เป็นวิกฤติที่ยังต้องรับมือ และจัดการแก้ไขปัญหากันอยู่ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมจากแม่น้ำมูลที่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูงจนท่วมบ้านเรือนในจังหวัดอุบลราชธานีจนเสียหายอย่างหนัก จนตอนนี้กลายเป็นพื้นที่ภัยพิบัติไป 3 อำเภอแล้ว ซึ่งตอนนี้สถานการณ์ก็ได้รับความช่วยเหลือจากหลายภาคส่วน มีจิตอาสาหลายกลุ่มที่เข้าไปช่วยเหลือทั้งในพื้นที่ หรือเรี่ยไรเงินบริจาค ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการเข้าไปเยียวยาผู้ประสบภัย
ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหากับเหตุการณ์น้ำท่วมมาตลอด ทั้งในแง่การรับมือกับสถานการณ์ การจัดการ และการเยียวยาผู้ประสบภัย โดยสาเหตุมาจากการจัดการน้ำอย่างไม่ยั่งยืน เพราะนอกจากอุทกภัยแล้วนั้น ในช่วงหน้าแล้งไทยก็ประสบปัญหาขาดน้ำด้วยอีกเช่นกัน การจัดการน้ำอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วันนี้ #ลัดเลาะลอบโลก ขอพาทุกคนไปรู้จักกับระบบจัดการน้ำของประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษในการเอาชนะน้ำท่วม
บทเรียน 40 ปีของเนเธอร์แลนด์ สู่ระบบการจัดการน้ำที่ดีที่สุดในโลก
รู้หรือไม่ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำท่วมประเทศหลายครั้งมาเป็นเวลาร้อย ๆ ปี และยิ่งในสถานการณ์ที่โลกต้องพบกับสภาวะโลกร้อน ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง การเพิ่มขึ้นของน้ำฝนที่ตกลงมา รวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ภัยคุกคามจากน้ำท่วมก็เพิ่มขึ้น เมื่อเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงเป็นสาเหตุให้เนเธอร์แลนด์พัฒนาระบบการจัดการน้ำต่าง ๆ เช่น กังหันลม ปั้มน้ำไฟฟ้า และกำแพงกั้นน้ำมาอย่างยาวนาน จนเนเธอร์แลนด์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในด้านการวิศวกรรมการจัดการน้ำเลยทีเดียว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งที่ใหญ่และรุนแรงที่สุดของเนเธอร์แลนด์ในปี 1953 ก็เลยทำให้เกิด “โครงการเดลต้า” ที่ใช้เวลากว่า 40 ปี ในการสร้างระบบการจัดการน้ำ ที่นอกจากจะที่ดีที่สุด ก็ถือว่าเป็นระบบที่ได้รับความร่วมมือจากทุกคนในประเทศอีกด้วย
“โครงการเดลต้า” ประกอบด้วยโครงการย่อยทั้งสิ้นถึง 16 โครงการ มีทั้งเขื่อน พนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และกำแพงกันคลื่น โดยส่วนที่เป็นเขื่อนจะทำหน้าที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกัน ซึ่งนอกจะส่งผลดี เพราะตัวชายฝั่งรับน้ำถูกเลื่อนให้อยู่ไกลจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยแล้ว น้ำส่วนที่อยู่ด้านในเขื่อนยังเป็นน้ำสะอาด ซึ่งสามารถใช้ในการเกษตรได้ และประตูระบายน้ำที่ไม่ได้ทำการปิดกั้นน้ำทะเลจากการไหลสู่แม่น้ำด้านในอย่างถาวร แต่จะปิดประตูเฉพาะเวลาที่มีคลื่นลมแรง ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำทะลักเข้าสู่บริเวณที่อยู่อาศัยได้เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องจากว่าจะทำให้ชาวประมงที่ดำรงชีพด้วยการจับปลาทะเล สามารถทำอาชีพดั้งเดิมได้
นอกจากเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมที่ถูกพัฒนาและออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน กำแพงป้องกันน้ำ ป้องตูป้องกันคลื่นขนาดใหญ่ ฯลฯ รวมไปถึงการบริหารการจัดการน้ำที่ดีแล้ว ยังมีการนำ ‘เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ’ มาใช้ในการจัดการและการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เพื่อนำไปทำแผนการต่าง ๆ อีกด้วย รวมไปถึง ‘เทคโนโลยีแบบจำลองทางอุทกวิทยา’ เพื่อพยากรณ์ระดับน้ำล่วงหน้า ประเมินความเสี่ยง รวมถึงการ 'Delta Act' บทบัญญัติระเบียบต่าง ๆ ของโครงการนี้ ที่มอบอำนาจให้กับผู้รับผิดชอบได้ทำงานอย่างคล่องตัวขึ้น จึงถือได้ว่าการจัดการของเนเธอร์แลนด์นั้นครอบคลุมทั้งในแง่ของเทคโนโลยี กฎหมาย และประชาชน ถือว่าเป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วน อย่างแท้จริง
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้ก็ต้องร่วมด้วยช่วยกันติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือกันเท่าที่ทำ และนอกเหนือที่จะต้องร่วมกันก้าวผ่านปัญหาในครั้งนี้ไปแล้ว ยังต้องคิดถึงการสร้างความสำคัญเกี่ยวกับมาตรการการจัดการน้ำของรัฐบาลด้วย เพื่อที่จะเป็นด่านแรกในการรับมือหากเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นอีกครั้ง การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนนั้นมีความสำคัญมาก ๆ เช่นเดียวกับการสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคมให้ได้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่เพิ่มความรุนแรงของการเกิดภัยพิบัติบนโลกนี้ ความร่วมมือร่วมใจทุกภาคส่วนที่ได้เห็นกันตอนนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ☺
อ้างอิง
https://www.billionmindset.com/delta-works-case-study/
https://www.pri.org/stories/2017-07-16/netherlands-always-vulnerable-floods-has-new-approach-water-management
http://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/4486
ความเห็น 111
S.K.
คงยากสำหรับบ้านเราตราบใดที่นักการเมือง+ข้าราชการประจำยังทุจริต และชาวบ้านยังมองว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง นิ่งดายไม่กล้าพูดไม่กล้าบอก ประเทศเนเธอร์แลนด์เขาร่วมมือกันจริงจัง ประชาชนบางส่วนก็ยอมเสียผลประโยชน์ นักการเมืองไม่ทุจริต
21 ก.ย 2562 เวลา 00.40 น.
ไก่ป๊อป
เสียดายยุทธศาสตร์ชาติ20ปีถ้าไม่วางแผนสร้างระบบป้องกันน้ำตั้งแต่ตอนนี้หลายจังหวัดจะจมอยู่ใต้ทะเลภายในไม่กี่ปีแน่ ไอ้ควายตูบไม่มีวิสัยทัศน์เลย
20 ก.ย 2562 เวลา 19.20 น.
Butter Be Better
เวลาเกิดปัญหาชอบบอกเรียนรู้ประเทศที่1ด้านนั้นนี้ แต่ถามตัวเองนับ1ที่จะแก้ยังไม่ทำเลยไทยแลน
20 ก.ย 2562 เวลา 13.16 น.
Iceberg
ผมว่า..อุปสรรคหลักคือคน หลายครั้ง หลายคราวมีให้เห็น ถ้าคนไม่คิดตะเรียนรู้ เเละเปลี่ยนเเปลงก็อยาก ที่เจาประสบความสำเร็จได้ คือเขา..พร้อมจะเรียน มีผิดพลาด ก็เเก้ไขปรับปรุง
20 ก.ย 2562 เวลา 12.45 น.
พัด
น่าอิจฉาปนะเทศที่เจริญแล้ว ประเทศไทยไม่มีวันนั้น ประเทศไทยความเท่าเทียมไม่มี
20 ก.ย 2562 เวลา 09.23 น.
ดูทั้งหมด