วันแรกที่ทารกน้อยถือกำเนิดมาบนโลกนี้ หลังจากหมอดูดน้ำคล่ำในช่องปากเพื่อเปิดการแสดงออกต่อโลกใบใหม่ สิ่งที่เด็กตอบสนองคือการร้องไห้กระจองงองแง เพื่อเปิดรับอากาศเข้าไปในปอดเป็นครั้งแรก
เค้าหยุดการกรีดร้องนี้เมื่อมีผ้ามาห่อหุ้มพร้อมอ้อมกอดอันอบอุ่นและการกระตุ้นความสุขที่ปาก
จากพฤติกรรมนี้เราจะเห็นได้ว่าทารกน้อยคนนี้เกิดมาพร้อมกับความทุกข์และความต้องการที่จะมีความสุข
ดังที่เรียกร้องตั้งแต่วันที่เกิดมา แล้วเราทุกคนก็ต่างเคยเป็นเด็กทารกน้อยคนนั้นมาก่อน
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจถ้าเราจะรู้สึกไม่ชอบความทุกข์และอยากมีความสุขตลอดเวลา
เมื่อมีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่ได้เป็นดั่งที่คิด ได้ยินเสียงที่ไม่อยากได้ยินมากระทบ
ทั้งที่เราก็รู้สึกว่าฉันทำดีแล้ว ฉันคิดดีแล้ว ฉันพูดถูกแล้ว กลับยังไม่ดีพอแล้วตกลงฉันควรฟังใคร
ฉันควรคิดอย่างไร ฉันควรทำอะไร แล้วอะไรคือความจริง
ความจริงคือ ความทุกข์คือส่วนหนึ่งของชีวิต
ทุกข์จากอะไร
1.การมีขอบเขตและกำแพงของตัวเอง ตัวกู ของกู (ทั้งที่ความจริงเราเกิดมาเพื่ออิงอาศัย)
2.การพยายามรักษาสภาวะทุกข์อย่างให้ตัวเองรู้สึกดีเหมือนเดิม เพื่อนต้องรักเราเหมือนเดิม ต้องมีชื่อเสียงเท่าเดิม ต้องมีเงินไม่น้อยกว่าเดิม อื่นๆ (ทั้งที่ความจริงชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงและไม่มีอะไรเหมือนเดิมตลอดเวลา)
3.พยายามแสวงหาความสุขหลีกเลี่ยงความทุกข์ (ทั้งที่ความจริงเราเลี่ยงทุกข์ไม่ได้)
( จากหนังสือ สมองพุทธะ)
ความจริงคือปกติ คิดตามแล้วรู้สึกเป็นปกติ ได้ยินแล้วรู้สึกปกติ ทำตามแล้วรู้สึกปกติ
และการมีความสุขคือทักษะอย่างนึงที่เราฝึกฝนได้ เพราะสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดและจิตใจของเรา ( Psychological mind ) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ
1.สมองส่วนหน้า ( Frontal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การรับรู้ ความคิด สติปัญญา สมาธิ การมีเหตุผล การแก้ปัญหา
2.สมองส่วนการเก็บข้อมูล ( Parietal lobe ) ทำหน้าที่ในการรวบรวมและประมวลข้อมูลความรู้สึก
3. สมองส่วนระบบลิมบิก ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่ออารมณ์ พฤติกรรม สัญชาติญาณความต้องการในด้านต่างๆ และความจำระยะยาว
ซึ่งเมื่อเราเกิดมาสมองส่วนที่สามจะทำงานเป็นหลักเพื่อให้ชีวิตเราอยู่รอด เพื่อให้สมองส่วนที่หนึ่งและสองค่อยๆเติบโตตามพัฒนาการและการฝึกฝน เพื่อให้เราสามารถมีชีวิตที่สมดุลและหลากหลายได้
ดังนั้นเราสามารถฝึกฝนสมองให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ในทุกส่วนได้รวมถึงการมีความสุข
เหมือนเราฝึกเดิน ฝึกพูด ฝึกขับรถ ฝึกเล่นดนตรี ทั้งที่ไม่เคยเป็นก็เป็นได้
เพราะการฝึกฝนทำให้สมองของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
ฝึกอย่างไร?
1. ฝึกที่จะช้าลง สังเกตอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเองอย่างซื่อสัตย์ เปิดใจยอมรับและไม่ตัดสิน
2.ความเพียรในการปล่อย ปล่อยความคิด ความรู้สึกที่เราต่อยอดมาจากการรับรู้
3.เพิ่มอารมณ์ที่เป็นบวก ช้าลงเพื่ออิ่มเอมกับความดีและคุณค่า แม้เป็นสิ่งเล็กน้อย
การฝึกตนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สมองเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
ที่สำคัญ เราจะมีความสุขจากการมีความรักและเมตตาต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างแท้จริง
**เพราะความสุขเป็นทักษะที่เราฝึกฝนได้**
Youtube : https://youtu.be/X2ZlC3Q1muc พาไปทานอาหารเช้าแถวบ้าน
----------------------------------------------------------------------------
Page FB ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549
----------------------------------------------------------------------------
IG : https://www.instagram.com/earnpiyada/
----------------------------------------------------------------------------
Website : http://www.earnpiyada.com/
หมอเอิ้น พิยะดา
ความเห็น 9
ใช่เลย ฉันทำมาแล้วและสามารถเก็บอารมณ์ร้อนได้ดีและมีเหตุผลในเชิงบวก คนที่ชอบใช้อารมณ์ในการตัดสินใจควรฝึกเป็นอย่างยิ่ง
13 มี.ค. 2562 เวลา 12.45 น.
การมีสติและปัญญาย่อมที่จะนำพาความสุขมาให้ได้เสมอ.
13 มี.ค. 2562 เวลา 14.23 น.
ละนันทิ ละความเพลิน อานาปานสติ
13 มี.ค. 2562 เวลา 12.52 น.
ดับทุกข๋์ ตามหลักธรรมะ. อริยสัจสี่ประการ
11 เม.ย. 2562 เวลา 02.34 น.
Nichapon
#แค่มีเธอ ก็เปลี่ยนโลกนี้ไปทั้งใบ
26 มี.ค. 2562 เวลา 04.49 น.
ดูทั้งหมด