เป็นอุทาหรณ์เตือนอันตราย สำหรับผู้ปกครองที่มีเด็กๆ ในบ้าน รองเท้าที่ถอดเอาไว้นอกบ้านจำเป็นต้องเคาะก่อนทุกครั้ง ไม่ใช่เพียงแต่งูที่มักเข้ามาซ่อนตัวหาความอบอุ่น ยังมีสัตว์มีพิษอีกหลายอย่าง ทั้งตะขาบ แมงป่อง หรือ แม้กระทั่ง กิ้งกือ ก็สามารถทำอันตรายเด็กๆ ได้เหมือนกัน
โดยสมาชิกเฟซบุ๊ก Vena Phungwangthong ได้โพสต์ว่า"#ฝากเป็นอุทาหรณ์ แม่ๆที่มีลูกเล็ก แล้วใส่รองเท้าผ้าใบ อย่ามองข้ามสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆนะคะ มันแอบอยู่ในรองเท้า ถอดรองเท้าคือตกใจมาก‼️ นึกว่าไปเหยียบอะไรมา ทั้งถูทั้งล้างก็ไม่ออก เลยไปดูในรองเท้า แม่เจ้า‼️‼️ #กิ้งกือ แอบนอนอยู่ในรองเท้า ทำพี่แป้งร่ำทำไมฮ่ะ #เกลียดกิ้งกือโว๊ยย"
ด้าน สถาบันโรคผิวหนัง ได้ระบุว่า กิ้งกือ มีวิธีป้องกันตัวเองโดยใช้การขดตัวเป็นเกราะป้องกันอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ เมื่อเวลาเราเอาไม้ไปเขี่ย หรือไปโดนกิ้งกือแบบไม่ตั้งใจ มันจะม้วนตัวขดเป็นวงกลม ขณะเดียวกันก็ ปล่อยสารเคมีกลุ่ม “ไซยาไนต์” หรือสารที่เรียกว่า “เบนโซควิโนน” ลักษณะสีเหลือง เมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเข้มในที่สุด มีกลิ่นเหม็นคล้ายน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำตามโรงพยาบาล ซึ่งสารพิษที่ปล่อยออกมานี้ สามารถฆ่าได้แต่ สัตว์เล็กๆ เช่น มดเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในคนแต่อย่างใด
แสดงให้เห็นว่ากิ้งกือไม่มีกลไกที่จะทำร้ายคนได้เลย พิษของกิ้งกือ กิ้งกือบางสารพันธุ์ที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดสองข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ ไกล พิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี สารพิษของกิ้งกือประกอบด้วยสารกลุ่ม ไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) ฟีนอล (Phenol) กลุ่มเบนโซควินินและไฮโดรควิโนน (Benzoquinones/hydroquinones)
อาการ พิษของกิ้งกือมีฤทธิ์ ทำให้ผิวหนังไหม้ แผลไหม้จะมีอาการปวดอยู่ 2-3 วัน รวมทั้งจะมีอาการระคาย เคืองร่วมด้วย และถ้าสารพิษเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบได้ การดูแล เมื่อถูกพิษของกิ้งกือทำได้โดยการล้างแผล ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณที่ถูกพิษ เพื่อล้างสารพิษ ออกให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากพิษเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำอุ่น และ ปรึกษาจักษุแพทย์ทันที