โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ธรรมlife EP56 #เคล็ดไม่ลับ ฝึกสมาธิ

สวนโมกข์

เผยแพร่ 11 เม.ย. 2563 เวลา 21.20 น.

ธรรมlife โดยอ้อม สุนิสา สุขบุญสังข์

คำถาม #เคล็ดไม่ลับ ฝึกสมาธิ

ตอบโดย พระภาวนาเขมคุณ (สุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

หนังสืออ้างอิง: ตถตา, พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ 

อิทัปปัจจยตา,พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖

ในวันนี้ที่เรากำลังรับมือกับ COVID-19 และทุกคนพยายามร่วมมืองดเว้นการออกจากบ้าน เดินทางให้น้อยที่สุด ทำให้ถนนหนทางโล่งจนผิดหูผิดตา อ้อมก็ยังมองว่าคำถามนี้น่าจะยังเป็นประโยชน์ได้นะคะ ทั้งในวันที่สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ รวมถึงวันนี้ที่ยังไม่ค่อยปกติด้วยเช่นกัน

เพราะความหมายของการ “ติด” อาจจะไม่ใช่แค่ติดอยู่บนรถ บนท้องถนน บน BTS หรือ MRT แต่การ ‘ติดอยู่กับบ้าน’ ก็น่าจะเอาเรื่องนี้มาปรับใช้ได้นะคะ คำถามที่ว่านี้ก็คือ อยากจะได้วิธีฝึกทำสมาธิ เพื่อใช้ในการเดินทางบนรถไฟฟ้า หรือขณะรถติดค่ะ

ให้เจริญสติ มาใส่ใจ มาระลึกรู้สึกตัวทั่วพร้อม แทนที่เราจะปล่อยให้จิตคิดไปข้างหน้าว่า เมื่อไรจะไปได้สักที ทำไมมันติดเหลือเกิน มันก็จะกลุ้มอยู่อย่างนั้น

ให้มาอยู่กับปัจจุบัน ขณะนี้กายอยู่อย่างไร ใจอยู่อย่างไร กายติดอยู่ในรถ นั่งอยู่อย่างนี้ ระลึกรู้สึกตัวเข้ามา พอมันรู้มาที่ตัว มันก็จะใส่ใจสังเกตในรายละเอียดไปได้เรื่อย ๆ

ให้เราสังเกตอาการนั่งของเราว่านั่งอย่างไร วางมือตรงไหนในเบื้องต้น ต่อไปมันจะค่อย ๆ ลึกซึ้งเข้าไป รู้สึกตัวเข้าไปว่ามีการหายใจนะ มันมีการหายใจเข้า หายใจออก ก็ให้รู้ว่ามีการหายใจ ระหว่างที่หายใจเข้า หายใจออก มันมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง มันมีความไหว ความกระเพื่อมไหม มันมีความสั่นสะเทือนในกาย

มันรู้สึกสบาย มันรู้สึกไม่สบาย สิ่งนี้คือ ‘ใส่ใจ’ หมายถึงให้ใส่ใจมาที่ร่างกาย ทุกส่วนของร่างกาย แล้วเมื่อฝึกบ่อย ๆ มากขึ้น มันก็จะมีการใส่ใจไปถึงจิตด้วย ขณะนี้จิตใจเราเป็นอย่างไร ใจเราชอบ หรือไม่ชอบ ใจเราสบาย หรือไม่สบาย ใจขณะนี้มันโกรธ หรือไม่โกรธ เมื่อ ‘ใส่ใจ’ แล้วก็หัด ‘รู้’ ด้วยคือ หัดรู้อย่างวางเฉย รู้อย่างปล่อยวาง รู้ไปเรื่อย ๆ ระลึกรู้กาย รู้ใจอย่างละวาง ต้องหัดวางเฉย ปล่อยวาง

สุดท้าย หัดพิจารณาในสิ่งเหล่านั้นตามสภาพที่เขาเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ที่กำลังปรากฏให้รู้อยู่นี้ มันมีการเปลี่ยนแปลง มันมีความหมดไป สิ้นไป มันตั้งอยู่ไม่ได้ มันบังคับไม่ได้ มันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของมัน ที่เรียกว่า “ตถตา” เป็นเช่นนั้นเอง เพราะสิ่งนี้เกิด เป็นปัจจัยต่อสิ่งนี้ พอสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ ก็เรียกว่า “อิทัปปัจจยตา” กฎธรรมชาติของชีวิต

ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ คือมันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เมื่อรู้ตามเหตุตามปัจจัยอย่างนี้ จิตก็ต้องยอม เกิดการยอมรับ ยอมเป็นก็เย็นได้ ยอมลงก็ปลงได้ ยอมสนิทก็พิชิตชัยชนะ จิตเข้าถึงความเป็นอิสระหลุดพ้น ถ้า 3 นาที 5 นาที 10 นาที ที่เรารถติด เรา ‘ยอมเป็น’ ในส่วนนั้น และเรารู้ว่ากายใจเราอยู่ตรงไหน เราวางมันให้เป็น เราก็เย็นได้ตรงนั้นแหละ

ถึงตรงนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนค่ะ แล้วถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังต้องเผชิญกับความยากลำบาก ระบายความหนัก ความเหนื่อย หรือความเครียด ความทุกข์ของคุณมาให้พวกเราได้นะคะ เราจะผ่านมันไปด้วยกันไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหน

ส่งความหนัก ความทุกข์ สิ่งสงสัยมาให้พวกเราได้ที่ www.bia.or.th/dhamlife

ติดตามข้อธรรมดีๆ ได้ที่เพจ fb : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือ Line: @Suanmokkh_Bangkok

ฟังธรรมบรรยาย เรื่องของการบวช และการมีความสุขในชีวิต เพิ่มเติมได้ ที่นี่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 2

  • ผมคิดว่าอานิสงฆ์ที่จะได้รับจากการฝึกสมาธินั้น ย่อมที่จะช่วยทำให้เกิดสติ ความคิดพิจารณาถึงในการใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องเสมอครับ.
    12 เม.ย. 2563 เวลา 21.14 น.
  • BigChay
    ขอบคุณมากครับ สำหรับเคล็ดลับในการดึงจิต และ สมาธิ
    22 เม.ย. 2563 เวลา 14.29 น.
ดูทั้งหมด