โลกโซเชียลอวดภาพ #รุ้งกินน้ำ หลังฝนกระหน่ำ กทม.
ช่วงเย็นที่ผ่านมา (18 สิงหาคม) หลายพื้นที่ของกรุงเทพฯเกิดฝนกระหน่ำ ทว่า ทันทีที่ฝนซา ฟ้ายังมีแดด “รุ้งกินน้ำ” ก็ปรากฏขึ้น
คนจำนวนไม่น้อยเก็บภาพความสวยงามของ รุ้งกินน้ำ ไม่ว่าจะเป็น รุ้งคู่ หรือ รุ้งกินน้ำครึ่งวงกลม พร้อมติดแฮชแท็ก #รุ้งกินน้ำ เผยให้เห็นความงามจากหลากหลายมุม
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ เคยอธิบายทางคอลัมน์ Cloud Lovers ของ มติชน เรื่อง รุ้งต่ำ รุ้งสูง & รุ้งเต็มวง บางช่วงบางตอนว่า รุ้งที่เราเห็นบ่อยๆ มี 2 เส้น เส้นที่ชัดกว่าคือ รุ้งปฐมภูมิ (a primary rainbow) มีสีแดงอยู่ด้านบน ส่วนเส้นที่จางกว่าคือ รุ้งทุติยภูมิ (a secondary rainbow) มีสีแดงอยู่ด้านล่าง ลำดับสีจำง่ายๆ ว่า “รุ้งสองตัวหันสีแดงเข้าหากัน” ทั้งนี้ ฝรั่งมองรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิเป็นรุ้งชุดเดียว เรียกว่า a double rainbow แปลว่า รุ้งคู่
รุ้งคู่เกิดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ โดยดวงอาทิตย์ต้องอยู่สูงพอเหมาะ คำถามก็คือ ที่ว่า “สูงพอเหมาะ” นี่แค่ไหนกัน?
ก่อนตอบคำถามนี้ ต้องรู้ก่อนว่าจริงๆ แล้วทั้งรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิต่างก็เป็นวงกลม มีจุดศูนย์กลางอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ (เรียกว่าจุด antisolar point) โดยรุ้งปฐมภูมิและรุ้งทุติยภูมิมีขนาดรัศมี 42 และ 51 องศา ตามลำดับ
ดังนั้น อาจจำง่ายๆ ว่าตรงข้ามกันเสมอ
อาจจำง่ายๆ ว่าการที่เราเห็นรุ้งไม่เต็มวงเป็นเพราะขอบฟ้าบังส่วนล่างของรุ้งเอาไว้ (เป็นแค่เทคนิคการจำเท่านั้น เพราะไม่ถูกเป๊ะตามหลักทางทัศนศาสตร์) ดังนั้น ถ้าอยากเห็นรุ้งเต็มวง (a full-circle rainbow) จึงต้องขึ้นที่สูง
รวมภาพ #รุ้งกินน้ำ หลังพายุฝนซา ฟ้าย่อมงดงาม
18 สิงหาคม 2565 pic.twitter.com/pOyqRJ0Nnu
— FM91 Trafficpro (@fm91trafficpro) August 18, 2022
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเห็น 7
จะได้คนดีมาบริหาร ในไม่ช้า
18 ส.ค. 2565 เวลา 15.01 น.
liquid paper
สวยงาม
18 ส.ค. 2565 เวลา 13.15 น.
min_min
ฟ้าหลังฝน ประชาชนหลังกลียุคตูบตูบ แลนด์สไลด์มาแน่
19 ส.ค. 2565 เวลา 03.55 น.
Benz
สนุกสนานกันใหญ่
18 ส.ค. 2565 เวลา 15.07 น.
Janyong
เห็นไปทั่วคนดีๆทั้งนั้น
19 ส.ค. 2565 เวลา 00.00 น.
ดูทั้งหมด