โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"ฆ่าตัวตาย" ห้ามไม่ได้แต่ป้องกันและรับมือได้ - ลัดเลาะรอบโลก

LINE TODAY

เผยแพร่ 21 พ.ค. 2565 เวลา 17.00 น. • Pannaput J.

ในทุก ๆ 40 วินาที จะมีคนฆ่าตัวตายหนึ่งคน…

และในหนึ่งปีจะมีคนฆ่าตัวตายประมาณ 8 แสนคน…

ตอนนี้มียอดผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากกว่าการถูกฆาตกรรมหรือสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตติดอันดับที่ 13 ของโลกเลยทีเดียว และยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนในช่วงวัย 15-29 ปี

นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ในปี 2003 มีการจัดงานวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกที่จัดขึ้นในทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปี โดยมีจุดประสงค์ของการตั้งวันนี้ขึ้นมาก็คือการเพิ่มความตระหนักของสังคมโลกในเรื่องของการฆ่าตัวตาย ว่าสามารถป้องกันได้ และในแต่ละครั้งของการจัดงานวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกนั้นจะมีธีมประจำปีด้วย ไม่ว่าจะเป็น “ฆ่าตัวตายป้องกันได้” (2003) “รักษาการมีชีวิต ฟื้นฟูความหวัง” (2004) “การป้องกันการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องของทุกคน” (2005) หรือล่าสุดก็คือ “ร่วมมือกันในการป้องกันการฆ่าตัวตาย (2018) ฯลฯ

จากสถิติโดยองค์กรอนามัยโลก พบว่าประเทศ “เกาหลีใต้” และ “ญี่ปุ่น” เป็นประเทศในเอเชียที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก #ลัดเลาะรอบโลก เลยขอตามไปดูว่าเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร เพื่อที่จะได้นำมาเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศไทยที่ตอนนี้ก็เริ่มมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ควรเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

เกาหลีใต้

สำหรับประเทศเกาหลีใต้นั้นถือเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แต่มีอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยรุ่นที่อยู่ในภาวะเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวล เพราะว่าในประเทศเกาหลีใต้นั้นมีการแข่งขันในการศึกษาสูงมาก จึงทำให้เกิดหลักสูตร YHP SOUTH KOREA – safeTALK หรือ Young Help Program ขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพของความสุขด้านอารมณ์ของวัยรุ่นเกาหลีใต้ขึ้น พัฒนาสังคมให้เคารพในชีวิต รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของสังคม และความตระหนักของการฆ่าตัวตาย ว่าเป็นเรื่องการป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยในโปรแกรมนี้ก็จะฝึกให้วัยรุ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาวะทางจิตใจ และก็ช่วยสนับสนุนกันและกัน นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำงานควบคู่กับรัฐบาลของเกาหลีใต้ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในประเทศ

หลักสูตรนี้ก็จะมี 4 ขั้นตอน คือ การพูดคุย การถาม การฟัง และการรักษาความปลอดภัย โดยในคลาสก็จะมีวิดีโอ เล่นบทบาทสมมติ การสร้างบทสนทนา เพื่อที่จะฝึกให้วัยรุ่นมีส่วนร่วมกับคนในรอบตัว รวมไปถึงการรับมือหากมีเหตุการณ์เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น โดยหวังว่าผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้ไปจะสามารถกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันการฆ่าตัวตายได้ โดยความสำเร็จของหลักสูตรนี้ก็คือมีวัยรุ่นกว่า 8 หมื่นคนที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางอารมณ์ และการฆ่าตัวตาย และเกือบ 2 พันคนที่ได้กลายเป็นผู้ให้ความรู้ และคุณครูกว่า 7 ร้อยคนก็ได้เรียนรู้ในการรับมือกับเด็กนักเรียนที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังมีพ่อแม่ ครูอาจารย์ นักการเมือง รวมไปถึงผู้นำชุมชนต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมในหลักสูตรนี้ อีกทั้งยังได้รับความสนใจจากสื่ออีกด้วย นอกจากการเรียนรู้แล้ว หลักสูตรนี้ก็มีการแบ่งปันเรื่องราวของผู้ที่เข้าร่วมหลักสูตรนี้ด้วย

ญี่ปุ่น

ในฝั่งของประเทศญี่ปุ่นนั้นก็เป็นอีกประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงอีกประเทศหนึ่งในเอเชีย เรียกได้ว่า 1 ใน 4 ของคนญี่ปุ่นนั้นมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ในปี 2016 จึงเกิด The Nippon Foundation Suicide Prevention Project ขึ้น เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ผู้คนอยากมีชีวิตต่อไป

3 องค์ประกอบของโปรเจ็กนี้ก็ คือการนำรูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายไปใช้โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การป้องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยรุ่น และการสำรวจ และสร้างความตระหนักของสังคมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย โดยนอกจากความร่วมมือต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีช่องทางให้ติดต่อเพื่อที่ขอคำปรึกษาได้ด้วย การร่วมมือของโปรเจ๊กนี้เลยมีทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่สังคม

จะเห็นได้ว่านอกจากการสำรวจ การสร้างความตระหนักในสังคมแล้ว รัฐก็ต้องมีบทบาทในการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตายด้วยเช่นกัน เพราะบางครั้งสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวประชาชน ที่นอกจากตัวประชาชนจะต้องรับมือ และเตรียมความพร้อมแล้ว รัฐก็ควรเป็นอีกหนึ่งหน่วยที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีความสุข และอยากจะมีชีวิต…ต่อไป

อ้างอิง

https://www.who.int/mental_health/prevention/suicide/wspd/en/

https://en.wikipedia.org/wiki/World_Suicide_Prevention_Day

https://www.younghealthprogrammeyhp.com/programmes/korea.html

https://www.nippon-foundation.or.jp/en/what/projects/suicide_measures

https://www.nippon-foundation.or.jp/en/news/articles/2016/20160915-21072.html

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 22

  • ถ้ามีใครสักคนคอยช่วยแนะนำในการแก้ไขกับปัญหา คิดว่าก็คงจะช่วยทำให้สภาวะของจิตใจที่กำลังเป็นอยู่ดีขึ้นมาได้บ้างเหมือนกัน.
    10 ก.ย 2562 เวลา 06.38 น.
  • คนอยากตาย เขาคงคิดดีแล้วน้ะผมว่า ขอทุกชีวิตมีแต่สุข การคิดสั้นคงลดลง มากกว่านี้
    10 ก.ย 2562 เวลา 10.25 น.
  • @ NIPON ©
    ไม่มีใครเข้าใจเรื่อง​นี้​ เพราะเขาไม่ใช่เรา​ คนที่คิดแบบนี้​ เขาไม่ได้คิดแบบเรา​ เรามีทุกอย่างที่เขาไม่มี​ เราพูดทุกอย่างที่เขาไม่รู้​ แล้วเราไปนั่งทานข้าวกับครอบครัว​ ไปเที่ยวห้าง​ แล้วเขาละ​ ไม่เจอไม่รู้​
    17 ก.ย 2562 เวลา 05.03 น.
  • วราภรณ์
    ไห้คิดว่าพระเจ้าสร้างเราขึ้นมาเราต้องทำสิ่งที่ดีไห้ดีที่สุดถ้าจะตายก็ไห้ทำแต่สิ่งที่ดีที่่สุดและทุกคนจะหมดวาระของตัวเองๆเมื่อถึงเวลาน่ะค่ะขอพระเจ้าทรงนำไห้ผู้คนได้มารู้จักพระผู้สร้างของเรา
    10 ก.ย 2562 เวลา 22.47 น.
  • ฿ P ฿
    ปัจจัยเรื่องการฆ่าตัวตายเกิดจากประมาทการใช้ชีวิตของตัวเอง เช่น การใช้เงิน พฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคภัย กับโดนคนรอบข้างกดดัน เช่น พ่อแม่ขาดหวังสูง หัวหน้างานกดดัน
    10 ก.ย 2562 เวลา 06.20 น.
ดูทั้งหมด