'ภาพยนตร์-ซีรีย์' ถือเป็นกิจกรรมที่หลายคนมักจะใช้เวลาอยู่กับสิ่งนี้เป็นเวลานาน เนื่องด้วยเนื้อหา บทบาท และการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านตัวนักแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม จนทำให้ผู้ชมเข้าถึงสิ่งที่ผู้สร้างได้กำหนดอย่างง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฉาก, อารมณ์, และรูปแบบ ฯลฯ แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนและอาจจำแนกผู้ที่ชื่นชอบได้นั้นก็คือประเภทของภาพยนตร์
ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาพยนตร์,ซีรีย์ หรือละคร ก็ล้วนมีการจำแนกผู้ชมแบบเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นแนวแอคชั่น,ผจญภัย,สงคราม,ดราม่า,โรแมนติก หรือระทึกขวัญ-สยองขวัญ ฯลฯ
ทั้งนี้ประเภทของภาพยนตร์,ซีรีย์ ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงการกำหนดผู้ชม ซึ่งถ้าเนื้อหามีความน่าสนใจและอยู่ในกระแสสังคม ทุกคนก็ล้วนเข้าถึง แต่ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมดุลยพินิจการรับชม
จากกระแสซีรีส์ Squid Game มีคนดูสูงที่สุดใน 90 ประเทศบน Netflix ใน 10 วันแรกหลังเริ่มสตรีม ถึงแม้ในฉากบางจะมีความรุนแรง การแข่งขัน และการแย่งชิง แต่ยังแฝงไปด้วยวัฒนธรรม-การละเล่นของเกาหลีใต้ ซึ่งถึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่แฟนซีรีย์มักได้เห็นกัน
ความร้อนแรง Squid Game ในไทยก็ไม่แพ้ชาติอื่น เพราะโลกออนไลน์ก็ต่างอัดคลิป สวมชุดคล้ายคลึงในซีรีย์พร้อมสมบทบาทของตัวละคร แต่มาในมุมน่ารักเรียกเสียงหัวเราะ
แต่ทว่าเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านรองโฆษก ตร.ได้ออกโรงเตือนผู้รับชมซีรีย์ถึงการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง เนื่องด้วยมีฉากการฆ่าผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเลียนแบบ จนอาจเกิดเป็นอาชญากรรมที่ส่งผลต่อชีวิตและร่างกาย จุดนี้เองได้กลายประเด็นร้อนระอุเพราะในต่างแดนได้ยกให้เป็นซีรีย์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมสู่สายตาชาวโลก
แล้วทำไมต้องเตือนถึงพฤติกรรมความรุนแรงที่เลียนแบบหนัง ?
LINE TODAY จึงหยิบ 3 คดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในไทย โดยผู้ต้องหาใช้วลีอ้าง "ที่ลงมือก่อเหตุนั้นเพราะทำเลียนแบบหนังที่ดูมา" ถึงจะเป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น แต่ 'ภาพยนตร์-ซีรีย์' จะเป็นชนวนเหตุที่สามารถจุดความโหดร้ายในตัวได้จริงเหรอ ?
'เปรี้ยว ฆ่าหั่นศพ'
เริ่มด้วยคดีที่สะเทือนขวัญ 'เปรี้ยว ฆ่าหั่นศพ' ก่อเหตุปี 2560 ซึ่งในช่วงเวลานั้นสื่อทุกแขนงต่างเสนอข่าวกันรายวันตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันที่สามารถควบคุมตัวได้ ซึ่งปมเหตุเกิดจากมีปัญหาหนี้สินเก่ากับผู้ตาย รวมถึงคดียาเสพติด ต่อมาเจ้าหน้าที่ขยายผลถึงตน จนอดีตสามีถูกจับ จึงวางแผนอุ้มไปสั่งสอน แต่พลั้งมือจนเกิดเสียชีวิต จึงได้ทำการลงมือ ลงมือหั่นร่างจนขาดและนำไปฝั่งเพื่ออำพรางศพ
แต่ทว่าทางโลกออนไลน์ในช่วงนั้นได้เข้าไปสืบค้นเฟซบุ๊กส่วนตัวของเปรี้ยว จนทำให้ต้องขนลุกเพราะก่อนวันเกิดเหตุเพียง 10 วัน เจ้าตัวได้ใช้ภาพโปรไฟล์และหน้าปก ได้ใช้เป็นภาพตุ๊กตาชัคกี้จากภาพยนตร์แค้นฝังหุ่น ซึ่งที่มีเนื้อหาความรุนแรง แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ว่าจะออกมากี่ภาคก็ได้รับความนิยมเสมอ
โดยทางพี่สาวเปรี้ยวยอมรับว่า น้องสาวชอบดูหนังแนวฆาตกรรมด้วย จึงเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของคดีเลียนแบบหนัง
บังฟัต สังหารโหดยกครัว'
เหตุการณ์สะเทือนขวัญเกิดขึ้นปี 2560 เช่นกัน นับเป็นคดีที่มีความโหดร้ายเป็นอย่างมากซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.กระบี่ สาเหตุแค้นฝังใจเกิดจากเรื่องที่ดิน ที่ผู้ตายนำไปจำนองกับผู้ต้องหา แต่กลับเอาไปจำนองต่อกับธนาคาร โดยที่เจ้าของเดิมไม่รู้ เมื่อเอาเงินไปไถ่ถอนเรียบร้อยแทนที่จะคืนใบโฉนดให้กลับไม่ดำเนินการ จึงก่อเหตุฆ่ายกครัว 8 ศพ เหตุการณ์ในครั้งนั้นสามารถจับกุมได้ทั้งหมด 8 คน และคำให้การของ 'บังฟัต' ก็ต้องทำให้หลายคนได้อึ้งเพราะเจ้าตัวเล่าว่า
“ปกติชอบดูภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน ฆาตกรรม จึงได้นำพล็อตคนร้ายในภาพยนตร์ต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในการก่อเหตุครั้งนี้ และการวางแผนหลบเลี่ยงกล้องวงจรปิดตามเส้นทางต่างๆ ”
'ฆ่าโหดสาวโรงงาน'
นอกจากภาพยนตร์แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่มักพบเป็นแรงจูงใจในการก่อเหตุสะเทือนขวัญนั้นคือ 'เกม' ที่มีเนื้อหารุนแรง ซึ่งวิดีโอเกมนั้นเปรียบเสมือนตัวเราได้สวมบทบาทและทำในสิ่งที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ แต่กลับกันถ้าเรานำพฤติกรรมในวิดีโอเกมมาใช้ในชีวิตจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความผิดที่จะติดตัว
ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เมื่อหนุ่มวัย 18 ปี ได้ก่อเหตุฆ่าทุบหัวหญิงวัย 40 ปี ซึ่งขณะนั้นผู้ก่อเหตุได้พยายามข่มขื่นแต่ไม่สำเร็จ ได้คว้าหินมาทุบหัวก่อนหลบหนีไป จากการให้ปากคำผู้ก่อเหตุเล่าว่าพฤติกรรมที่โหดร้ายนั้นจำมาจากเกมที่ตัวเองเล่น จึงได้นำวิธีการดังกล่าวมาใช้กับผู้ตาย
'ภาพยนตร์-ซีรีย์' ส่งผลถึงพฤติกรรมเลียนแบบ ?
ทั้ง 3 คดีในข้างต้นล้วนอ้างพฤติกรรมความรุนแรงที่นำมาก่อเหตุนั้น ส่วนหนึ่งนำมาจากภาพยนตร์-ซีรีย์ รวมถึงเกม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเรียกว่า 'Copycat crime' หรือ อาชญากรรมเลียนแบบ โดยได้รับพฤติกรรมความรุนแรงจากสื่อที่มากเกินไป จนซึมซับและเกิดแรงบันดาลใจมาจากอาชญากรที่ได้รับชมแล้วนำไปก่อเหตุ ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าอาชญากรมีความต้องการที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่จดจำ เลยพยายามเลียนแบบเหตุการณ์ร้ายที่เคยเกิดขึ้นไม่ว่าจาก ข่าว ภาพยนตร์ ซีรีย์ เกม ฯลฯ
แต่ทว่าบุคคลผู้นั้นก็สามารถที่จะหลุดพ้น Copycat crime ได้เช่นกันโดยเริ่มได้จากการลดเสพสื่อที่มีความรุนแรง และหากิจกรรมคลายเครียดเพื่อเป็นการดูแลตัวเองและสุขภาพจิต รวมถึงหมั่นสังเกตตัวเองถ้าพบว่ามีพฤติกรรมที่รุนแรง,โมโหง่าย ควรรีบเปลี่ยนแปลงเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
'ดังนั้นการรับชมภาพยนตร์-ซีรีย์ ที่มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยงความรุนแรงก็สามารถทำให้ผู้รับชมมีพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นได้เช่นกันและขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจ ภาวะอารมณ์ รวมถึงความเครียดที่สะสมของแต่ละบุคคล แต่ก็ยังเชื่อว่าผู้รับชมสามารถแยกแยะความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างแน่นอน'
อ้างอิง
ความเห็น 17
เปรม CK
คนดูกันทั่วโลก เขาบ้าแบบนี้ ก็ยิงตาย!!กันไปเหมือนในหนังดิ ยากอะไร ไม่ต้องมาติดคุกให้สิ้นเปลือง #ตายสถานเดียวเท่านั้น
02 ต.ค. 2565 เวลา 03.04 น.
OK
13 ส.ค. 2565 เวลา 12.22 น.
killpop
แบบนี้โคนันห้ามดูเลยดิ
01 ส.ค. 2565 เวลา 13.49 น.
Joseph Peacezena
ทั้งชีวิตคงต้องอยู่แต่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ถ้าสติปัญญาจะอ่อนไหวขนาดนั้น
01 ส.ค. 2565 เวลา 13.40 น.
🫧
ไม่ต้องไปวิเคราะห์พวกมันหรอก อ้างโน่นนี่ ถ้าเป็นหนังเกมส์ คนไม่ฆ่ากันเองหมดโลกแล้วหรือ
พวกนี้จับประหารชีวิต แล้วประกาศการประหารลงสื่อ เชือดไก่ให้ลิงดูบ่อยๆ ก็พอแล้ว
สำคัญ การตัดสินต้องยุติธรรม รวดเร็ว เด็ดขาด โดยเฉพาะคดีที่ชัดเจนมากอน่างในข่าวนี้ ก็รีบตัดสิน รีบประหารทิ้งไป รีบประกาศการประหาร เลย รกโลก ภัยสังคม
30 ก.ค. 2565 เวลา 23.12 น.
ดูทั้งหมด