โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แอมเนสตี้ ออกแถลงการณ์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

อีจัน

อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 14.59 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 14.54 น. • อีจัน
แอมเนสตี้ ออกแถลงการณ์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน
วันที่ 27 พ.ค.63 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่น&#3…

วันที่ 27 พ.ค.63 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์หลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน จนถึง 30 มิ.ย.63

โดยในแถลงการณ์มีเนื้อหาบางส่วนว่า
ขอให้ทางการไทยรับประกันว่า มาตรการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ต้องไม่ถูกใช้เพื่อละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน การจำกัดการใช้สิทธิที่จะเกิดขึ้นต้องเป็นไปอย่างได้สัดส่วนและจำเป็น ต้องคุ้มครองสิทธิของกลุ่มคนชายขอบ ยกเลิกการดำเนินคดีกับบุคคลที่ใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกอย่างสงบ ยุติการกักตัวผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองโดยพลการ และย้ำว่าแม้การจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบเป็นสิ่งที่กระทำได้ เมื่อจำเป็นและได้สัดส่วนเพื่อคุ้มครองการสาธารณสุข แต่ผู้ที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการชุมนุมที่เป็นการละเมิดมาตรการรักษาระยะห่างทางกายภาพ จะต้องไม่ถูกลงโทษด้วยการจำคุก
ในระหว่างที่รัฐบาลไทยทบทวนมาตรการฉุกเฉินที่จะนำมาใช้รับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 หลังมีการล็อคดาวน์มานานสองเดือน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอให้ทางการไทยรับประกันว่า การจำกัดการใช้สิทธิที่จะเกิดขึ้น ต้องเป็นไปอย่างได้สัดส่วนและจำเป็น
นอกจากนั้นยังเรียกร้องทางการให้มีมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มคนชายขอบ ที่มีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถปกป้องตนเองได้ในช่วงการระบาดของโรค ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลและการเข้าถึงการดูแลและบริการด้านสุขภาพที่เพียงพอ หรือขาดศักยภาพที่จะปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังขอให้ทางการไทยยกเลิกการดำเนินคดีกับบุคคล ซึ่งถูกลงโทษเพียงเพราะใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก ยุติการกักตัวผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองโดยพลการ และงดเว้นการใช้มาตรการจำกัดสิทธิโดยพุ่งเป้าไปที่เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐ ทั้งยังมีการลงโทษด้วยแรงจูงใจทางเมืองที่ไม่ได้สัดส่วน แม้การจำกัดสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมอย่างสงบเป็นสิ่งที่กระทำได้ เมื่อจำเป็นและได้สัดส่วนเพื่อคุ้มครองการสาธารณสุข แต่ผู้ที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการชุมนุมที่เป็นการละเมิดมาตรการรักษาระยะห่างทางกายภาพ จะต้องไม่ถูกลงโทษด้วยการจำคุก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 52

  • S. Tanupun
    แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล... ได้โปรด... ออกไปจากประเทศไทย​ได้แล้ว... ......... ผมเป็นคนไทย......... พ. ร. ก. ฉุกเฉิน ไม่กระทบสิทธิ​เสรีภาพ​ของผม... ผมไม่เดือดร้อน... ประเทศ​ต้นกำเนิดองกรณ์​คุณ จะติดเชื้อไวรัสกันทั้วประเทศ​แล้ว กลับไปช่วยทางนั้นเถอะ อย่ายุ่ง ก่อกวนประเทศ​นี้เลย...
    27 พ.ค. 2563 เวลา 16.53 น.
  • lek 20
    ว่างมากกล้าจัดการเจ้าของเงินสนับสนุนหรือป่าวประเทศต้นแบบประชาธิปไตยทั้งนั้นปล่อยคนแก่ พลเมืองชั้นสอง ต่างชาติตายเป็นผักอยู่ที่บ้านถูกเลือกรักษาให้ใครอยู่ใครตายได้ละมิดสิทธิ์การมีชีวิตอยู่อย่างชัดเจน กล้าหรือป่าวเด็กน้อย
    27 พ.ค. 2563 เวลา 16.19 น.
  • vatchanathip
    ประท้วงไปทุกประเทศรึเปล่า หรือว่าเฉพาะไทย ขี้เกียจอ่าน แค่พาดหัวก็เดาออก
    27 พ.ค. 2563 เวลา 17.43 น.
  • SA
    ไปอยู่เมกาเหอะพวกแก
    27 พ.ค. 2563 เวลา 16.11 น.
  • m.pongsak
    หอนรับ เป็นทอดๆ หมาบ้านไหน นะ..
    27 พ.ค. 2563 เวลา 15.12 น.
ดูทั้งหมด