โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

รู้จัก China Eastern Airlines 1 ใน 3 ยักษ์สายการบินจีน ตกในหุบเขาวันนี้

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 27 เม.ย. เวลา 14.59 น. • เผยแพร่ 21 มี.ค. 2565 เวลา 12.01 น.
CHINA-AVIATION-AIRPORT
Photo by AFP / China OUT

เปิดประวัติไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส จากรัฐวิสาหกิจส่อเจ๊ง สู่ท็อปสิบสายการบินยักษ์ของโลก

วันที่ 21 มีนาคม 2565 จากเหตุการณ์สายการบินไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่ MU 5735 พร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 133 ราย เส้นทางระหว่างคุนหมิงไปกว่างโจว ประสบเหตุตกในเขตปกครองตนเองมณฑลกว่างซีจ้วงทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

แม้ขณะนี้ยังไม่ทราบชะตากรรมของผู้โดยสาร 123 ราย กับลูกเรืออีก 9 ราย แต่จากข้อมูลของเครือข่ายความปลอดภัยการบิน (ASN) ชี้ว่า อุตสาหกรรมการบินของจีนได้รับการบันทึกว่ามีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในระดับต่ำมาก ครองแชมป์ประเทศที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินสูงในอันดับต้นๆ ของโลกมานานกว่า 10 ปี

โดยอุบัติเหตุครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี 2553 โดยเป็นเครื่องบินของสายการบินเหอหนานแอร์ไลน์ รุ่นเอ็มบราเออร์ อี-190 ที่ประสบเหตุตกมีผู้เสียชีวิต 44 ราย จากทั้งหมด 96 ราย

อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีอุบัติเหตุของไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส เที่ยวบิน MU 5735 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 737-800 อายุ 6 ปีนั้นได้ปรากฏภาพคลิปวิดีโอที่บันทึกเหตุการณ์ขณะเครื่องบินตกไว้ได้ โดยพบว่าเครื่องบินมีลักษณะการตกที่ผิดปกติจากเหตุเครื่องบินตกโดยทั่วไป

โดยเที่ยวบิน MU 5735 นั้นมีการตกแบบทิ้งดิ่งลงเป็นแนวตั้งตกสู่เนินเขา จนเกิดประกายไฟลุกไหม้อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบของจีนได้รุดเข้าไปยังจุดเกิดเหตุเพื่อสอบสวนหาสาเหตุการตกแล้ว

สำหรับประวัติของ China Eastern Airlines (中国东方航空公司) หรือจงกั๋วตงฟังหางคงกงซือ ก่อตั้งเมื่อ 25 มิถุนายน 2531 ปัจจุบันถือเป็น 1ใน “Big Three” หรือ 3 ยักษ์ใหญ่แห่งสายการบินพาณิชย์จีน อันประกอบด้วย แอร์ ไชน่า, ไชน่า เซาเทิร์น แอร์ไลน์ส และไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส

ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงานใหญ่ในนครเซี่ยงไฮ้ มีฐานให้บริการทั้งผู้โดยสารและขนส่งคาร์โก้ทั่วทุกพื้นที่ของจีน มีเครื่องบินในฝูงบินมากถึง 601 ลำ อีกทั้งมีสายการบินในเครือหลายแห่ง

ช่วงปี 2531 ถือเป็นปีต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมการบินเชิงพาณิชย์ของจีน จากที่ก่อนหน้านี้ CAAC Airlines ถือเป็นสายการบินของรัฐบาลเพียงแห่งเดียวที่ผูกขาดการเดินอาการในประเทศ ภายใต้การบริหารการบินพลเรือนของการบริหารจีนหัวตง

อย่างไรก็ตาม หลังจาก CAAC Airlines ดำเนินกิจการมาได้ 36 ปี รัฐบาลได้หั่นธุรกิจของ CAAC Airlines ออกเป็นสายการบินใหม่ 6 สายการบินในปี 2531 เนื่องจากการบริหารของ CAAC Airlines ในขณะนั้นรัฐบาลต้องแบกรับภาระการให้บริการก้อนใหญ่จนส่งผลให้เกือบเข้าสู่ภาวะล้มละลาย จนทำให้สายการบินได้แยกออกเป็น 6 สายการบินในปี 2531 โดยแต่ละแห่งให้บริการในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง อาทิ ไชน่า อิสเทิร์น แอร์ไลน์ และ ไชน่า เซาท์เทิร์น แอร์ไลน์ส

หลังจากแยกตัวออกเป็นไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส ได้ราว 9 ปี ในปี 1997 China Eastern Airlines จึงได้เข้าซื้อกิจการ China General Aviation เนื่องจากไม่สามารถทำกำไรได้อีกต่อไป และต่อมาได้ถือกลายเป็นสายการบินแรกของประเทศที่เสนอขายหุ้นในตลาดต่างประเทศ ในปี 1998 ได้จับมือร่วมทุนกับบริษัท COSCO คอนเทนเนอร์ชิปปิ้งทางเรือรายใหญ่ของจีน ในการให้บริการส่งสินค้าคาร์โก้ทางอากาศภายใต้ชื่อ China Cargo Airlines

ต่อมาในปี 2544 การเข้าซื้อกิจการ Great Wall Airlines กระทั่ง 2ปีต่อมาไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์สได้เข้าซื้อกิจการ 2 สายการบินใหญ่ของจีนคือ China Yunnan Airlines และ China Northwest Airlines ถือว่าเป็นสายการบินในท้องถิ่นจีนที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด หากไม่นับสายการบินแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้น 100% อย่างแอร์ไชน่า ท้ายทศวรรษที่ 1990 นี้จึงถือเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมเดินอากาศของจีน

ปลายทศวรรษ 2000 ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส มีการเติบโตครั้งสำคัญอีกรอบ จากการเข้าซื้อกิจการของ Shanghai Airlines เป็นครั้งแรกในปี 2552 เพื่อขยายการขนส่งระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง รวมถึงเที่ยวบินระหว่างประเทศจากฮ่องกงสู่ภูมิภาคใกล้เคียง

ปัจจุบันไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส ยังเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2ของเครือสายการบิน Air France–KLM ภายใต้สัดส่วนที่ 9.6% อีกทั้งยังมีสายการบินในเครือหลายสายการบินทั้งเที่ยวบินพาณิชย์ เที่ยวบินขนสินค้าคาร์โก้ และสายการบินต้นทุนต่ำ ดังนี้ China Cargo Airlines, China United Airlines,OTT Airlines และ Shanghai Airlines

อนึ่ง ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจีนได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินในประเทศอย่างก้าวกระโดด โดยเครื่องบินรุ่นล่าสุดที่จีนพัฒนาจนประสบความสำเร็จและนำมาให้บริการเที่ยวบินในประเทศอย่างรุ่น COMAC ARJ21-700 นั้น ทางสายการบินไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส ได้ถือเป็นผู้สั่งซื้อหลักของเครื่องรุ่นดังกล่าวมาให้บริการภายใต้สายการบินต้นทุนต่ำ OTT Airlines ซึ่งถือเป็นสายการบินแรกของจีนที่ใช้เครื่องรุ่นดังกล่าวมาให้บริการผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ในเส้นทางบินระยะใกล้

ทั้งนี้ จากข้อมูลของฟอร์บสเมื่อปี 2563 พบว่า China Eastern Airlines อยู่ในอันดับ 10 ของสายการบินที่มีผลประกอบการสูงสุดของโลกด้วยรายได้ราว 17,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีพนักงานในเครือทั้งหมดราว 77,000 คน และยังถือเป็นสายการบินใหญ่อันดับ 6 ของโลกในแง่มีจำนวนฝูงบินมากถึง 600 ลำ

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : รู้จัก China Eastern Airlines 1 ใน 3 ยักษ์สายการบินจีน ตกในหุบเขาวันนี้

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 1

  • กฤติเดช สุขเนืองนอง
    อนาคต โบอิ้ง ต้องล้มละลายแน่นอน ด้วย อุตสาหกรรมการบินจีน เก่ง แข็งแรง สามารถผลิตเครื่องบิน พาณิชย์ ทหาร ด้วยตัวเอง และประกาศยกเลิกสายการผลิต เครื่องบินกระดาษ เด็ดขาด จะขายทุกอย่าง วัตถุดิบ เคล็ดลับ ให้ โบอิ้ง ในราคาสมน้ำสมเนื้อ ด้วยตรรกะการค้า จะเก่ง ต้องมี คู่แข่ง เก่งคนเดียว ถือว่าถอยหลัง ไร้พัฒนา
    21 มี.ค. 2565 เวลา 15.52 น.
ดูทั้งหมด