โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

ยานต้นแบบของสเปซเอ็กซ์ ระเบิดระหว่างทดสอบ

เดลินิวส์

อัพเดต 10 ธ.ค. 2563 เวลา 07.58 น. • เผยแพร่ 10 ธ.ค. 2563 เวลา 03.49 น. • Dailynews
ยานต้นแบบของสเปซเอ็กซ์ ระเบิดระหว่างทดสอบ
ยานพาหนะต้นแบบ “สตาร์ชิป” ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ เกิดภาวะขัดข้องและระเบิดระหว่างลงจอด ในการทดสอบที่รัฐเทกซัส แต่อีลอน มัสก์ ยืนยันว่า “ได้ข้อมูลครบตามต้องการ”

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ว่าบริษัทสเปซเอ็กซ์ทดสอบประสิทธิภาพของยานพาหนะต้นแบบ "สตาร์ชิป" ( Starship ) ซึ่งวางแผนให้เป็นจรวดโดยสารขนาดใหญ่ นำมนุษย์เดินทางสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร และเป็นยานพาหนะที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยยานที่ใช้ทดสอบซึ่งมีรหัส "เอสเอ็น8" หรือ "สตาร์ชิป หมายเลข 8" ออกเดินทางจากฐานยิง ที่เมืองบราวน์สวิลล์ ในรัฐเทกซัส เมื่อช่วงเย็นของวันพุธตามเวลาท้องถิ่น และวางแผนให้จรวดพุ่งขึ้นสูงสุดที่ระดับ 12.5 กิโลเมตร

 

NEW: Unmanned SpaceX Starship test flight explodes during landing. There was no one on board the ship. https://t.co/tagzR9e9CJ pic.twitter.com/mvdZvvD2dD

— ABC News (@ABC) December 9, 2020

 

อย่างไรก็ตาม หลังจรวดออกเดินทางไปได้เพียง 4 นาทีกับอีก 45 วินาที ปรากฏว่าเครื่องยนต์ที่ 3 ของจรวดหยุดการทำงาน และเกิดการระเบิดในช่วงที่ยานพยายามลงจอดบนพื้นดิน รวมระยะเวลาการทดสอบยานต้นแบบเอสเอ็น8 ซึ่งมีความสูง 50 เมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เมตร เพียง 6 นาที กับอีก 42 วินาที

 

Starship landing flip maneuver pic.twitter.com/QuD9HwZ9CX

— SpaceX (@SpaceX) December 10, 2020

 

ด้านนายอีลอน มัสก์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ( ซีอีโอ ) ของสเปซเอ็กซ์ กล่าวว่า เดิมทีปีกของจรวดเตรียมนำยานกลับมาลงจอดยังตำแหน่งที่กำหนดไว้แต่แรก ทว่าความดันภายในถังเชื้อเพลิงกลับลดลงต่ำอย่างฉับพลัน ยานจึงตกลงมาเร็วเกินไป  แต่ยืนยันว่าเขาและทีมงานได้ข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการจากการทดสอบครั้งนี้ เพื่อนำไปปรับปรุงสำหรับการทดสอบครั้งต่อไป อนึ่ง มัสก์และทีมงานคาดการณ์ตั้งแต่แรกแล้วว่า การทดสอบครั้งนี้มีโอกาส "ประมาณ 30%" เท่านั้น "ที่จะสำเร็จอย่างสมบูรณ์".

เครดิตภาพ : REUTERS

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0