บัตรประชาชนหาย ต้องทำอย่างไรบ้าง? ต้องแจ้งความไหม? ทำใหม่ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง อัปเดตปี 2566
บัตรประจำตัวประชาชนคืออะไร?
บัตรประจำตัวประชาชนไทยเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 70 ปี โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามโดยเดิมได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ให้ไปร้องขอทำบัตร ต่อมาลดอายุลงเหลือ 15 ปีในปี พ.ศ. 2526 และ 7 ปี ในปี พ.ศ. 2554
บัตรนี้ถูกใช้เพื่อการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรและรับการบริการจากภาครัฐ รวมทั้งในธุรกิจเอกชนบางประเภท เช่น การเปิดใช้หมายเลขโทรศัพท์ หรือการเปิดบัญชีธนาคาร
บัตรประชาชนหายต้องทำยังไง?
หากทำบัตรประชาชนหายหรือถูกทำลาย สามารถติดต่อขอทำใหม่ได้เลยไม่ต้องแจ้งความเหมือนในอดีต โดยไปติดต่อได้ที่
- สำนักงานเขต
- สำนักงานเทศบาล
- สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
- ที่ว่าการอำเภอ
(ไม่จำเป็นต้องไปขอที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้าน สามารถขอได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย)
โดยหลักๆ ที่ควรทราบคือ
- ติดต่อภายใน 60 วัน นับจากวันที่ทำบัตรหาย หากเกิน 60 วันจะมีเสียค่าปรับ 100 บาท
- เตรียมหลักฐานสำคัญเช่น สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ หรือหนังสือเดินทาง
- กรณีไม่มีหลักฐานข้างต้น สามารถนำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือที่มีอายุเกิน 20 ปี มารับรองได้
- เสียค่าธรรมเนียมในการขอทำบัตรใหม่ 20 บาท
สุดท้ายกรณีบัตรประชาชนสูญหายจะไม่สามารถยื่นขอบัตรใหม่ตามจุดบริการตามห้าง/BTS หรือ BMA Express Service ได้
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ความเห็น 0