โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กินเผ็ดต้องระวัง ! โรคภัยถามหาไม่รู้ตัว

LINE TODAY

เผยแพร่ 29 พ.ย. 2562 เวลา 11.15 น.

อาหารไทยจะอร่อยต้องมีความเผ็ดร้อนเข้ามาเพิ่มรสชาติด้วยเสมอ ทำให้ความเผ็ดร้อนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินของคนไทยที่นิยมอย่างแพร่หลาย สังเกตได้ง่าย ๆ จากอาหารหลายอย่างที่มักนำพริกมาเพิ่มรสชาติด้วยกันทั้งนั้น นอกจากจะทำให้รสชาติกลมกล่อมขึ้นแล้ว ความเผ็ดยังช่วยทำให้เจริญอาหาร กินได้อย่างเอร็ดอร่อยมากขึ้นด้วย

แต่รู้หรือไม่ความเผ็ดไม่ใช่รสชาติ ไม่เหมือนรสเปรี้ยว หวาน เค็มอย่างที่เรารู้สึกกัน แต่เป็นอาการแสบร้อนที่ปากและลิ้นที่มาจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่พบในพริก ซึ่งนอกจากพริกแล้ว เจ้าสารแคปไซซินก็ยังพบในขิง ยี่หร่า กระเทียม กะเพรา ฯลฯ ทำให้ผักสวนครัวกลุ่มนี้ได้รับความนิยมนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารทั้งสุกและดิบ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ดร้อนให้กับอาหารนั่นเอง

อย่างที่บอกว่าความเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร แต่คงไม่ใช่แค่นั้น ความเผ็ดมีดีกว่านั้นอีกเพียบ

• เป็นยาอายุวัฒนะ รสเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร ใครที่ผอมแห้งแรงน้อยหรือเบื่ออาหาร ถ้าเพิ่มพริกหรือผักสวนครัวที่รสชาติเผ็ดร้อนลงในอาหารสักจะช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น

• กระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ ความเผ็ดร้อนช่วยทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น ทั้งยังทำให้รู้สึกหิวน้อยลงได้ด้วย เพราะฉะนั้นจึงมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักมากพอสมควรเลยทีเดียว

• ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย งานวิจัยบางชิ้นระบุเอาไว้ว่าพริกช่วยลดระดับไขมันเลวและเพิ่มไขมันดีได้ ส่งผลดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดจะมีโอกาสอุดตันน้อยลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ด้วย

แต่พริกก็ไม่ได้มีด้านดี ๆ อย่างเดียว เพราะอะไรที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียอย่างมหาศาลให้กับร่างกายได้เหมือนกัน ไม่เว้นแม้แต่การกินเผ็ดมากและบ่อยมาก

• สุขภาพช่องปาก อย่างที่รู้กันว่าความเผ็ดร้อนส่งผลกับปากและท้องเราโดยตรง ดังนั้นถ้าเผ็ดเกินเหตุอย่างน้อยก็ทำให้ปากแห้ง หิวน้ำ หรือทำให้ลิ้นรับรสชาติผิดเพี้ยนได้

• ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้รู้สึกปวดท้อง แสบร้อนช่องท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น หากใครเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการกินเผ็ด เพราะความเผ็ดจะกระตุ้นทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

• ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ การกินเผ็ดอาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้ แต่ว่าไม่ใช่ภูมิแพ้ที่เกิดจากร่างกายต่อต้านสารบางชนิดในอาหาร เป็นอาการมีน้ำมูกหรือเสมหะไหลลงคอเนื่องมาจากการกินเผ็ด

• เนื่องจากความเผ็ดส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตโดยตรง ก็เลยทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ด้วย

แม้ความเผ็ดสำหรับบางคนจะอร่อยและช่วยเพิ่มรสชาติได้ดี แต่การกินเผ็ดมากไปและบ่อยเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายเราได้โดยตรง ดังนั้นอะไรที่เกินเหตุมักไม่ดีเสมอ สำหรับคนชอบกินเผ็ดลองเปลี่ยนพฤติกรรมการกินบางมื้อดูบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร บางทีคุณอาจหลงเสน่ห์กับรสชาติจืด ๆ บ้างก็ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 53

  • 🫧
    กินไปเถิดเผ็ดหน่ะ เขากินกันมาแต่ปู่ย่าตาทวด ถ้าไม่ได้เป็นโรคกระเพาะอยู่ก่อน แต่เอาเข้าจริง ความเผ็ดเนี่ย แต่ละคนธรรมชาติบังคับอยู่แล้ว ว่าตัวเองจะกินเผ็ดได้ขนาดไหน มันยากที่จะฝืนกินเกิดความชอบของตัวเอง
    29 พ.ย. 2562 เวลา 12.36 น.
  • ศักดิ์ ดา
    กินเข้าไปเถอะ กินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และทุกชาติศาสนา เพียงแต่อย่ามากจนเกินไป อาหารไทยส่วนใหญ่ต้องใส่พริก เช่น ต้มยำกุ้ง ผัดกระเพรา ผัดไทย แกงชนิดต่างๆ แม้แต่น้ำปลาก็ต้องใส่พริกฯ
    29 พ.ย. 2562 เวลา 12.32 น.
  • Free man
    ใช่ อะไรทุกๆอย่างจงตั้งมั่นอยู่ในความพอดี ไม่มาก - ไม่น้อย จนเกินไป...
    29 พ.ย. 2562 เวลา 12.12 น.
  • .~★☆ PikaPiPi ☆★~.
    เผ็ดกลางๆ พอ แค่เพิ่มรสชาติ ก็จะได้ประโยชน์ด้วย อร่อยด้วย 😊
    29 พ.ย. 2562 เวลา 12.25 น.
  • Pattie
    กินเผ็ดประจำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสบายท้องมากเมื่อได้กินสุกี้ร้อนๆ น้ำจิ้มจืดๆ หรือข้าวสวยกับหมูทอดนุ่มๆ
    29 พ.ย. 2562 เวลา 12.28 น.
ดูทั้งหมด