โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

ฮือฮา! ช้างตระกูลเเสนฝึกช้างกู้ภัยหลักสูตรใหม่ “กู้ภัยทางภูเขา”

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

อัพเดต 25 พ.ย. เวลา 04.44 น. • เผยแพร่ 25 พ.ย. เวลา 04.44 น. • ข่าวเวิร์คพอยท์
ฮือฮา! ช้างตระกูลเเสนฝึกช้างกู้ภัยหลักสูตรใหม่ “กู้ภัยทางภูเขา”

(25 พ.ย.67) พลายแสนทัพ พลายวาเลนไทน์ และพลายงาม ช้างแสนรู้ที่บ้านพักช้างตระกูลแสน ดูช้างดูดอย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เข้ารับการฝึกในหลักสูตร “กู้ภัยทางภูเขา”เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อฝึกให้ช้างมีทักษะในการช่วยเหลือภัยพิบัติ กรณีที่ระบบการแพทย์เข้าไม่ถึงในพื้นที่ยากลำบากจะใช้ช้างในการเข้าไปรับมือ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูฝึกสอนกู้ภัยทางภูเขา Isara กู้ภัยอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและควาญช้างบ้านพักช้างตระกูลแสน ดูช้างดูดอย ภายใต้การสนับสนุนของพระครูสังฆรักษ์วีรวัฒน์ วีรวฑฺฒโน หรือ อาจารย์อ๊อด วัดเจดีย์หลวง ผู้อุปการะช้างทั้งหมดที่บ้านพักช้างแห่งนี้

นานไชยเชษฐ์ พัดสี ประธานไอซาราประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เราจะเห็นว่าได้มีการฝึกหลักสูตรกู้ภัยทางน้ำร่วมกับช้างเป็นที่แรกของโลก แต่หลักสูตรที่ 2 นี้จะเป็นหลักสูตรที่เน้นการกู้ภัยทางภูเขา เมื่อเกิดเหตุมีผู้ประสบภัยหลงป่า ได้รับอุบัติเหตุในพื้นที่ป่าเขา มีกิ่งไม้ต้นไม้กีดขวางเส้นทางการเดินทางเพื่ออพยพผู้ประสบภัยออกจากพื้นที่ป่า ซึ่งระบบนี้จะเป็นการช่วยเหลือในภาวะที่ระบบการแพทย์ที่เข้าไม่ถึง

จากการฝึกฝนพบว่า ช้างไม่มีอาการตื่นตัวและมีความร่วมมือในการฝึกเป็นอย่างดีซึ่งจะต้องใช้ช้างทั้งระบบอย่างน้อยจำนวน 3 เชือก โดย เชือกแรกจะทำหน้าที่เปิดทางและเคลียร์เส้นทาง เชือกที่ 2 จะเป็นช้างที่ต้องลำเลียงผู้ประสบอุบัติเหตุขึ้นอยู่บนหลังช้าง และ เชือกที่ 3 ก็จะเป็นช้างกู้ภัยที่กรณีมีผู้ประสบภัยอุบัติเหตุมากกว่าหนึ่งคน หรือ ลำเลียงอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน

การฝึกครั้งนี้ทพระครูอ๊อดได้มีการคัดเลือกช้างจำนวน 3 เชือก เข้ารับเข้าฝึกในหลักสูตรกู้ภัยทางภูเขา คือ พลายแสนทัพ พลายวาเลนไทน์ และ พลายงาม ซึ่งทั้ง3 เชือกเป็นช้างที่มีพละกำลังและเคยทำงานลากไม้มาก่อน จึงมีทักษะในการออกพื้นที่ในกรณีเกิดเหตุในพื้นที่สูงพื้นที่ป่าเขา ความร่วมมือนี้ถือว่าเป็นมิติใหม่ในการนำช้างมากู้ภัยทางภูเขาซึ่งความรู้นี้จำเป็นจะต้องเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างครูฝึกกู้ภัยระบบภูเขากู้ภัยของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับพื้นที่ป่าและมักจะได้รับการแจ้งเหตุให้เข้าช่วยเหลือ และหน่วยงานควาญช้างในบ้านพักช้างตระกูลแสน ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติซึ่งนักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวและถ้าหากเกิดเหตุหรือสถานการณ์ที่จะต้องนำช้างเข้าไปช่วยเหลือ ช้างกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มแรกที่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยและลดอันตรายที่เกิดขึ้นได้ก่อนจะนำส่งต่อสู่ระบบการแพทย์ฉุกเฉินต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น