โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เภสัชศาสตร์ ม.มหิดล เล็งปรับหลักสูตรเน้นเรื่องวัคซีน 

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 02 ส.ค. 2564 เวลา 11.06 น. • เผยแพร่ 02 ส.ค. 2564 เวลา 10.23 น.
Untitled design - 2021-08-02T172203.995

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล วางแผนปรับหลักสูตรเพิ่มเรื่อวัคซีน เพื่อให้นักศึกษาออกไปให้ความรู้และข้อมูลกับผู้ป่วย-ประชาชน

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรสุรกิจ นาทีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วิกฤต COVID-19 ทำให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของเรื่องของวัคซีน และการจัดการโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางสาธารณสุขทุกวิชาชีพ รวมถึงเภสัชกร จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง

ซึ่งที่ผ่านมาการเรียนการสอนหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจจะไม่ได้เน้นเรื่องวัคซีนเท่าที่ควร ทางคณะ จึงได้วางแผนจะปรับหลักสูตรเพิ่มเติมทั้งในส่วนปริมาณ และความลึกในเรื่องของการสอนเกี่ยวกับเรื่องของวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้นักศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมที่จะออกไปให้ความรู้ ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป ให้ได้ทราบถึงหลักการพื้นฐานในการป้องกันตัวเอง รวมถึงประโยชน์และอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีนรูปแบบต่าง ๆ

ส่วนอีกเรื่องที่กำลังจะดำเนินการต่อไป เพื่อต่อยอดจากที่ผ่านมาซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปทำให้กระบวนการสอนออนไลน์สามารถทำได้อย่างปลอดภัย โดยการริเริ่ม “เรียนแล็บออนไลน์” เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทักษะทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการจัดหาอุปกรณ์และน้ำยาที่ปลอดภัย พร้อมคู่มือส่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองกับคลิปวีดิทัศน์ที่ใช้เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์

ทำให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในส่วนของนักศึกษาและอาจารย์ ในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับการศึกษาในรูปแบบใหม่ดังกล่าว ก้าวต่อไปจะได้มีการ “ทดลองสอบออนไลน์” เพื่อซักซ้อมความเข้าใจระหว่างอาจารย์และนักศึกษา โดยเป็นการทดลองสอบที่ไม่ได้ใช้เป็นคะแนนจริงหรือข้อสอบจริง แต่จะเป็นการทดสอบระบบก่อนและหลังการเรียนออนไลน์ จากนั้นค่อยเดินหน้าทำการสอบจริงในวิชาเบื้องต้น ประมาณ 2 – 3 วิชาก่อน จนเกิดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพมากพอ จึงจะขยายผลไปใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป

ในฐานะบุคลากรทางวิชาชีพเภสัชกร บทบาทหลัก คือ การส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของประชาชน และในฐานะสถาบันอุดมศึกษาทางเภสัชศาสตร์ เราจะไม่ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนย่อหย่อนลงไปเช่นกัน แม้จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตนี้ก็ตาม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0