โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อสังหาริมทรัพย์

เช่าห้องหรืออยู่บ้านพ่อแม่ไปก่อน ระหว่างรอซื้อบ้าน หลังแต่งงานเสร็จ

DDproperty

เผยแพร่ 08 ส.ค. 2564 เวลา 08.53 น.
เช่าห้องหรืออยู่บ้านพ่อแม่ไปก่อน ระหว่างรอซื้อบ้าน หลังแต่งงานเสร็จ
เช่าห้องหรืออยู่บ้านพ่อแม่ไปก่อน ระหว่างรอซื้อบ้าน หลังแต่งงานเสร็จ

ก่อนแต่งงาน มีหลายเรื่องให้ต้องเตรียม นอกจากการเตรียมงานแต่งงาน ยังต้องเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย ที่ต้องตกลงกันให้ชัดก่อนแต่งงาน แต่งแล้วจะซื้อบ้านแล้วแยกครอบครัวออกมาอยู่กันสองสามีภรรยา หรือว่าจะอยู่บ้านของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุผล ความพร้อม และข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย

สำหรับคู่แต่งงานที่เลือกแยกออกมาอยู่กันสองสามีภรรยา แต่ยังไม่ได้ซื้อบ้าน เพราะเงินก้อนที่เก็บไว้ยังไม่พอ หรือบางคู่มีที่ดินอยู่แล้วเลยเลือกสร้างบ้าน แต่เพิ่งจะได้ฤกษ์ลงเสาเข็ม ก็ต้องมาคิดต่อว่าช่วงที่รอซื้อบ้าน หรือรอบ้านสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่อาศัย จะเช่าห้องหรืออยู่บ้านพ่อแม่ไปก่อนดีในระหว่างนี้ 

Subscription Banner for Article
Subscription Banner for Article

เช่าห้อง 4 ปัจจัยที่คู่แแต่งงานใหม่ต้องพิจารณา

สำหรับคนที่เลือกเช่าห้อง นอกจากสัญญาเช่าที่ต้องดูให้รอบคอบ กำหนดระยะเวลาเช่าให้ชัดเจนว่าจะเช่าห้อง 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ยังมีอีกหลายเรื่องให้ต้องพิจารณา มาดูว่าแต่ละปัจจัยสำคัญอย่างไร

 

1. รูปแบบห้อง: ห้องเปล่า vs ห้องพร้อมเฟอร์นิเจอร์

เช่าห้องแบบไหน คู่แแต่งงานใหม่เลือกเช่าห้องพักหรือเช่าคอนโด แม้จะมีรูปแบบห้องให้เลือกหลากหลาย แต่อยู่ด้วยกันแค่ 2 คน รูปแบบห้องที่เหมาะสม คือ เช่าห้องสตูดิโอ หรือ 1 ห้องนอน ที่ต้องมาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง เช่น ฟิตเนส สระว่ายน้ำ ระบบรักษาความปลอดภัย และที่จอดรถ

แนะนำให้เช่าห้องที่ Built-in เฟอร์นิเจอร์ครบ เก็บกระเป๋าเข้าอยู่ได้ทันที สะดวกกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาขนย้ายเข้าและย้ายออก ถ้าเช่าห้องเปล่านอกจากจะมีความยุ่งยาก เสียเวลา เสียค่าขนย้ายแล้ว อาจจะต้องเสียเงินซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่อีกด้วย   

เลือกขนาดห้องคอนโดเท่าไหร่ให้เหมาะกับคุณ
เลือกขนาดห้องคอนโดเท่าไหร่ให้เหมาะกับคุณ

Guide

เลือกขนาดห้องคอนโดเท่าไหร่ให้เหมาะกับคุณ

2. ราคาสบายกระเป๋า: เช่าห้องต้องไม่แตะเงินออม

ราคาสำหรับจ่ายค่าเช่าห้อง โดยทั่วไปจะประมาณ 6,000-15,000 บาท โดยราคาจะสัมพันธ์กับทำเลเป็นหลัก เช่น อยู่ใกล้ถนนใหญ่ เดินทางสะดวก ยิ่งเดินทางสะดวกมากเท่าไหร่ ราคาเช่าห้องก็จะยิ่งสูงมากเท่านั้น

ถ้าอยากได้ราคาสบายกระเป๋าลงอีกนิด อาจต้องดูทำเลที่ไกลออกไปอีกหน่อย เช่น อยู่ในซอย ต้องต่อรถ หรือห่างจากตัวเมืองออกไป และควรคำนวณดูด้วยว่าอยู่ไกล ถูกกว่า แต่ค่าเดินทางเพิ่ม หรืออยู่ใกล้ แพงกว่า แต่ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง

นอกจากนี้แล้ว การเช่าห้องยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น เงินมัดจำ ค่าเช่าล่วงหน้า ค่าขนย้ายของกรณีเช่าห้องเปล่า ถ้าวางแผนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ดี เงินออมที่มีก็อาจจะกระทบได้ 

ห้องเช่า อพาร์ทเม้นท์ให้เช่าราคาถูก

 

3. ขนาด: เช่าห้องขนาดพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป

เช่าห้องสตูดิโอส่วนใหญ่ จะมีขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 30 ตารางเมตร ส่วน 1 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ใช้สอยจะเริ่มตั้งแต่ 30-50 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดห้องที่กำลังดีในการอยู่ด้วยกันแบบอบอุ่นสองคนตามประสาคู่รัก และยังดูแลง่ายในกรณีที่ทำความสะอาดกันเอง หรือต่อให้ใช้บริการทำความสะอาด ก็อยู่ในแพ็กเกจเล็ก ๆ ที่ราคารับได้ ยังไม่นับรวมค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายตามขนาดห้อง เพราะฉะนั้นอยู่ชั่วคราว อยู่ 2 คน เลือกขนาดพอดี ๆ ที่อยู่แล้วไม่อึดอัด แถมประหยัดด้วยน่าจะดีกว่า 

 

4. ทำเล: เดินทางสะดวก ใกล้ที่ทำงาน

ไม่ว่าจะเช่าห้องหรือซื้อบ้าน ทำเลการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณา คู่แต่งงานข้าวใหม่ปลามัน อยากกลับบ้านเร็ว ๆ มาใช้เวลาอยู่ด้วยกัน ก็ต้องเลือกทำเลที่เดินทางสะดวก ใช้เวลาในการเดินทางน้อยที่สุด

การเช่าห้องอยู่ใกล้ที่ทำงานของทั้งคู่ ดูจะเป็นคำตอบที่ลงตัวที่สุด เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทาง และเพิ่มเวลาในการพักผ่อน แต่ถ้าที่ทำงานของทั้งคู่อยู่ห่างกัน ก็ต้องหาจุดกึ่งกลาง หรือมีใครที่เสียสละเดินทางไกลกว่าเพื่อให้อีกฝ่ายสะดวกขึ้น

 

เช่าบ้าน หรืออยู่บ้านพ่อแม่ มีข้อพิจารณาแตกต่างกัน
เช่าบ้าน หรืออยู่บ้านพ่อแม่ มีข้อพิจารณาแตกต่างกัน

 

อยู่บ้านพ่อแม่ 4 วิธีเตรียมตัวอย่างไร ให้ผู้ใหญ่เอ็นดู 

ส่วนใครที่เลือกอยู่บ้านพ่อแม่ไปก่อนในระหว่างนี้ ก็มีปัจจัยให้ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน หลายคนอาจจะเคยได้ยินปัญหาแม่ผัว-ลูกสะใภ้ หรือพ่อตา-ลูกเขย ทำให้ถ้าเลือกได้ก็อยากย้ายออกมาอยู่กันเองมากกว่า แต่เมื่อต้องอยู่ด้วยกัน ก็ต้องมีการเตรียมตัว จะอยู่อย่างไรให้ผู้ใหญ่เอ็นดู เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

1. เข้าใจ: พื้นฐานครอบครัวต่างกัน

การย้ายเข้าไปอยู่บ้านพ่อแม่ของอีกฝ่ายหลังแต่งงาน แค่เรียนรู้นิสัยใจคอของพ่อแม่อาจไม่เพียงพอ แต่ยังต้องรู้จักพื้นฐานครอบครัวของกันและกันเป็นอย่างดีด้วย เช่น วัฒนธรรมในบ้านที่ต่างกัน จะปฏิบัติตัวต่อกันอย่างไร ทำอย่างไรพ่อแม่ของอีกฝ่ายจะรักและเอ็นดู และพร้อมปรับตัวให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องภายหลัง

 

2. ปรับตัว: เรียนรู้ที่จะปรับตัวและสานสัมพันธ์

หลายคู่อาจรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว หรือไม่สะดวกใจนัก เมื่อต้องอยู่บ้านเดียวกับพ่อแม่ของอีกฝ่าย ส่วนหนึ่งเพราะเวลาอยู่กับผู้ใหญ่จะรู้สึกเกร็ง ไม่เป็นตัวของตัวเอง แม้จะไม่ได้มีปัญหากันในเรื่องความสัมพันธ์ แต่อิสระในการทำตามอำเภอใจลดลง ไม่เหมือนเวลาอยู่กันสองคน หรืออยู่บ้านใครบ้านมัน ดังนั้นต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ทั้งแบบส่วนตัว และแบบเป็นครอบครัว มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย รวมถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว 

 

3. เปิดใจ: มองข้ามเรื่องบางเรื่องไปบ้างก็ได้

กว่าจะฟันฝ่าหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันจนมาถึงวันแต่งงาน สำหรับบางคู่นั้นไม่ง่าย และนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นในบทบาทใหม่ของชีวิตคู่ แต่การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวนั้น บางทีอาจจะเป็นเรื่องที่ยากกว่า เพราะแต่ละคน แต่ละครอบครัว มีความแตกต่างกันทั้งด้านความคิด การแสดงออก การปฏิบัติตัวที่อาจสร้างปัญหา หรือทำให้ไม่พอใจได้ ซึ่งก็อาจจะต้องมองข้ามเรื่องเล็กน้อยหรือหยุมหยิมเหล่านั้นไปบ้าง เพราะถ้าเก็บมาคิดเล็กคิดน้อย ก็อาจจะบั่นทอนความสัมพันธ์

 

4. ดูแลเอาใจใส่: รักเราต้องรักครอบครัวเราด้วย

นอกจากดูแลเอาใจใส่กันและกันในบทบาทของสามีภรรยาแล้ว ต้องขยายการดูแลเอาใจใส่นั้นเผื่อแผ่ไปถึงครอบครัวของกันและกันด้วย เช่น ยกครอบครัวพากันไปเที่ยว ช้อปปิ้ง รับประทานอาหารนอกบ้าน หรือซื้อของฝาก ขนม ผลไม้ ติดไม้ติดมือเข้าบ้านเสมอ ๆ ตลอดจนการช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายภายในบ้าน รับรองชนะใจ ผู้ใหญ่รักและเอ็นดูแน่นอน

กู้ร่วม เรื่องต้องรู้ก่อนคิดซื้อบ้าน-คอนโดร่วมกัน
กู้ร่วม เรื่องต้องรู้ก่อนคิดซื้อบ้าน-คอนโดร่วมกัน

Guide

กู้ร่วม เรื่องต้องรู้ก่อนคิดซื้อบ้าน-คอนโดร่วมกัน

การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน การวางแผนเรื่องที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขและความสัมพันธ์ในระยะยาว ดังนั้น ก่อนการแต่งงานควรตัดสินใจให้รอบคอบว่าเมื่อแต่งงานแล้วจะแยกออกมาอยู่กันสองคน หรือว่าย้ายเข้าไปอยู่บ้านฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และเลือกเช่าห้องอย่างไร ระหว่างรอซื้อบ้านใหม่หรือบ้านที่สร้างไว้แล้วเสร็จ

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0