โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

มารู้จักกับ “อาษาเฟรมเวิร์ค” ชื่อไทย แต่คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ พร้อมตัวอย่างการนำมาใช้จริง

Beartai.com

อัพเดต 20 ก.พ. 2564 เวลา 01.33 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2564 เวลา 15.44 น.
มารู้จักกับ “อาษาเฟรมเวิร์ค” ชื่อไทย แต่คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ พร้อมตัวอย่างการนำมาใช้จริง
มารู้จักกับ “อาษาเฟรมเวิร์ค” ชื่อไทย แต่คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ พร้อมตัวอย่างการนำมาใช้จริง

วันนี้เว็บแบไต๋จะพาทุกท่านไปรู้จัก “อาษาเฟรมเวิร์ค” ซึ่งมีชื่อไทย ๆ แต่ว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง อาษาเฟรมเวิร์ก เป็นสตาร์ตอัปในด้าน DeepTech คือเทคโนโลยีฐานในทุกสรรพสิ่ง (Platform of Things) นำมาใช้พัฒนาแอปได้ไม่ซับซ้อนแต่ได้ผลลัพธ์ออกมามีความมืออาชีพ และเป็นเครื่องมือประเภท Open Source อีกด้วย

โดยสาเหตุที่มีชื่อว่า “อาษาเฟรมเวิร์ค” เพราะว่าได้พัฒนามาจาก “ผศ.ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด” อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดให้ประชาชนทั่วโลกสามารถดาวน์โหลด SDK ไปใช้ได้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย (ดาวน์โหลดได้ที่ www.arsa.ai)         

ก่อนหน้านี้ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชื่อ Zaros X Battle เป็นเกมต่อสู้บนแพลทฟอร์ม PC Version วางจำหน่ายเมื่อปี 2007 และบนแพลตฟอร์ม Arcade Version วางจำหน่ายเมื่อปี 2009 ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวที่ 2 ชื่อ เกมซารอส เรียล แบทเทิ้ล กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งอาษาเฟรมเวิร์ค สามารถนำมาทำเกมก็ได้ และนำไปทำแอปประเภทอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในด้าน

  • DeepTech / AI นำไปสร้างปัญญาประดิษฐ์ด้วยอัลกอริทึม DeepLearning หรือ MachineLearning
  • MarTech / BigData Analytic นำไปสร้างแผนการตลาดและวิเคราะห์ข้อมูลทาง Data Science
  • FinTech / Blockchain นำไปสร้าง ICO สกุลเงินดิจิทัลและเขียนอัลกอริทึม Blockchain
  • MedTech EdTech UX/UI นำไปสร้าง UX/UI ทางด้านการแพทย์และการศึกษาในทุกระดับชั้น
  • AgTech / Controller นำไปควบคุมอุปกรณ์ Hardware ต่าง ๆ ผ่านทาง Cloud และ Smart Devices
  • ioT / {REST:API} ควบคุมอุปกรณ์ ioT ผ่าน Representational State Transfer {REST API}
  • UAV / TCP/UDP ควบคุม/ประมวลผล อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) ผ่านโปรโตคอล TCP หรือ UDP

ซึ่งผลงานนี้ ยังได้รับรางวัลผลงานเด่น Thailand Tech Show 2019 จัดโดย สวทช. รางวัล IP Champion 2562 จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ 2562 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัลชนะเลิศการประกวด Thailand ICT Awards 2018 จากสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) และรางวัลชนะเลิศการประกวดซอฟต์แวร์ดีเด่น 2561 จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นต้น และยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณทางด้านการวิจัย 2561 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรางวัลการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ 2560 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากวิดีโอด้านล่างนี้เลย เริ่มต้นจากการนำมาใช้สร้างเกม แต่สามารถเอาไปสร้างแอปได้หลายประเภท

ตัวอย่างการนำไปใช้ต่อยอด จากโครงการ MOU กับทีมนักศึกษา Startup มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แอปพลิเคชัน บ้านกัญญาภัทร (BaanKanyapat)

การสร้างแอปพลิเคชัน BaanKanyapat ในครั้งนี้เป็นโปรเจกต์ในรายวิชา SV431 สัมมนาเรื่องการจัดการและนวัตกรรมการบริการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนวัตกรรม สาขานวัตกรรมการบริการ (BSI) ทางกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมชั้นปีที่ 4 ได้นำเอาความรู้และทักษะที่ได้การเรียนการสัมมนาเกี่ยวกับการริเริ่มสร้างแอปพลิเคชัน การเลือกองค์กร และกระบวนการต่าง ๆภายในกลุ่มโดยมี ผศ. ดร. อาษา ตั้งจิตสมคิด อาจารย์ประจำรายวิชาที่คอยให้คำปรึกษาจนสามารถสร้างแอปพลิเคชัน BaanKanyapat ได้สำเร็จ

เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของสุนัขและแมวจรจัด ทำให้เกินขีดจำกัดความสามารถในการดูแลของคุณป้า และทีมงานบ้านกัญญาภัทร ทั้งในเรื่องอาหาร ยารักษาโรค และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทางเราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ และต้องการที่จะเป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือในครั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งฝ่ายองค์กรและผู้ที่ประสงค์จะบริจาค หรือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการติดต่อระหว่าง 2 ฝ่ายโดยแอปพลิเคชัน BaanKanyapat ครอบคลุมรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายและสะดวกสบายทุกการใช้งานภายในแอปพลิเคชันประกอบไปด้วยฟังก์ชันหลัก ๆ ที่สำคัญ

แอป GussDamnGood 5G โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์ นวัตกรรมสุดล้ำสำหรับคนรักไอศกรีม ทุกอย่างเกิดขึ้นได้แค่ปลายนิ้ว

จุดประสงค์หลักในการสร้างแอปพลิเคชัน GussDamnGood คือ การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ การสร้างโอกาสในการขาย การให้ความรู้เกี่ยวกับแบรนด์และสินค้า การสร้างช่องทางการเข้าถึงทุกที่

SOS lifestyle
SOS lifestyle คือแอปพลิเคชันที่รวบรวมสินค้า Multi-brand ภายในร้าน SOS มาให้ผู้ใช้งานได้เลือกชมและช้อปสินค้าเด่น แบรนด์ดังของ SOS ได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งจะมาในรูปแบบของการนำเสนอข้อมูลสินค้าและรายละเอียดแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น แบรนด์ ชื่อรุ่น ราคา สี ขนาด ของสินค้า  ที่สามารถเลือกดูได้ง่ายๆผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งทางแอปพลิเคชันยังได้ทำการระบุที่ตั้งและหน้าร้านของ SOS ไว้ให้สามารถค้นหาได้ง่าย ๆ SOS lifestyle เปรียบเสมือน Online Catalog 

Baimiang

“Baimiang” ร้านที่ชาวเฮลตี้รู้จักกันเป็นอย่างดีเนื่องจากมีสินค้าหลากหลายและมีหลายสาขาทั่วกรุงเทพและปริมณฑลเนื่องด้วยยุคนี้เป็นยุคที่การขายสินค้าออนไลน์เติบโตมากและทุกคนให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายในการซื้อขายมากขึ้นจึงทำให้ร้านใบเมี่ยงต้องปรับตัวตามสถานการณ์ เราจึงคิดค้นและผลิตแอพพลิเคชัน “Baimiang” ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

รสดีเด็ด กับการบริการใหม่เพื่อลูกค้า

สำหรับแอปพลิเคชันของร้านรสดีเด็ดนั้นเน้นไป 4 ฟีเจอร์หลักๆ คือ- เมนูและราคา- โพรโมชันต่างๆจากทางร้าน- หารราคา- feedback จากลูกค้า

โดยฟีเจอร์ที่เด่นที่สุดทางเราเห็นว่าจะเป็น “การหารราคา” ซึ่งอำนวยความสะดวกเวลามากินกันหลายคนมาก

ChangMan Project

บริษัท โฮม เซอร์วิส บาย จีเคโฮม ( Home Service by GK Home) หรือชื่อเดิม หจก. วิชญะ เซอร์วิส ดำเนินธุรกิจที่ให้บริการหลังการขายที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมและการประกันตัวบ้าน เช่น การล้างทำความสะอาด, การช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน, การย้ายจุดหรือติดตั้ง, รวมถึงการปรับปรุงและต่อเติมบ้าน บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 โดย นายจีรศักดิ์ อุ่นคำ ที่ตั้งบริษัทอยู่ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทจีเคโฮมมีช่างฝีมือที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานกว่า 15 ปี 

เมื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล จึงมีแอป “Changman หรือ ช่างแมน” เป็นแอปพลิเคชั่นให้บริการเรียกช่าง ภายในตัวแอปพลิเคชันมีฟังก์ชันจัดหาช่างซ่อมที่เสนอราคาที่เหมาะสมรวมถึงการแสดงบริการทั้งหมดที่ช่างซ่อมจะให้บริการลูกค้าด้วยราคาที่พวกเขาเรียกเก็บผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันนี้จะสามารถทราบค่าใช้ จ่ายล่วงหน้าง่ายต่อการตัดสินใจในการใช้บริการภายในตัวแอปพลิเคชันนี้มีอยู่4องค์ประกอบหลักดังนี้ หน้าแรก บริการ ค้นหา และอื่น ๆ 

เมื่อได้เห็นตัวอย่างแล้ว ท่านสามารถนำไปพัฒนาแอปของท่านได้ ดาวน์โหลดได้ที่ www.arsa.ai

อ้างอิง: Thammasat University , NSTDA, อีเมลประชาสัมพันธ์

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส

มารู้จักกับ “อาษาเฟรมเวิร์ค” ชื่อไทย แต่คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ พร้อมตัวอย่างการนำมาใช้จริง
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น