โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ศิริราช แนะวิธีสังเกตก่อนป่วยแบบ"น้ำตาล""วัณโรคหลังโพรงจมูก"ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ

NATIONTV

เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 03.35 น. • Nation TV
ศิริราช แนะวิธีสังเกตก่อนป่วยแบบน้ำตาลวัณโรคหลังโพรงจมูกผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ
ศิริราช แนะวิธีสังเกตก่อนป่วยแบบน้ำตาลวัณโรคหลังโพรงจมูกผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ

คณะแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราช มีข้อแนะนำสำหรับประชาชนจากกรณีของนางสาว น้ำตาล - บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือน้ำตาล เดอะสตาร์ วันนี้ (26 มิ.ย.62) หลังตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูก ของนางสาวน้ำตาล - บุตรศรัณย์ ทองชิว ซึ่งผลปรากฏว่าแพทย์วินิจฉัยว่ามีเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก

สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของนางสาวน้ำตาล - บุตรศรัณย์ ทองชิว เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 นั้น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปดูบริเวณหลังโพรงจมูก และพบบริเวณเยื่อบุหลังโพรงจมูกมีสีผิดปกติไปจากปกติ ขนาดประมาณ 0.5 1 ซม. จึงตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาหาสาเหตุการเสียชีวิต ระหว่างตัดชิ้นเนื้อพบมีเลือดไหลออกมา  หลังจากย้อมชิ้นเนื้อ พบว่าเข้าได้กับ     วัณโรคแต่ไม่พบเชื้อ  คณะ ฯ จึงได้ทำการตรวจอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) คือ การตรวจหา DNA ของเชื้อวัณโรค ได้ผลเป็นบวก (positive)  ผลการตรวจ PCR ดังกล่าว และผลการตรวจชิ้นเนื้อจึงบ่งชี้ว่ามีเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งในกรณีนี้มีโอกาสติดต่อกันได้น้อย

จากสถิติของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบคนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 80,000 คน จากประชากร  69 ล้านคน โดยร้อยละ 83 จะตรวจพบที่ปอด  ร้อยละ 17 ตรวจพบนอกปอด  สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด อีกทั้งวัณโรคสามารถเป็นได้ตามอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย สำหรับ     วัณโรคหลังโพรงจมูกรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่า ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก  การวินิจฉัยวัณโรคหลังโพรงจมูกจึงมักได้จากการตรวจ     ชิ้นเนื้อที่ก้อนหรือต่อมน้ำเหลือง

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนจากกรณีของนางสาว น้ำตาล - บุตรศรัณย์ ทองชิว

1. อุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังไม่ลดลง สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอวัยวะ

2. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี  หากพบสิ่งผิดปกติใด ๆ จำต้องสืบค้นจนพบสาเหตุของความผิดปกตินั้น

3. แม้การตรวจร่างกายจะปกติ แต่หากมีอาการผิดปกติระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ    เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ คลำได้ก้อนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 19

  • ต.
    มันจะเจ็บเหมือนเป็นสิวในจมูกป่ะ แบบเจ็บ
    26 มิ.ย. 2562 เวลา 13.51 น.
  • Golf
    เนี่ยหรอแนะนำ เค้ารู้อยู่แล้วป่ะวะ แล้วถ้าเปนในโพรงจมูกคือ กุจะคลำยังไง
    26 มิ.ย. 2562 เวลา 11.56 น.
  • 😺JIBB❤️19😸
    สิทธิ์ประกันสังคมเดี๋ยวนี้ ดีกว่าคนไข้อนาถาหน่อยนึง แต่หักเงินเดือนนะ นี่ก็กำลังจะหักเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ตามกฏหมายใหม่ใช่หรือไม่
    26 มิ.ย. 2562 เวลา 06.45 น.
  • วินเท็ค
    เคยไปตรวจนะคลีนิคผมใช้สิทธิบัตรทองนึกว่าจะดี บอกความดันสูงแล้ว160ให้แค่ยาแก้อาเจียนกับพารามากิน3วัน.บอกถ้าอยากตรวจละเอียดแนะนำคอร์สตรวจเลือดมี2ราคา1600กับ3500เวร..ไปรพ.คิดแค่450กับ1400รพ.บอกถ้าไม่มีใบส่งตัวจากคลีนิคต้องเสียตังค์ครับ..ใครอย่าเผื่อเอาชื่อไปฝากไว้ที่คลีนิคละ
    26 มิ.ย. 2562 เวลา 06.39 น.
  • ℂ. 𝕊𝕠𝕞𝕔𝕙𝕒𝕚
    ไม่ว่าจ่ายค่ารักษาแพงหรือถูก จะเอกชนหรือรัฐ หมอก็ตรวจแบบผ่าน ๆไป ความเป็นหมอหาแทบไม่มี การวินิจฉัยแทบไม่เห็นเลยในปัจจุบัน แต่ที่เห็นแน่ ๆ ค่าแพทย์ ×,×××
    26 มิ.ย. 2562 เวลา 06.30 น.
ดูทั้งหมด