โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ประชุมอาเซียนคึกคัก-เฉ่งซูจีปัญหาโรฮีนจา

ไทยรัฐออนไลน์ - Oversea

เผยแพร่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 06.20 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานบรรยากาศการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 33 ที่สิงคโปร์ รวมชาติหุ้นส่วนเจรจาอย่างสหรัฐฯ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย มุ่งเน้นการหารือครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคงและการค้า โดยเมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ประชุมได้หารือในประเด็นความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และพยายามหาหนทางสรุปให้ลงตัวเรื่องข้อตกลง “แนวทางปฏิบัติร่วม” ต่อปัญหาทะเลจีนใต้

เช่นเดียวกับการหารือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรืออาร์เซป ที่ถูกมองว่าเป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งจีนเป็นผู้ผลักดัน และอยากได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่ากรอบเวลาได้ถูกเลื่อนไปเจรจาต่อในปี 2562 แทน เนื่องจากชาติร่วมเจรจาอย่างอินเดีย กังวลเรื่องการให้ทุนจีนเข้าถึงตลาดภายในประเทศได้มากขึ้น ทั้งยังมีประเด็นที่ติดขัดอื่นๆอีก เช่น การคุ้มครองธรรมชาติ ภาษีการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา และระบบธุรกรรมทางการเงิน

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ นางอองซาน ซูจี ผู้นำโดยพฤตินัยของเมียนมา ยังตกเป็นเป้าโจมตีกรณีการรับมือปัญหาผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮีนจาในรัฐยะไข่ จาก ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่มองว่าเป็นการกดขี่ ฆ่าหมู่ ยุคนี้ไม่มีใครทำแล้ว และนายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ถามหาความคืบหน้าเรื่องการจัดการหาตัวผู้รับผิดชอบ ซึ่งนางซูจีตอบโต้นายเพนซ์ว่า ควรแลกเปลี่ยนมุมมองกันและกันเพื่อสร้างความเข้าใจ เมียนมาเข้าใจประเทศตัวเองดี เหมือนกับที่สหรัฐฯเข้าใจประเทศตัวเองมากกว่าชาติอื่น

นอกจากนี้ นายจอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาความมั่นคงสหรัฐฯ ชี้แจงว่าสาเหตุที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่เข้าร่วมการประชุมอาเซียน เนื่องจากตารางเวลาไม่ลงตัว มีทั้งงานรำลึกสงครามโลก และต้องเตรียมตัวประชุมจี 20 ที่อาร์เจนตินา 29 พ.ย. มิใช่ว่าให้ความสำคัญน้อยลงแก่ภูมิภาคนี้

วันเดียวกัน นายทรัมป์กล่าวโจมตีนายเอ็ม-มานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่วิจารณ์เรื่องการปลุกชาตินิยม กระทบนโยบายอเมริกามาก่อนของสหรัฐฯ ว่าไม่มีใครเป็นชาตินิยมไปกว่าฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง พร้อมแขวะเรื่องฝรั่งเศสเกือบแพ้สงครามโลกแก่เยอรมนี ส่วนศาลวอชิงตัน ดี.ซี. สั่งรัฐบาลสหรัฐฯส่งตัวแทนรับฟังการพิจารณาคดีในวันที่ 14 พ.ย. กรณีสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นฟ้องรัฐบาลทรัมป์ ต่อเหตุการณ์สั่งห้ามผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นทำข่าวในทำเนียบขาว ซึ่งถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดเสรีภาพสื่อมวลชน.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 18

  • Thunderteach
    ถุกต้องครับเมียนมาร์เข้าใจ ปท.ตนเองดี เหนด้วยกับซุจี และขอถามมหะเด ตอนเกิดวิกฤตทำไมไม่รับผุ้อพยพไว้ในมาเลย์ให้หมด เพราะบอกเสมอว่าเรือนร่างเดียวกัน ไอ้พวกดีแต่ปาก แต่ไม่เคยช่วยเหลือ แม้แต่บลังคลาเดจซึ่งเปนรากเหง้าเดียวกันก้อไม่ค่อยจะรับ เพราะอะไรมันต้องมีเหตุผลสิ มหาอำนาจก้อชี้นิ้วให้คนอืานช่วย ตัวเองม๊าย
    16 พ.ย. 2561 เวลา 02.26 น.
  • Arm Lippakorn
    แนะนำ มาเลย์กับสหรัฐ นำชาว "บังคลาเทศ" กลุ่มนี้ ไปเลี้ยงดูแทน "พม่า" ที่ถูกอังกฤษกวาดต้อนเข้ามาใช้แรงงานช่วงยุคล่าอาณานิคม (เจ้าของประเทศในปัจจุบันไม่ได้เอาเข้ามา แต่ผู้เอาเข้ามาคือเจ้าอาณานิคม)
    16 พ.ย. 2561 เวลา 02.30 น.
  • กลับกัน ความรุนแรงจากอิสราเอลมักโดนปกป้องบนดินแดนอาหรับ .....สถานภาพที่แตกต่างเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติ
    16 พ.ย. 2561 เวลา 02.25 น.
  • PIKKY
    มันเป็นเรื่องเซนซิทีฟนะเว่ย ปัญหาโรฮิงจาอ่ะ จะบังคับพม่ารับไว้ พม่าก็คิดหนักนะ เข้าใจอองซาน
    16 พ.ย. 2561 เวลา 02.40 น.
  • AOM 689
    ไม่ใช่ปัญหาผู้อพยพ แต่เป็นปัญหาการจัดการกลุ่มคนในประเทศไม่มีวิธีที่ดีกว่าฆ่าหมู่แล้วเหรอ เพราะวิธีนี้ปัญหามันเลยเป็นแบบที่เห็น
    16 พ.ย. 2561 เวลา 02.31 น.
ดูทั้งหมด