สัปดาห์นี้จะมาว่ากันด้วยเรื่องของคำ 4 คำที่ถูกใช้สลับสับสนไปมา มีความหมายที่ดูคล้าย แต่กลับใช้ในโอกาสที่ต่างกัน อันที่จริงแล้วภาษาไทยมีเสน่ห์ที่ความซับซ้อนและมีการลำดับชั้นของภาษาที่มีความหมาย เมื่อใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับกาละเทศะก็จะเสริมความมีเสน่ห์น่ารัก เจรจากับผู้ใหญ่ก็ได้รับความเมตตา หรือจะคุยกับใครก็ได้รับความเกรงใจ… ทั้ง 4 คำที่กำลังจะกล่าวถึงก็คือคำว่า ขอโทษ-ขออภัย และคำว่า ขอบใจ-ขอบคุณ
ขอโทษ - ขออภัย
ทั้งสองคำนี้ดูเผินๆ มีความหมายคล้ายกัน และจะถูกนำมาใช้เมื่อผู้พูดได้กระทำความผิดและต้องการแสดงความเสียใจในการกระทำนั้นๆ ทว่าสองคำนี้มีใช้ในโอกาสที่ต่างกัน
“ขอโทษ” จะถูกใช้เมื่อผู้พูดกระทำการให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ซึ่งความร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นมีความร้ายแรงพอสมควร และสมควรต้องได้รับการลงโทษ อาทิเช่นถอยรถไม่ระวัง ทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามก็สมควรได้รับโทษจากากระทำนั้น และควรใช้คำว่า “ขอโทษ” ในการนี้
ส่วนคำว่า “ขออภัย” จะถูกใช้ในกรณีความผิดที่เบาบางกว่า กล่าวคือไม่ได้สร้างความเสียหายใดๆ ต่อทรัพย์สินหรือร่างกายของผู้อื่นใด เช่นการทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ ไม่สะดวก เช่นการต้องเปลี่ยนเส้นทางการเดินทาง หรือการเข้าประชุมสาย ลักษณะความผิดเช่นนี้จึงใช้คำว่า “ขออภัย”
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีอีกส่วนที่ถูกนำมาตัดสินว่าจะใช้คำไหนก็คือเรื่องของความจงใจที่จะให้เกิดความผิดนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นการจัดงานเลี้ยงเสียงดังสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น จริงอยู่ว่าเสียงที่ดังไม่น่าสร้างความเสียหายให้กับร่างกายหรือทรัพย์สิน แต่เป็นการการะทำที่เกิดจากการจงใจ แม้จะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าจะสร้างมลพิษทางเสียงให้กับผู้อื่น ดังนั้นหากถูกตักเตือนในส่วนนี้ก็ควรใช้คำว่า “ขอโทษ”
ขอบใจ - ขอบคุณ
เมื่อมีผู้อื่นมอบสิ่งของหรือกระทำอันใดให้เป็นที่พึงพอใจ หรือให้ความช่วยเหลือ เราจะใช้คำเหล่านี้เพื่อแสดงความซาบซึ้งหรือสำนึกในบุญคุณจากผู้นั้น โดยคำว่า “ขอบใจ” จะใช้เมื่อผู้พูดมีอาวุโสมากกว่าผู้ให้ กล่าวคือผู้ใหญ่จะพูด ขอบใจ กับเด็ก เป็นการพูดเพื่อขอบใจในน้ำใจที่มีให้แก่กัน
ส่วนคำว่า “ขอบคุณ” นั้นปัจจุบันเป็นคำที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด เพราะเป็นคำสุภาพกลางๆ ทั่วไป แต่ในโอกาสเหมาะสมที่แท้จริงแล้ว คำนี้ ผู้พูดจะมีอาวุโสน้อยกว่าผู้ให้ กล่าวคือเด็กจะต้องใช้คำว่า ขอบคุณ กับผู้ใหญ่ และเป็นที่เข้าใจว่าเด็กจะไม่พูดขอบใจผู้ใหญ่เป็นอันขาดเพราะจะกลายเป็นใช้คำผิดกาลเทศะไปทันที
และยังมีอีกคำหนึ่งที่ยกระดับขึ้นไปอีกนั่นก็คือคำว่า “ขอบพระคุณ” จะใช้เมื่อต้องการแสดงความซาบซึ้ง/สำนึกในบุญคุณจากสิ่งที่ผู้มีอาวุโสกว่ามอบให้ โดยผู้อาวุโสนั้นจะเป็นที่เคารพมากๆ ด้วยความมีคุณวุฒิ วัยวุฒิสูงกว่า ภาษาไทยที่ถูกต้องจะไม่ใช้คำว่า ขอบพระคุณ กับคนที่เด็กกว่าเช่นกัน
ในที่นี้อย่าได้มองว่าภาษาสร้างกำแพงชนชั้นในการใช้ เพราะหากผู้ฟังมีใจที่กว้างพอก็มองที่เจตนาของผู้พูดมากกว่าจะมองที่ชนชั้นฐานะของภาษา และในทางกลับกัน เมื่อผู้พูดสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องนอกจากจะสะท้อนถึงความนอบน้อมถ่อมตน และยังได้รับความเอ็นดูจากผู้อาวุโสอีกด้วย มาใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องกันเถอะ
ข้อมูลจาก keangun.com , FB:Rakphasathai
ความเห็น 9
การกระทำผิดเกิดขึ้นได้กับทุดคน แต่การสำนึกตนมันขึ้นอยู่กับคนที่คิดได้ครับผม การยอมรับในสิ่งที่ผิดถือว่าเป็นการขอโทษที่ดีที่สุดครับผม แล้วคำว่าการให้อภัยก็จะตามเองละครับผม อย่างน้อยเราก็จะต้องได้ลงมือทำก่อนครับผม
20 ธ.ค. 2563 เวลา 05.25 น.
Ninefiftytree
เกงมาก กล้ามาก ใช้กับอะไรคับ
22 ธ.ค. 2563 เวลา 04.43 น.
Pichai
ที่บอกว่าขออภัย /ขอโทษ. ขึ้นอยู่กับระดับความแรงของความผิด. ความรู้สึกของแต่ละคนไม่เท่ากัน คุณว่าน้อย คนอื่นอาจจะว่าความผิดนี้รุนแรงก็ได้. Sorry is sorry. ไม่มี sorry นิดหน่อย. Sorry มากๆ
20 ธ.ค. 2563 เวลา 02.20 น.
μηχανικός
คิดเองเออเอง
ใช้อ้างอิงอะไรไม่ได้
ส่อเสียดสุด คือ วรรคสุดท้าย
"ถ้าผู้ใหญ่ใจกว้าง" คนเขียนโดนใครใจแคบมา
มันเกี่ยวกับการใช้ภาษาหรือมิงต้องการอะไร
บทความขยะจริงๆ
20 ธ.ค. 2563 เวลา 05.33 น.
แท็กซี่นครศรีฯเคี่ยม
คำพูดที่ถูกต้องคือ...ขอโทษ..ไม่เป็นไร..ขอบใจ..ขอบคุณ..น่าเป็นคำนี้มากกว่านะครับ
27 ธ.ค. 2563 เวลา 21.21 น.
ดูทั้งหมด