การช้อปปิงผ่านอีคอมเมิร์ชเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นจากนักช้อป จนแบรนด์สินค้า ร้านค้าปลีกต่างๆ รวมถึงผู้ค้ารายย่อย ต่างลงสนามอีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส
ความนิยมซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซในไทยขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนจากสถิติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 60 มีมูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท โดยมีมูลค่ามากที่สุดจากการค้าปลีกและค้าส่ง
อ่านเพิ่มเติม : ที่นี่
เมื่อพูดถึงอีคอมเมิร์ซ ณ เวลานี้คงต้องยกให้ ’LAZADA’ และ’Shopee’ ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดและมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่คล้ายกันมาก จนถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงหรือเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ
แม้ทั้งคู่จะเข้ามาดำเนินการในไทยในช่วงเวลาที่ต่างกัน 'ลาซาด้า' เริ่มเข้ามาในไทยเมื่อ 2555 ส่วน 'ช้อปปี้' ดำเนินธุรกิจในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงปลายปี 2558
แต่ด้วยกลุ่มเป้าหมายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คล้ายกันตั้งแต่ต้น อีกทั้งทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเชื่อมตลาดระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค และขยายตลาดระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคผสมผสานกัน โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าคอมมิชชั่นกับผู้ขาย
การให้บริการที่คล้ายคลึงกันนี้ทำให้เกิดการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ของอีคอมเมิร์ซทั้ง 2 รายใหญ่ จึงเป็นเรื่องปกติของนักช้อปก่อนตัดสินใจเรื่องแพลตฟอร์มที่ให้บริการ
ecommerceiq ซึ่งเป็นเว็บไซต์วิจัยด้านการตลาดในอาเซียน เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของนักช้อปชาวไทย ที่มีต่อ 2 อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ อย่าง ‘LAZADA’ และ ’Shopee’ ในหลายด้าน ตั้งแต่เรื่องชื่อเสียง จนถึงเรื่องความสะดวกสบายในการช้อปปิง
ด้าน ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ลาซาด้าได้ 9.1% ขณะที่ช้อปปี้เป็นรองมีเพียง 5.4% อาจเป็นเพราะเวลาเริ่มกิจการที่ช้ากว่า ทำให้ยังไม่สามารถเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้เท่ากับลาซาด้าที่ออกสตาร์ทในไทยเร็วกว่า 3 ปี
แม่เหล็กตัวสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น ยอมออกจากการช้อปปิงจับต้องสินค้าที่คุ้นชิน คือราคาที่ถูกกว่าในคุณภาพที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน อีคอมเมิร์ซจึงใช้กลยุทธ์หั่นราคา แจกโค้ดลดราคา จัดโปรโมชั่น โดยลูกค้า มองว่าช้อปปี้เหนือกว่าในด้านราคา(ราคาถูกกว่า) โดยลาซาด้าได้ 13.3% ส่วนช้อปปี้ 22.6% ด้านส่วนลดที่ลาซาด้าได้ไป 0.3% และช้อปปี้อยู่ที่ 0.5%
ด้านประเภทสินค้า ลูกค้ามองว่าลาซาด้ามีสินค้าให้เลือกมากกว่าช้อปปี้อยู่เล็กน้อย คือ 14.2% ต่อ 13.2% เนื่องจากทั้งคู่มีสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์โทรศัพท์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงเครื่องสำอาง ทั้งจากผู้ค้ารายย่อย และจากแบรนด์ของสินค้าโดยตรง ทำให้ทั้งคู่มีสินค้าจำนวนมากให้ลูกค้าได้เลือกอย่างอิสระ
การคืนสินค้า คนไทยมองว่าลาซาด้าคืนสินค้าได้ง่ายกว่า คิดเป็น 5.5% และช้อปปี้ 4.1%
ส่วนความเชื่อมั่นว่าสินค้าเป็นของแท้นั้น ลาซาด้าเป็นรองช้อปปี้ อยู่ที่ 0.9% ต่อ 1.2% แม้หลายคนเริ่มคุ้นชินกับการซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซ แต่สิ่งที่ควรจะตรวจสอบและตั้งข้อสังเกตอยู่เสมอคือเรื่องคุณภาพสินค้า เนื่องจากอีคอมเมิร์ซแต่ละแห่งมีสินค้าจากหลากหลายร้านค้า ที่อาจเป็นช่องทางให้ผู้ค้าที่ไม่ประสงค์ดีฉวยโอกาสเอาเปรียบลูกค้าได้
ด้านการบริการลูกค้าที่ดี ลาซาด้าได้ไป 6.2% ส่วนช้อปปี้ได้ 9.4% ลาซาด้าและช้อปปี้ ต่างเปิดให้ลูกค้ากลับมารีวิวสินค้าหรือร้านค้า เพื่อเป็นการยืนยันความพึงพอใจในคุณภาพสินค้า การบริการ เพื่อสะท้อนให้ลูกค้ารายต่อๆไป เห็นถึงความน่าเชื่อถือและนำข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
ส่วนการติดต่อกับผู้ขายลาซาด้า 7.1% ขณะที่ช้อปปี้ถูกมองว่าการติดต่อกับผู้ขายดีกว่า อยู่ที่ 11.9%
เรื่องการจัดส่ง ลาซาด้ากลับเป็นต่อเรื่องจัดส่งเร็ว ได้ไป 10.3% ขณะที่ช้อปปี้ได้ 7.3% อาจเป็นเพราะลาซาด้ามีช่องทางส่งสินค้าที่มากกว่า ทั้ง ไปรษณีย์ไทย, Kerry DHL, Yusen Logistics, JC Logistics, TP Logistics, LEL Express ในขณะที่ช้อปปี้ มีเพียง 3 ช่องทางหลักคือ ไปรษณีย์ไทย,Kerry และ DHL
นอกจากนี้ยังมีเรื่องค่าจัดส่งฟรีที่ลาซาด้าทำได้ดีกว่า คิดเป็น 13.2% ส่วนช้อปปี้มีการจัดส่งฟรีน้อยกว่า อยู่ที่ 7.2% และลาซาด้ามีทางเลือกชำระเงินมากกว่า 12.2% ช้อปปี้ 8.1%
ส่วนเว็บไซต์ใช้งานง่าย ลาซาด้าอยู่ที่ 7.5% ช้อปปี้ได้ไป 9.0%
จากตัวเลขข้างต้นสะท้อนว่าทั้ง ลาซาด้าและช้อปปี้ ไม่มีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งยังมีลักษณะการแข่งขันที่คล้ายกันมาก ที่สำคัญรายได้และกำไรของทั้งคู่ใน 3 ปีที่ผ่านมายังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รายได้รวมและกำไร(สุทธิ) "LAZADA"
2558 ที่ 3,197 ล้านบาท ขาดทุน 1,959 ล้านบาท
2559 มีรายได้ 4,267 ล้านบาท ขาดทุน 2,115 ล้านบาท โดยในปีนี้มีการเปลี่ยแปลงครั้งสำคัญ คือการเข้าซื้อกิจการลาซาล้า ของ อาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศซื้อกิจการของลาซาด้าในช่วงกลางปี
ส่งผลให้ ปีถัดมา (2560) มีรายได้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าเกือบ 3 ใน 4 ส่วนอยู่ที่ 1,757 ล้านบาท และขาดทุน 568 ล้านบาท (อ่านเพิ่มเติม : ที่นี่)
รายได้รวมและกำไร(สุทธิ) "Shopee"
ในปี 2558 ช้อปปี้ ทำรายได้ที่ 8,787 บาท แต่ปรากฎว่า ขาดทุน 211 ล้านบาท
ต่อมาในปี 2559 มีรายได้รวม 56,606 บาท และขาดทุน 529 ล้านบาท
ส่วนปี 2560 รายได้รวม 140 ล้านบาท แต่กลับขาดทุนมากถึง 1,404 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 100%
การแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เริ่มเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเมื่อมีอีคอมเมิร์ซใหม่ๆ กระโดดเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่เพิ่มโอกาสที่ในการเลือกซื้อสินค้า
อย่างไรก็ตามต้องติดตามถึงสถานการณ์ตลาดอีคอมเมิร์ซต่อไปว่า หากความนิยมยังสวนกระแสกับรายได้เช่นนี้ กลุ่มอีคอมเมิร์ซจะปรับตัวอย่างไร
ความเห็น 11
ก็ซื้อทั้งสองเจ้าแหละ ของใหญ่ๆซื้อลาซาด้า ส่งฟรี ของเล็กๆซื้อชอปปี้ เสียค่าส่งเอง เดี๋ยวนี้เงื่อนไขส่งฟรีจุกจิกขึ้นเยอะ แต่ต้องเข้าไปเช็คอินเอาชอปปี้คอยน์ทุกวัน
12 ส.ค. 2561 เวลา 10.35 น.
kin
ตัวเลขมั่วชิบหาย.
12 ส.ค. 2561 เวลา 13.14 น.
Phol.Peak
ลาซาด้า ของห่วย ส่งของมือสองมาให้ ประจำ
12 ส.ค. 2561 เวลา 13.11 น.
•.☾*เหม่งคุง➴*☾
shopee ดีกว่าเยอะ
13 ส.ค. 2561 เวลา 03.02 น.
เคยซื้อของลาซาด้าครั้งเดียว ช็อปปี้ไม่เคย
ไม่ชอบซื้อของออนไลน์ ไม่มั่นใจ มีแต่รูป ของจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ เหมือนเสี่ยงโชค
ต้องเห็นของ จับต้องได้ จึงจะซื้อ!!!
12 ส.ค. 2561 เวลา 16.59 น.
ดูทั้งหมด