดีนะ พังทลายลงได้เสียก็ดี

เพราะจะได้รู้กันเสียทีว่า ประตูเมืองเหล่านี้เป็นสิ่งแปลกปลอม ก่อสร้างขึ้นใหม่ โดยการออกแบบอย่างน่าเกลียดน่าชัง เพราะมันไม่ใช่ลักษณะและแบบแผนของประตูเมืองที่เป็นสากล (ต่างชาติมาเห็นก็ตลก คิดว่าเมืองเชียงใหม่กระจอก ถึงได้เป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งนาน)

โดยข้อเท็จจริงประตูเมืองเชียงใหม่ที่เห็นในปัจจุบัน ล้วนเป็นสิ่งสร้างใหม่ทั้งสิ้น ทั้งนี้ เพราะประตูเมืองของเมืองโบราณเชียงใหม่ถูกไถทำลายไปหมดแล้ว (มีรูปประตูเมืองเก่าเหลืออยู่ 2 รูป คือประตูท่าแพ กับประตูช้างเผือก) รวมทั้งอิฐกำแพงเมืองเก่าก็ถูกประมูลขายอิฐ เพื่อให้บ้านเมืองกว้างขวางทันสมัยตั้งแต่สมัยกระทรวงธรรมการ

ต่อมา เทศบาลเมืองเชียงใหม่ (ในขณะนั้น) เมื่อราวแปดสิบปีที่ผ่านมา (สมัยนายทิม โชตนา เป็นนายกเทศมนตรี) ออกแบบและสร้างประตูขึ้นใหม่ 5 ประตู (โดยไม่มีพื้นฐานของหลักฐานเก่าเลย) ประตูช้างเผือกในอดีต

ทุกวันนี้คนเชียงใหม่ลืมหมดแล้ว คิดว่าประตูที่เห็นคือประตูช้างเผือก สวนดอก เชียงใหม่ และสวนปุง เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของเมือง ยกเว้นประตูท่าแพในปัจจุบันนั้น นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผวจ.เชียงใหม่ รื้อประตูที่เทศบาลสร้างใหม่ ออกและขออนุญาตกรมศิลปากรสร้างใหม่ตามรูปแบบภาพเก่าขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529

ดังนั้น ขอชาวเชียงใหม่เข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า ประตูช้างเผือกที่พังทลาย ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่ รวมทั้งสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ถ้าคิดจะบูรณะประตูช้างเผือกตามแบบเก่า ก็เสียงบประมาณแผ่นดินเปล่า เพราะไม่ใช่โบราณสถาน

ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กทม. มีภาพเก่าของประตูช้างเผือกอยู่ คงเป็นโอกาสอันดีที่กรมศิลปากรจะได้ร่วมมือกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับประตูท่าแพที่ได้สร้างใหม่ตามภาพถ่ายเก่ามาแล้ว

อีกสองสามวันพายุใหญ่จะเข้าเชียงใหม่ ฝนคงตกหนัก เพี้ยง!! ภาวนาว่าขอให้ประตูเมืองอุจาดสร้างใหม่ที่เหลืออยู่อีก 3 ประตู พังทลายลงให้หมด เสียได้ก็ดีครับ

ต่อมา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ยังเผยแพร่ภาพถ่ายเก่าของประตูช้างเผือกหรือประตูหัวเวียง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะต้นแบบของการบูรณะประตูหัวเวียงหรือประตูช้างเผือก เชียงใหม่ที่ถูกต้อง เหมาะสม

ข้อเขียนข้างต้น มีผู้แชร์ต่อเป็นจำนวนมาก รวมถึงคนในวงการโบราณคดีไทย และอดีตข้าราชการระดับสูงของกรมศิลปากร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0