วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เพจเฟสบุ๊ก "Royal Thai Embassy - Paris, France - สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส" ได้โพสต์เรื่องราว :
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส นายศรัณย์ เจริญสุวรรณและภริยา พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยประจำกรุงปารีสและสำนักงานที่มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศฝรั่งเศส และข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้เดินทางไปยังเมืองแบรสต์ (Brest) ซึ่งเป็นเมืองท่าตั้งอยู่ทางตะวันตกของฝรั่งเศส เพื่อเตรียมการและเข้าร่วมพิธีประดิษฐานรูปปั้น เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ที่เมืองแบรสต์
โดยรูปปั้นเจ้าพระยาโกษาปานเป็นโครงการริเริ่มโดยสมาคมครูสอนภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย (สคฝท.) เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 333 ปีราชทูตสยามเยือนฝรั่งเศส ซึ่งคณะราชทูตได้ขึ้นท่าที่เมืองแบรสต์ ก่อนเดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2229 และได้เดินทางกลับสยามเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2230 โดยขึ้นเรือที่ท่าเรือเมือง Brest เช่นกัน
ปัจจุบัน นับได้ว่าเมืองแบรสต์ เป็นเมืองที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงมิตรภาพของไทยและฝรั่งเศสเป็นจำนวนมากที่สุดในฝรั่งเศส นับแต่การตั้งชื่อถนนสายหลักของเมืองว่าถนนสยาม ตั้งชื่อสถานีรถ Tramway ว่าสยาม และมีหุ่นจำลองของคณะราชทูตที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมือง (พิพิธภัณฑ์ Tour Tanguy) และยังมีรูปปั้นเจ้าพระยาโกษาปานตั้งอยู่ด้วย โดยเมืองแบรสต์ได้เสนอให้ประดิษฐานรูปปั้น ที่หัวมุมถนน Louis Pasteur ตัดกับถนน Ducouëdic ซึ่งเป็นจุดที่โกษาปานได้ขึ้นท่าที่เมืองแบรสต์เมื่อกว่า 300 ปีที่แล้ว และยังเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนสัญจรผ่านจำนวนมากเนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานีรถกระเช้าไฟฟ้าเพื่อข้ามฝั่งไปยัง les ateliers des capucins ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะจัดกิจกรรมต่างๆ ของชาวเมืองแบรสต์
กิจกรรมต่าง ๆของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ได้เริ่มขึ้นจากพิธีประดิษฐานรูปปั้นโกษาปานเวลา 11:00 น.โดยมีบุคคลสำคัญของฝรั่งเศสเข้าร่วมงานจำนวนมาก อาทิ นาย François Cuillandre นายกเทศมนตรีของเมืองแบรสต์ นาย Ivan Bouchier รองผู้ว่าการจังหวัด Finistère นาย Thierry Mathou อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนีย กระทรวงยุโรปและการต่างประเทศฝรั่งเศส และยังมีประชาชนชาวไทยซึ่งเดินทางมาจากทั่วทุกหนแห่งในฝรั่งเศสและจากประเทศไทยเข้าร่วมงานด้วย เคียงข้างกับชาวเมืองแบรสต์อีกเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้รำกลองยาวไปจนถึงที่ทำการเมืองแบรสต์เพื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง ซึ่งมีการแสดงวัฒนธรรมของไทยจากกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และมีการสาธิตการนวดไทยซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่จับต้องไม่ได้โดยยูเนสโกเมื่อปีที่แล้วอีกด้วย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ขอขอบคุณชาวไทยในฝรั่งเศสที่ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้และได้ช่วยสนับสนุนการจัดงาน ขอขอบพระคุณสมาคมครูสอนภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ธิดา บุญธรรม อุปนายกสมาคมฯ และเมืองแบรสต์ซึ่งได้ร่วมแรงกันจนงานสำเร็จได้ในวันนี้ รวมทั้งคณะกระทรวงวัฒนธรรม และทุกท่านที่ได้เดินทางมาจากประเทศไทย และได้เป็นสักขีพยานของช่วงเวลาที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งของมิตรภาพไทย-ฝรั่งเศส โดยเชื่อมั่นว่ารูปปั้นโกษาปาน จะเป็นหลักฐานของมิตรภาพไทย-ฝรั่งเศสตลอดไป
ชมภาพเพิ่มเติม https://www.facebook.com/ThaiEmbassyParis/posts/894344157651148
[ ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ] ปาน เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ พระมหากษัตริย์อยุธยา และเป็นน้องชายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ซึ่งดำรงตำแหน่งพระคลังระหว่าง พ.ศ. 2200–2226
ปานได้บรรดาศักดิ์ ออกพระวิสุทธสุนทร และได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในสมัยดังกล่าว ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก จุดประสงค์ของฝรั่งเศส คือ เผยแพร่คริสต์ศาสนา และพยายามให้พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสตชน รวมทั้งพยายามมีอำนาจทางการเมืองในอยุธยาด้วยการเจรจาขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมืองบางกอกและเมืองมะริด
คณะทูตไปฝรั่งเศสดังกล่าว ประกอบด้วย ปาน เป็นราชทูต, ออกหลวงกัลยาราชไมตรี เป็นอุปทูต, และออกขุนศรีวิสารวาจา เป็นตรีทูต พร้อมทั้งบาทหลวงเดอ ลีออง และผู้ติดตาม รวมกว่า 40 คน ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 ณ พระราชวังแวร์ซาย และเดินทางกลับเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2230
ปานเป็นนักการทูตที่สุขุม ไม่พูดมาก ละเอียดลออในการจดบันทึกสิ่งที่พบเห็นในการเดินทาง[ต้องการอ้างอิง] ในการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะทูตอยุธยาได้รับการยกย่องชื่นชมจากชาวฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายตะวันออกแต่งทูตไปยังฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงรับรองคณะทูตอย่างสมเกียรติยศ โปรดให้ทำเหรียญที่ระลึกและเขียนรูปเหตุการณ์เอาไว้[ต้องการอ้างอิง]
พระราชสาสน์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กล่าวถึงปานว่า "ราชทูตของพระองค์นี้ รู้สึกว่า เป็นคนรอบคอบ รู้จักปฏิบัติราชกิจของพระองค์ถี่ถ้วนดีมาก หากเรามิฉวยโอกาสนี้เพื่อเผยแพร่ความชอบแห่งราชทูตของพระองค์บ้าง ก็จะเป็นการอยุติธรรมไป เพราะราชทูตได้ปฏิบัติล้วนถูกใจเราทุกอย่าง โดยแต่น้ำคำที่พูดออกมาทีไร แต่ละคำ ๆ ก็ดูน่าปลื้มใจ และน่าเชื่อถือทุกคำ
– พระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึงพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2230 ความสำเร็จจากการทูตดังกล่าว ทำให้ปานได้ฉายาว่า ราชทูตลิ้นทอง หรือนักการทูตลิ้นทอง"
เครดิต : Royal Thai Embassy - Paris, France - สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
ความเห็น 6
🕉️พลัฎฐ์ 246🐓🐄
เพราะละครบุพเพสันนิวาส ทำให้เรารู้จักท่านมากขึ้นเเละเข้าใจประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยาได้เร็วขึ้นอีกด้วย
16 ก.พ. 2563 เวลา 17.16 น.
August
ประเทศนี้ทำเราเจ็บมาเยอะ จนมาถึงทุกวันนี้ยังผลิตบัณฑิตคลั่งลัทธิปฏิวัติฝรั่งเศสมาหลอกหลอนเราอีก
ทั้งที่ประเทศยานแม่มีปัญหามากมาย ผู้คนไม่เป็นมิตร จิตใจแข็งกระด้าง (ส่วนใหญ่เลย) โจรขโมยมากมาย ปฏิวัติล้มระบอบมาไม่มีอะไรดีขึ้นอีกเลย มีแต่คงที่และถดถอย
16 ก.พ. 2563 เวลา 18.51 น.
NAPHAT
เสียดายบั้นปลายท่านลำบากจัด
16 ก.พ. 2563 เวลา 17.37 น.
อิ๊ด Lion
เศษฝรั่งมาแบ่งแยกเอาแผ่นดินไทยไปให้พม่า เขมร
16 ก.พ. 2563 เวลา 23.52 น.
โกษาปาน คือ บรรพบุรุษสายเลือดของ ร.1
เทียบเท่า ในหลวง ของในหลวง
เป็นพระโพธิสัตว์ แน่แท้
ทรงพระเจริฐ
16 ก.พ. 2563 เวลา 17.09 น.
ดูทั้งหมด