นายกฯ ลุยหารือ ผู้บริหารด้านการเงิน-บิ๊กมือถือจีน ชวนขยายการลงทุนสาขาประกันภัย-ขยายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สู่ตลาดโลก ภาคเอกชนจีนขานรับ
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 17 ต.ค.2566 (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่งซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชม.) ที่โรงแรมไชน่าเวิลด์Mr. Xie Yonglin, Executive Director, President, Co-CEO เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง
โดยบริษัท Ping An เป็น 1 ใน 3 ของผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของจีน บูรณาการด้านการเงินและการบริการด้านสุขภาพเข้าด้วยกัน รวมถึงธุรกิจประกันภัย ซึ่งปี 2565 Ping An Group อยู่ในอันดับที่ 25 ของการจัดอันดับ Fortune Global 500 (อันดับ 4 หากจัดประเภทบริษัททางการเงินทั่วโลก) อันดับที่ 4 ของ Fortune China 500 และอันดับที่ 17 ของ Forbes Global 2000
นายกฯ หารือกับผู้บริหารPing An Group
นายกฯ กล่าวขอบคุณ Ping An ที่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลและศักยภาพของไทย ซึ่งบริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนาน มีธุรกิจครบวงจรเกี่ยวกับการเงิน medical care สำหรับผู้สูงอายุ และการแพทย์ ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ สาธารณสุข จึงคิดว่าสามารถร่วมมือกับไทยได้
นายกฯ ได้เชิญชวนให้มาลงทุนในไทยมากขึ้น ไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากบริษัท ในทุกด้านที่บริษัทเชี่ยวชาญ เช่น healthcare การเงิน ทั้งนี้ ขอให้พิจารณาไทยเป็นประเทศแรก ซึ่งไทยมีบริการด้านสุขภาพเป็นที่ยอมรับ เหมาะสำหรับบริษัทฯที่จะเข้าไปร่วมมือและลงทุน อีกทั้งไทยมีความร่วมมือด้านวีซ่าฟรี ซึ่งทั้งการประกัน และ healthcare จะขยายธุรกิจต่อเนื่องได้
ผู้บริหาร Ping An กล่าวย้ำว่า จีนนิยมไปไทยในอันดับต้นๆ ทั้งท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล รวมถึงการหาที่อยู่ในระยะยาว ซึ่งทางบริษัทสนใจอย่างมากหลังได้พบและหารือกับนายกฯ ที่ได้ให้ข้อมูลและเห็นโอกาส พร้อมตั้งคณะทำงานศึกษาร่วมกันอย่างจริงจัง
ต่อมาเวลา 13.00 น. Mr. Alain Lam, Vice President, CEO เข้าเยี่ยมคารวะ นายเศรษฐา โดย Xiaomi เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีนวัตกรรมขั้นสูง สร้างอุตสาหกรรมดิจิทัลที่หลากหลาย โดดเด่นในการผลิตโทรศัพท์มือถือที่ปฏิบัติการบนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Android
นายกฯ หารือกับผู้บริหารXiaomi
นายกฯ กล่าวขอบคุณที่บริษัทเชื่อมั่นในประเทศไทย และพร้อมสนับสนุนการขยายตลาดและการลงทุนในไทย เชื่อว่าไทยมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจที่บริษัทจะได้ประโยชน์ในการลงทุนและขยายตลาดในพื้นที่ และขอให้ขยายการลงทุนการค้าในไทย ขอบคุณการถ่ายทอดเทคโนโลยี R&D (การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี)
สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ จะเป็นโอกาสของบริษัท ในการร่วมกันพัฒนาในกรอบความถี่วิทยุและเส้นทาง หรือ BRI ซึ่งบริษัทฯ กำลังมองหาสถานที่ผลิต หรือโรงงานการผลิต เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจในหลายๆด้านที่เกี่ยวข้อง แม้แต่รถยนต์ EV
นายกฯ กล่าวย้ำว่า ขอให้ความมั่นใจในการเป็นศูนย์การผลิตรถยนต์ EV ของภูมิภาค ด้วยปัจจัยสนับสนุนที่พร้อม และสภาพแวดล้อมที่ได้เปรียบ ไทยเป็นประเทศแรกที่ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับ carbon credit ทั้ง supply and demand sides มีผู้ผลิตหลายรายที่แสดงความประสงค์ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในไทย
นายกฯ อธิบายถึงความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งและโครงการแลนด์บริดจ์ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงการเดินทางขนส่งไปยังจุดต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการเป็นศูนย์กลาง(Hub)
ขณะที่ผู้บริหาร Xiaomi กล่าวว่า ยินดีที่จะขยายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในไทยสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท และนำสู่ตลาดโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะการผลิตของแรงงานไทยควบคู่กับการ training เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือและมีทักษะ
ความเห็น 0