เชื่อว่าใครหลายๆ คนชอบที่จะฟังเพลง เพราะเสียงเพลงเสียงดนตรีทำให้ผ่อนคลาย มีความสุขตลอดวัน คุณอาจเคยได้ยินบทความที่เกี่ยวกับบทเพลงบรรเลงให้เด็กน้อยที่อยู่ในครรภ์ฟังว่า หากทารกน้อยได้ฟังเพลงบรรเลงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จะทำให้เด็กที่เกิดมามีความฉลาดมากกว่าเด็กทั่วไป เพราะเชื่อว่าบทเพลงบรรเลงนั้น สามารถกระตุ้นพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และอารมณ์ของเด็กได้ และความเชื่อที่ว่านี้ จะจริงหรือไม่?
ความเชื่อที่ว่าให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ฟังเพลงบรรเลง แล้วจะฉลาดไม่เป็นความจริงครับ จุดเริ่มต้นของความเชื่อนี้มาจากการวิจัยที่ชื่อว่า Mozart effect โดยให้นักศึกษาฟังเพลง Mozart Sonata เป็นเวลา 10 นาที แล้วไปทำแบบทดสอบ หรือข้อสอบ ในส่วนของการหาค่าเหตุผล ปรากฏว่านักศึกษาทำแบบทดสอบได้คะแนนดีมากจนทำให้เกิดกระแสโด่งดังไปทั่ว และมีการนำผลของการวิจัยนี้ ไปเชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ เกี่ยวกับการพัฒนาการทางสมองของเด็ก โดยเชื่อว่าหากเด็กได้ฟังเพลงของ Mozart ตั้งแต่อยู่ในท้องจะทำให้พัฒนาการได้ดีและรวดเร็วกว่าเด็กคนอื่น แต่ภายหลังนักวิจัย ได้ทำการวิจัยซ้ำ เกี่ยวกับ Mozaet effect และการเรียนรู้ของเด็ก จึงพบว่าไม่ได้ผล
ถึงแม้ว่าการให้เด็กฟังเพลงบรรเลงตั้งแต่อยู่ในท้อง จะไม่มีผลทำให้เด็กฉลาดกว่าเด็กคนอื่นแต่อย่างใด แต่ก็ยังมีประโยชน์นะครับ เพราะการที่คุณแม่ได้ฟังเพลง ก็จะทำให้ตัวคุณแม่นั้นมีสุขภาพจิตที่ดี ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน ซึ่งทำให้ร่างกายผ่อนคลายและมีผลโดยตรงกับเด็ก ทำให้เด็กไม่เครียด ส่งผลให้การพัฒนาทางร่างกายของเด็กเร็วขึ้น
สิ่งที่ทำให้เด็กฉลาดได้นั้นมีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญคือกรรมพันธุ์ อาหารการกินของแม่ขณะตั้งครรภ์ และของเด็กภายหลังคลอด สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก ทั้งขณะที่อยู่ในท้องและหลังคลอด สุดท้ายถ้าอยากให้ลูกเป็นเด็กที่ฉลาดควรส่งเสริมให้เล่นดนตรี การที่เด็กเล่นดนตรีไม่ใช่แค่ฟังเพลงไพเราะเพียงอย่างเดียว แต่ทำให้เซลล์สมองมีการเคลื่อนไหว ส่งเสริมให้มีพัฒนาการที่ดี และยังทำให้เป็นเด็กอารมณ์ดีอีกด้วย
ความเห็น 3
Popsy ポプシー
ที่ไม่จริงน่ะคือข่าว 555
เคยดูสารคดีที่ตามติดชีวิตคุณแม่ ผู้ฟังเพลงโมซาร์ทตอนท้อง ลูกออกมา พอโตเป็นอัจริยะทางดนตรี ทั้งที่แม่เล่นดนตรีไม่เป็นเลย
13 ม.ค. 2561 เวลา 18.24 น.
Lek/Sam 100
ไม่จริง
13 ม.ค. 2561 เวลา 07.46 น.
No No No
13 ม.ค. 2561 เวลา 07.40 น.
ดูทั้งหมด