โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ชวนดูนโยบายจัดการถุงพลาสติกจาก 7 ประเทศทั่วโลกที่ไม่ต้องเซ็นเซอร์ - ลัดเลาะรอบโลก

LINE TODAY

เผยแพร่ 06 ม.ค. 2563 เวลา 17.00 น. • Pannaput J.

กลายเป็นประเด็นในช่วงที่ผ่านมา สำหรับการเลิกใช้ถุงพลาสติกตามร้านค้า และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ด้วยนโยบายของรัฐบาล 1 มกราบอกลาถุง แม้การเลิกใช้ถุงพลาสติกในประเทศไทยจะมีดราม่าถกเถียงกันอยู่บ้าง เพราะว่ากะทันหันไปสำหรับคนบางกลุ่ม และไม่ได้มีสิ่งรองรับทดแทนการเลิกใช้เท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ดี นอกจากนโยบายของรัฐบาลแล้ว ประชาชนก็มีส่วนสำคัญในการปลูกฝังวัฒนธรรม และนิสัยการเลิกบริโภคพลาสติกอย่างสิ้นเปลืองด้วยเช่นกัน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ต้องใช้เวลา เนื่องในโอกาสนี้ #ลัดเลาะรอบโลก ขอพาไปดูว่าแต่ละประเทศมีแนวทางการจัดการกับถุงพลาสติกกันอย่างไรบ้าง

เริ่มต้นที่ สหรัฐอเมริกา ที่แต่ละรัฐก็มีการจัดการที่แตกต่างกันออกไป อย่าง Washington, D.C. ถือว่าเป็นแห่งแรกที่เป็นผู้นำในเรื่องการหยุดมลพิษจากพลาสติก โดยเริ่มจากการเก็บภาษีถุงพลาสติก และนำรายได้ภาษีไปเป็นเงินเพื่อทำความสะอาดแม่นำ รวมไปถึงก่อตั้งกองทุนเพื่อที่จะผลิตถุงใช้ซ้ำในราคาถูกเพื่อให้กับผู้มีรายได้น้อย และผู้สูงอายุในชุมชน โดยหลังจากที่ดำเนินนโยบายนี้ตั้งแต่ปี 2009 มีการบริโภคถุงพลาสติกลดลงถึง 85 เปอร์เซ็น ทางฝั่ง San Francisco, CA ก็ไม่น้อยหน้า เพราะเป็นเมืองแรกในสหรัฐที่แบนถุงพลาสติกอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2007 โดยนโยบายจะมีการผลักดันให้ใช้ถุงซ้ำ ไม่เช่นนั้นจะต้องซื้อถุงพลาสติกเอง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา มลพิษจากพลาสติกลดลงไปถึง 72 เปอร์เซ็น Seattle, WA ก็เดินหน้าลดมลพิษจากพลาสติกเช่นเดียวกัน โดยในปี 2012 ที่ผ่านมาได้มีการแบนร้านค้าที่ใช้ถุงพลาสติก อีกทั้งยังมีการผลิตถุงจากวัสดุรีไซเคิล และมีภาษีในการใช้ถุงด้วย โดยสิ่งเหล่านี้ก็ส่งผลให้ลดการใช้ถุงพลาสติกใน Seattle ไปถึง 78 เปอร์เซ็น อีกเมืองก็คือ Boston, Ma ที่ใช้มาตรการทั้งการเลิกใช้ และการเก็บภาษี โดยเริ่มต้นในเดือนธันวาคมปี 2018 โดยหลังจากใช้มาตรการก็ก่อให้เกดการแบนถุงใน 60 เมือง อีกทั้งยังมีความตั้งใจที่จะลดการใช้ถุงพลาสติกให้ได้มากกว่า 350 ล้านถุงในแต่ละปีอีกด้วย

อีกเมืองที่น่าสนใจก็คือ Karnataka ประเทศ India ที่มีการแบนถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ยิ่งไปกว่านั้นมีการออกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ ด้วย เช่น ภาชนะพลาสติกที่ใส่อาหาร นโยบายจะกดดันให้ผู้บริโภค, ผู้ผลิต และโรงงานผลิตพลาสติก โดยโรงงานทั้งหมดในรัฐก็ยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แค่ครั้งเดียวทั้งหมด โดยความพยายามเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2016 ก็ทำให้การใช้พลาสติกลดลง รวมไปถึงขยะจากพลาสติกบนท้องถนนและแม่น้ำก็ลดลงด้วยเช่นกัน

ในปี 2017 ประเทศ Kenya ก็เริ่มมีการแบนพลาสติกเช่นเดียวกัน โดยมีการกำหนดโทษที่หนักมาก ทั้งจำคุก และปรับ ถ้าหากมีผู้ผลิตที่ขายพลาสติกที่ขายหรือใช้ถุงพลาสติก ด้วยนโยบายที่ค่อนข้างกะทันหหัน ก็ก่อให้เกิดผลกระทบ แต่ด้วยเป้าหมายที่ต้องการป้องกันเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการประมงในประเทศ

Chile เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการผ่านกฎหมายอย่างเป็นทางการด้วย แต่เป็นเพียงเมืองที่อยู่ชายฝั่งเท่านั้น แต่ก็ครอบคลุมกว่า 200 เมืองจากนโยบาย สำหรับเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นใน Chile เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในด้านท่องเที่ยว ใน Chile ก็มีการปรับในจำนวนเงินที่สูงมากสำหรับธุรกิจที่ผลิตถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีนโยบายในการทำความสะอาดชายหาดด้วย เพราะว่าในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ขยะพลาสติกนั้นมักจะมีอยู่ตามชายหาด นอกจากเป้าหมายที่ต้องการผ่านร่างกฎหมายแล้ว Chile ต้องการที่จะสร้างความตระหนักกับผลกระทบของมลพิษจากพลาสติกในชีวิตทางทะเลด้วย โดยมีความหวังว่าจะสามารถลดมลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทร และน่านน้ำต่าง ๆ ได้

ตั้งแต่ปี 2015 สหราชอาณาจักร เริ่มต้นคิดค่าบริหารเพิ่มเติมสำหรับถุงใส่ของพลาสติกที่ใช้เพียงแค่ครั้งเดียว สิ่งนั้นทำให้ลูกค้าเริ่มนำถุงมาเองเพื่อที่จะไม่ต้องเสียเงินค่าถุง และค่าถุงพลาสติกเหล่านี้ก็จะถูกนำไปเป็นเงินเดือนในการจ้างคนเพิ่มกว่า 200 ชีวิต จากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ทำให้มีการลดการใช้ถุงถึง 80 เปอร์เซ็น ถือว่าเป็นการได้ประโยชน์มาก ๆ จากการยกเลิกการใช้ เพราะนอกจากปริมาณขยะที่ลดลงแล้ว ยังได้ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการทำความสะอาดชายฝั่ง และการจัดการก๊าซคาร์บอนอีกด้วย

Australia มีการแบนการใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่ปี 2011 โดยรัฐบาลก็ส่งเสริมให้พลเมืองนำถุงมาใช้ซ้ำในการซื้อของเพื่อที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการแบนนี้ก็ได้รับความร่วมมือ และประสบความสำเร็จ 1 ใน 3 ของพลาสติกที่สูญเสียไปก็ลดลง และแนวโน้มที่คนจะให้ความร่วมมือก็เพิ่มขึ้น มีการสำรวจว่าคนกว่า 70 เปอร์เซ็นที่ไม่สนับสนุนให้แบน ก็เริ่มที่จะงดใช้แล้วเช่นเดียวกัน

ปิดท้ายด้วยมหาอำนาจอีกประเทศอย่างจีน ที่รัฐบาลเริ่มแพร่กระจายนโยบายการจัดการกับมลพิษจากพลาสติกด้วยการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกแล้วทิ้ง มีการปรับหากห้างร้านไหนใช้ โดยหลังจากประกาศใช้ก็มีการใช้ลดลงถึง 66 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว

นอกจากการออกกฎหมายอย่างเป็นทางการเพื่อที่จะบังคับใช้แล้ว การปลูกฝังจิตสำนึกก็เป็นอะไรที่สำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นส่วนที่ใช้เวลามากที่สุด แต่หากเราทุกคนช่วยกัน รับรองว่าโลกของเราจะน่าอยู่ตลอดไปอย่างแน่นอน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 69

  • P a n d o r a
    เมืองไทย เริ่มวันนี้ก็ยังดีกว่า ไม่เริ่ม และควรห้ามนำเข้าขยะรีไซเคิลจาก ตปท. ด้วย
    07 ม.ค. 2563 เวลา 03.38 น.
  • Damrong Prasurat
    แบนถุงพลาสติกแล้ว...ก็ควรยกเลิกการนำเข้าขยะ..พลาสติก..ขยะอิเล็กทรอนิกเข่ามาในประเทศด้วยจะได้สอดคล้องกับนโยบาย...ไม่ใช่มือถือสากปากถือศีล
    07 ม.ค. 2563 เวลา 05.43 น.
  • ธณกรณ์ (Fc)Tap 10/2
    ไทย งงตรงมีคนต่อว่าเรื่องไม่สะดวกต่างๆนานา คงลืมไปแล้วมั้งว่าสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย เราสมัยนั้นยังไม่มีถุงพลาสติก เขาก็ใช้ชีวิตอยู่กันมาได้
    07 ม.ค. 2563 เวลา 05.22 น.
  • Honeymamee
    http://giftbag.belltastudio.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9/ คัดลอกแล้วไปอ่านดู ถุงกระดาษแบบใช้ได้ก็มีไม่ได้ทำจากต้นไม้ด้วย พวกนายทุนห้างร้านอย่ามาฉวยโอกาสผลักภาระให้ผู้บริโภค กำไรค่าสินค้าก็บวก vat ลูกค้าก็จ่ายเพิ่มให้ตอนท้ายบิล ซื้อของเยอะvatก็แพงตาม ยังจะมาผลิตถุงขายอีก แจกรึไม่ก็ให้ยืมใส่สิ ค้ากำไรเกินควรไปนะ
    07 ม.ค. 2563 เวลา 05.56 น.
  • พีระ
    เลิกผลิตถุงแบบใช้แล้วทิ้ง หรือเก็บภาษีแพงๆ หันมาใช้ถุงกระดาษแทนเหมือนเมื่อก่อน พกถุงผ้าไว้(ในรถ)ตลอดเวลา ถึงเวลาหยิบใช้ได้ทันที จับจ่ายให้น้อยลงซื้อแค่พอถือด้วยมือได้ประหยัดเงินในกระเป๋าได้ดี
    07 ม.ค. 2563 เวลา 06.09 น.
ดูทั้งหมด